มทร.ธัญบุรี รังสรรค์ผลงานประติมากรรมนูนสูง 3 มิติ แสดงเนื้อหาศิลปะแบบรูปธรรม ถ่ายทอดเรื่องราวองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลักธรรมคำสั่งสอน จำนวน 11 แผ่นใหญ่ ส่งมอบวัดปัญญานันทาราม จ.ปทุมธานี ประดับภายในพระอุโบสถ เผยใช้เวลานานถึง 4 ปี ถ่ายทอดความงามที่แฝงปริศนาธรรม

รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เปิดเผยว่า ทางวัดปัญญานันทาราม และมหาวิทยาลัย มีความร่วมมือในการนำนักศึกษาเข้าค่ายอบรมคุณธรรม จริยธรรมอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ ซึ่งทางวัดได้สร้างพระอุโบสถ เพื่อเป็นสถานที่ในการเรียนรู้ สั่งสอนคุณธรรมจริยธรรม แต่ทางวัดยังขาดผลงานศิลปะเพื่อมาตกแต่งภายในพระอุโบสถ โดยทางคณะศิลปกรรมศาสตร์มีความพร้อมด้านบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง จึงมอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยพจน์ หวลมานพ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวัฒนธรรม อาจารย์ภาควิชาทัศนศิลป์ สาขาประติมากรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ พร้อมด้วยนักศึกษาสาขาวิชาประติมากรรมและสาขาวิชาจิตรกรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ รับผิดชอบงานประติมากรรมตกแต่งภายในพระอุโบสถ ภายใต้แนวความคิด 3 ป. ของพระปัญญานันทมุนี คือ ประโยชน์ ประหยัด และเป็นปริศนาธรรม

ผศ.ดร.ไชยพจน์ ผู้สร้างสรรค์ผลงาน กล่าวว่า ชุดผลงานประติมากรรมนูนสูง 3 มิติทั้ง 11 แผ่น มีขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 3 เมตร แสดงเนื้อหาศิลปะแบบรูปธรรม ถ่ายทอดเรื่องราวองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามหลักธรรมคำสั่งสอน 11 เรื่องราว ได้แก่ 1. พระพุทธเจ้า (การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน) 2. พระธรรม (ธรรมคุณ มรรคมีองค์ 8 ธรรมจักร โย ธัมมัง ปัสสติ...) 3. พระสงฆ์ (สังฆคุณ ธรรม วินัย) 4. พุทธกิจ พุทธจริยา (กิจของสงฆ์) 5. ปฏิจจสมุปปบาท (การเวียนว่ายตายเกิด) 6. กาลามสูตร 10 7. นรก สวรรค์ นิพพาน ทางอายตะ 8. ทิศ 6 9. ความรัก ชนะมาร 10. พุทธบริษัท 4 และ 11. ที่พึ่งอันเกษม โดยมีพระปัญญานันทมุนี และ พระมหาเฉลิม ปิยะทัสสี เจ้าอาวาสวัดปัญญานันทาราม แสดงทัศนะและเป็นที่ปรึกษาหลักในการจัดสร้าง

สำหรับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ประติมากรรม มาจากอิทธิพลทางศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ อันเป็นศิลปะที่มีความละเอียดอ่อนสวยงาม มีความเรียบง่าย ไม่เกินลักษณะแห่งความงามที่ผิดไปจากธรรมชาติ ประกอบกับสถาปัตยกรรมภายในพระอุโบสถของวัดมีรูปแบบลวดลายตกแต่งแบบศิลปะอินเดียโบราณ จึงทำให้การรังสรรค์ประติมากรรมมีความกลมกลืนกับสถานที่และก่อให้เกิดสุนทรียภาพแห่งความงาม โดยทั้ง 11 ชิ้นงานนี้ สามารถเป็นสื่อในการสอนธรรมะ ในเชิงบอกเล่าเรื่องราวและเชิงสัญลักษณ์ในการสื่อความหมาย เพื่อสะท้อนถึงดุลยภาพแห่งการใช้ชีวิตในธรรมชาติ โดยใช้รูปบุคคลและสัญลักษณ์ที่สามารถแสดงอารมณ์ ท่าทาง และเรื่องราวที่แสดงถึงเหตุการณ์ พร้อมทั้งหลักธรรม ล้วนก่อให้เกิดอารมณ์และปัญญาผ่านการถ่ายทอดทางทัศนธาตุ ทั้งรูปทรง เส้นสาย พื้นที่ว่าง พื้นผิว และสี

ผศ.ดร.ไชยพจน์ กล่าวอีกว่า ผลงานประติมากรรมนูนสูง 3 มิตินี้ ใช้เทคนิค และวิธีการปั้นหล่อไฟเบอร์กลาส ซึ่งให้ความรู้สึกเหมือนหรือคล้ายกับดิน มีความทนทานอยู่ได้เป็นหลายร้อยปี และสะดวกในการติดตั้ง แต่ละชิ้นงานมีน้ำหนักประมาณ 70 กิโลกรัม และใช้สมาธิสูงในการสร้างสรรค์ โดยเริ่มจากการร่างแบบทั้ง 11 แบบ การสร้างฐานต้นแบบโดยสร้างเหล็กเป็นฐานแท่นปั้น การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานประติมากรรม เตรียมดินเหนียวสำหรับงานปั้น เตรียมส่วนยึดเกาะดินและการขึ้นรูปประติมากรรมต้นแบบ หลังจากนั้น ร่างภาพลงพื้นดินที่เตรียมไว้ ขึ้นรูปปั้นต้นแบบ แล้วเก็บงานปั้นต้นแบบ จากนั้นทำแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ แล้วหล่อไฟเบอร์กลาสจากแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ และ ประกอบชิ้นงานส่วนไฟเบอร์กลาส จนถึงขึ้นตอนสุดท้ายคือตกแต่งและทำสีชิ้นงาน
“ในการสร้างสรรค์ผลงานยิ่งใหญ่ครั้งนี้ ต้องอาศัยความอดทน ความเพียรพยายามเป็นอย่างมากใช้เวลานานถึง 4 ปี จัดว่าเป็นผลงานที่ไม่ค่อยปรากฏให้เห็นบ่อยนัก เพราะเป็นประติมากรรมนูนสูง 3 มิติประดับภายในพระอุโบสถ และมีเหตุการณ์มากมายเกิดขึ้นระหว่างการจัดสร้าง เช่น น้ำท่วม แต่ก็ไม่ลดละในความพยายาม และยึดอิทธิบาทสี่เป็นเครื่องประคับประคองจิตใจ มีความศรัทธาต่อตัวเอง และสิ่งที่ทำ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลงานนี้จะสร้างจิตสำนึกในการสืบสาน อนุรักษ์และทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรมเกี่ยวกับเรื่องราวพระพุทธศาสนาต่อไป เป็นสื่อปริศนาธรรมที่สอนคุณงามความดี และสร้างบรรยากาศแห่งปัญญาภายในพระอุโบสถ ให้เป็นศูนย์รวมจิตใจและเผยแผ่ความรู้ ทางคุณธรรมจริยธรรมอันดีงาม ซึ่งส่งมอบและติดตั้งผลงานประติมากรรมนูนสูง 3 มิติ ให้กับทางวัดปัญญานันทารามเป็นที่เรียบร้อย โดยมีพระปัญญานันทมุนี และพระมหาเฉลิม ปิยะทัสสี เจ้าอาวาสวัดปัญญานันทาราม เป็นผู้รับการถวาย” ผศ.ดร.ไชยพจน์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เปิดเผยว่า ทางวัดปัญญานันทาราม และมหาวิทยาลัย มีความร่วมมือในการนำนักศึกษาเข้าค่ายอบรมคุณธรรม จริยธรรมอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ ซึ่งทางวัดได้สร้างพระอุโบสถ เพื่อเป็นสถานที่ในการเรียนรู้ สั่งสอนคุณธรรมจริยธรรม แต่ทางวัดยังขาดผลงานศิลปะเพื่อมาตกแต่งภายในพระอุโบสถ โดยทางคณะศิลปกรรมศาสตร์มีความพร้อมด้านบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง จึงมอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยพจน์ หวลมานพ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวัฒนธรรม อาจารย์ภาควิชาทัศนศิลป์ สาขาประติมากรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ พร้อมด้วยนักศึกษาสาขาวิชาประติมากรรมและสาขาวิชาจิตรกรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ รับผิดชอบงานประติมากรรมตกแต่งภายในพระอุโบสถ ภายใต้แนวความคิด 3 ป. ของพระปัญญานันทมุนี คือ ประโยชน์ ประหยัด และเป็นปริศนาธรรม
ผศ.ดร.ไชยพจน์ ผู้สร้างสรรค์ผลงาน กล่าวว่า ชุดผลงานประติมากรรมนูนสูง 3 มิติทั้ง 11 แผ่น มีขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 3 เมตร แสดงเนื้อหาศิลปะแบบรูปธรรม ถ่ายทอดเรื่องราวองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามหลักธรรมคำสั่งสอน 11 เรื่องราว ได้แก่ 1. พระพุทธเจ้า (การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน) 2. พระธรรม (ธรรมคุณ มรรคมีองค์ 8 ธรรมจักร โย ธัมมัง ปัสสติ...) 3. พระสงฆ์ (สังฆคุณ ธรรม วินัย) 4. พุทธกิจ พุทธจริยา (กิจของสงฆ์) 5. ปฏิจจสมุปปบาท (การเวียนว่ายตายเกิด) 6. กาลามสูตร 10 7. นรก สวรรค์ นิพพาน ทางอายตะ 8. ทิศ 6 9. ความรัก ชนะมาร 10. พุทธบริษัท 4 และ 11. ที่พึ่งอันเกษม โดยมีพระปัญญานันทมุนี และ พระมหาเฉลิม ปิยะทัสสี เจ้าอาวาสวัดปัญญานันทาราม แสดงทัศนะและเป็นที่ปรึกษาหลักในการจัดสร้าง
สำหรับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ประติมากรรม มาจากอิทธิพลทางศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ อันเป็นศิลปะที่มีความละเอียดอ่อนสวยงาม มีความเรียบง่าย ไม่เกินลักษณะแห่งความงามที่ผิดไปจากธรรมชาติ ประกอบกับสถาปัตยกรรมภายในพระอุโบสถของวัดมีรูปแบบลวดลายตกแต่งแบบศิลปะอินเดียโบราณ จึงทำให้การรังสรรค์ประติมากรรมมีความกลมกลืนกับสถานที่และก่อให้เกิดสุนทรียภาพแห่งความงาม โดยทั้ง 11 ชิ้นงานนี้ สามารถเป็นสื่อในการสอนธรรมะ ในเชิงบอกเล่าเรื่องราวและเชิงสัญลักษณ์ในการสื่อความหมาย เพื่อสะท้อนถึงดุลยภาพแห่งการใช้ชีวิตในธรรมชาติ โดยใช้รูปบุคคลและสัญลักษณ์ที่สามารถแสดงอารมณ์ ท่าทาง และเรื่องราวที่แสดงถึงเหตุการณ์ พร้อมทั้งหลักธรรม ล้วนก่อให้เกิดอารมณ์และปัญญาผ่านการถ่ายทอดทางทัศนธาตุ ทั้งรูปทรง เส้นสาย พื้นที่ว่าง พื้นผิว และสี
ผศ.ดร.ไชยพจน์ กล่าวอีกว่า ผลงานประติมากรรมนูนสูง 3 มิตินี้ ใช้เทคนิค และวิธีการปั้นหล่อไฟเบอร์กลาส ซึ่งให้ความรู้สึกเหมือนหรือคล้ายกับดิน มีความทนทานอยู่ได้เป็นหลายร้อยปี และสะดวกในการติดตั้ง แต่ละชิ้นงานมีน้ำหนักประมาณ 70 กิโลกรัม และใช้สมาธิสูงในการสร้างสรรค์ โดยเริ่มจากการร่างแบบทั้ง 11 แบบ การสร้างฐานต้นแบบโดยสร้างเหล็กเป็นฐานแท่นปั้น การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานประติมากรรม เตรียมดินเหนียวสำหรับงานปั้น เตรียมส่วนยึดเกาะดินและการขึ้นรูปประติมากรรมต้นแบบ หลังจากนั้น ร่างภาพลงพื้นดินที่เตรียมไว้ ขึ้นรูปปั้นต้นแบบ แล้วเก็บงานปั้นต้นแบบ จากนั้นทำแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ แล้วหล่อไฟเบอร์กลาสจากแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ และ ประกอบชิ้นงานส่วนไฟเบอร์กลาส จนถึงขึ้นตอนสุดท้ายคือตกแต่งและทำสีชิ้นงาน
“ในการสร้างสรรค์ผลงานยิ่งใหญ่ครั้งนี้ ต้องอาศัยความอดทน ความเพียรพยายามเป็นอย่างมากใช้เวลานานถึง 4 ปี จัดว่าเป็นผลงานที่ไม่ค่อยปรากฏให้เห็นบ่อยนัก เพราะเป็นประติมากรรมนูนสูง 3 มิติประดับภายในพระอุโบสถ และมีเหตุการณ์มากมายเกิดขึ้นระหว่างการจัดสร้าง เช่น น้ำท่วม แต่ก็ไม่ลดละในความพยายาม และยึดอิทธิบาทสี่เป็นเครื่องประคับประคองจิตใจ มีความศรัทธาต่อตัวเอง และสิ่งที่ทำ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลงานนี้จะสร้างจิตสำนึกในการสืบสาน อนุรักษ์และทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรมเกี่ยวกับเรื่องราวพระพุทธศาสนาต่อไป เป็นสื่อปริศนาธรรมที่สอนคุณงามความดี และสร้างบรรยากาศแห่งปัญญาภายในพระอุโบสถ ให้เป็นศูนย์รวมจิตใจและเผยแผ่ความรู้ ทางคุณธรรมจริยธรรมอันดีงาม ซึ่งส่งมอบและติดตั้งผลงานประติมากรรมนูนสูง 3 มิติ ให้กับทางวัดปัญญานันทารามเป็นที่เรียบร้อย โดยมีพระปัญญานันทมุนี และพระมหาเฉลิม ปิยะทัสสี เจ้าอาวาสวัดปัญญานันทาราม เป็นผู้รับการถวาย” ผศ.ดร.ไชยพจน์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่