สธ. เผย “พยาบาล” สมองไหล เหตุงาน รพ. รัฐหนัก ไม่ได้บรรจุข้าราชการ หวั่นขาดแคลนคนทำงานในอนาคต เร่งหารือสภาการพยาบาล หาวิธีเพิ่มการผลิตพยาบาล และให้อยู่ในระบบมากที่สุด หาวิธีจ้างงานรูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่ลูกจ้าง พร้อมเร่งผลักดัน พ.ร.บ.สถาบันพระบรมราชชนก ช่วย “ครูสอนพยาบาล” มีความก้าวหน้า หลังพบสมองไหลเช่นกัน
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/558000006176501.JPEG)
วันนี้ (26 พ.ค.) นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาการปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังขาดแคลนพยาบาล เพราะงานพยาบาลใน รพ.รัฐ ถือว่าหนัก ทั้งยังไม่เปิดให้บรรจุเป็นข้าราชการ ทำให้เกิดภาวะสมองไหลไปยังภาคเอกชน นอกจากนี้ ครูพยาบาลที่ทำหน้าที่สอนและผลิตพยาบาลก็เกิดภาวะสมองไหลเช่นกัน เพราะไม่มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ แม้จะจบการศึกษาระดับปริญญาโทมาจากต่างประเทศ แต่ก็ก้าวหน้าได้เพียงระดับซี 8 เท่านั้น สธ. จึงได้หารือร่วมกับสภาการพยาบาล และสถาบันผลิตพยาบาลในสังกัด ว่า จะดำเนินการอย่างไรเพื่อผลิตพยาบาลเพิ่มเติม และให้คงอยู่ในระบบมากที่สุด เบื้องต้นมี 3 แนวทางคือ 1. ผลักดันร่าง พ.ร.บ.สถาบันพระบรมราชชนก ที่ค้างมานาน ซึ่งร่าง พ.ร.บ. นี้ จะช่วยให้ครูพยาบาลมีความก้าวหน้าในวิชาชีพมากขึ้นถึงระดับศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า 2. ให้พยาบาลวิชาชีพเป็นครูฝึกสอนพยาบาลให้รู้ว่าการปฏิบัติหน้าที่จริงเป็นอย่างไร เช่น การทำงานในห้องผ่าตัด ห้องฉุกเฉิน เป็นต้น ซึ่งเป็นการฝึกระยะสั้น และ 3. หามาตรการการคงอยู่ของพยาบาลเอาไว้ในระบบ เช่น ความมั่นคงในวิชาชีพ ถ้าไม่ให้มีการบรรจุเป็นข้าราชการก็ต้องมีความมั่นคงในการหาการจ้างงานรูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่ลูกจ้างชั่วคราว เช่น พนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.) ฯลฯ เป็นต้น
“ยอมรับว่า ในอนาคตพยาบาลของเราจะไม่พอ เพราะคนแก่เยอะขึ้น โรคภัยไข้เจ็บจะมากตาม จึงจะต้องส่งพยาบาลไปทำงานเชิงรุกเรื่องการส่งเสริมป้องกันโรคด้วย แต่ขณะนี้พยาบาลในโรงพยาบาลก็ยังขาดแคลน ดังนั้น ในระยะยาว สธ. จะต้องคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องการผลิตพยาบาลเพิ่ม และจะผลิตเพิ่มอย่างไร จะให้มีครูพยาบาลเพิ่มเป็นสัดส่วนเท่าไรต่อนักเรียนพยาบาล” นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวและว่า อย่างน้อยตอนนี้ต้องบรรจุพยาบาลเป็นข้าราชการรอบที่ 3 จำนวน 7,547 คน ให้สำเร็จ จากเดิมที่ตั้งเป้าว่าต้องเสร็จใน 1 ม.ค. 2557 ก็ขยับมาเป็น 1 เม.ย. 2558 ก็ยังไม่สำเร็จ เพราะต้องรอ คณะกรรมการปฏิรูประบบกำลังคนภาครัฐ (ครป.) ประชุมก่อน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (26 พ.ค.) นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาการปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังขาดแคลนพยาบาล เพราะงานพยาบาลใน รพ.รัฐ ถือว่าหนัก ทั้งยังไม่เปิดให้บรรจุเป็นข้าราชการ ทำให้เกิดภาวะสมองไหลไปยังภาคเอกชน นอกจากนี้ ครูพยาบาลที่ทำหน้าที่สอนและผลิตพยาบาลก็เกิดภาวะสมองไหลเช่นกัน เพราะไม่มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ แม้จะจบการศึกษาระดับปริญญาโทมาจากต่างประเทศ แต่ก็ก้าวหน้าได้เพียงระดับซี 8 เท่านั้น สธ. จึงได้หารือร่วมกับสภาการพยาบาล และสถาบันผลิตพยาบาลในสังกัด ว่า จะดำเนินการอย่างไรเพื่อผลิตพยาบาลเพิ่มเติม และให้คงอยู่ในระบบมากที่สุด เบื้องต้นมี 3 แนวทางคือ 1. ผลักดันร่าง พ.ร.บ.สถาบันพระบรมราชชนก ที่ค้างมานาน ซึ่งร่าง พ.ร.บ. นี้ จะช่วยให้ครูพยาบาลมีความก้าวหน้าในวิชาชีพมากขึ้นถึงระดับศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า 2. ให้พยาบาลวิชาชีพเป็นครูฝึกสอนพยาบาลให้รู้ว่าการปฏิบัติหน้าที่จริงเป็นอย่างไร เช่น การทำงานในห้องผ่าตัด ห้องฉุกเฉิน เป็นต้น ซึ่งเป็นการฝึกระยะสั้น และ 3. หามาตรการการคงอยู่ของพยาบาลเอาไว้ในระบบ เช่น ความมั่นคงในวิชาชีพ ถ้าไม่ให้มีการบรรจุเป็นข้าราชการก็ต้องมีความมั่นคงในการหาการจ้างงานรูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่ลูกจ้างชั่วคราว เช่น พนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.) ฯลฯ เป็นต้น
“ยอมรับว่า ในอนาคตพยาบาลของเราจะไม่พอ เพราะคนแก่เยอะขึ้น โรคภัยไข้เจ็บจะมากตาม จึงจะต้องส่งพยาบาลไปทำงานเชิงรุกเรื่องการส่งเสริมป้องกันโรคด้วย แต่ขณะนี้พยาบาลในโรงพยาบาลก็ยังขาดแคลน ดังนั้น ในระยะยาว สธ. จะต้องคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องการผลิตพยาบาลเพิ่ม และจะผลิตเพิ่มอย่างไร จะให้มีครูพยาบาลเพิ่มเป็นสัดส่วนเท่าไรต่อนักเรียนพยาบาล” นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวและว่า อย่างน้อยตอนนี้ต้องบรรจุพยาบาลเป็นข้าราชการรอบที่ 3 จำนวน 7,547 คน ให้สำเร็จ จากเดิมที่ตั้งเป้าว่าต้องเสร็จใน 1 ม.ค. 2557 ก็ขยับมาเป็น 1 เม.ย. 2558 ก็ยังไม่สำเร็จ เพราะต้องรอ คณะกรรมการปฏิรูประบบกำลังคนภาครัฐ (ครป.) ประชุมก่อน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่