สพฉ. ตั้งคณะอนุฯ ดูแลโครงการฉุกเฉินวิกฤตรักษาฟรี จ่อเสนอ ครม. ของบสนับสนุน 1,000 ล้านบาท จัดทีมแพทย์ประจำการช่วยคัดแยกอาการวิกฤตฉุกเฉิน หากมีข้อขัดแย้งระหว่าง รพ. และญาติคนไข้
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวภายหลังประชุมบอร์ด สพฉ. เกี่ยวกับโครงสร้างค่ารักษาพยาบาลในระบบการแพทย์ฉุกเฉินและนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ์ ว่า ที่ประชุมมีมติเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงแนวทางการบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยให้ สพฉ. เป็นผู้รับผิดชอบหลัก และจะเสนอของบประมาณสนับสนุนโครงการนี้ 1,000 ล้านบาท นอกจากนี้ บอร์ดฯยังได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาดูแลโครงการนี้โดยเฉพาะ มีรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธาน เพื่อบูรณาการการทำงานกับภาคส่วนต่างๆ เจรจาต่อรองค่ารักษาพยาบาลกับทั้ง 3 กองทุน และสถานพยาบาลเอกชน เพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้ารับรักษาฟรีใน 72 ชั่วโมงแรก ส่วนข้อขัดแย้งกรณี รพ. เห็นว่า ไม่ใช่ผู้ป่วยฉุกเฉินภาวะวิกฤต สพฉ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดแยกระดับความฉุกเฉิน และมาตรฐานการปฏิบัติการฉุกเฉินไว้แล้ว
“ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต คือ บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหัน ซึ่งมีภาวะคุกคามต่อชีวิต และหากไม่ได้รับปฏิบัติการแพทย์ทันที เพื่อแก้ไขระบบการหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด หรือระบบประสาทแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง หรือทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่างฉับไว และเมื่อมาถึงสถานพยาบาลแล้วผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตจะต้องได้รับการตรวจรักษาภายใน 0 - 4 นาที” เลขาธิการ สพฉ. กล่าว
นพ.อนุชา กล่าวว่า สำหรับอาการที่สามารถเข้ารับสิทธิรักษาฟรีได้จะต้องมีอาการดังนี้ 1. หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ ไม่ตอบสนองต่อการเรียกหรือกระตุ้น ไม่มีชีพจร จำเป็นต้องได้รับการกู้ชีพทันที 2. การรับรู้ สติเปลี่ยนไป บอกเวลา สถานที่ คนที่คุ้นเคยผิดอย่างเฉียบพลัน 3. ไม่สามารถหายใจได้ปกติ หายใจเร็ว แรง และ ลึก หายใจมีเสียงดังผิดปกติ พูดได้แค่สั้นๆ หรือร้องไม่ออก ออกเสียงไม่ได้ สำลักอุดทางเดินหายใจกับมีอาการเขียวคล้ำ 4. ระบบไหลเวียนเลือดวิกฤตอย่างน้อย 2 ข้อ คือ ตัวเย็นและซีด เหงื่อแตกจนท่วมตัว หมดสติชั่ววูบ หรือวูบเมื่อลุกยืนขึ้น 5. อวัยวะฉีกขาด เสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการพิการ และ 6. อาการอื่นๆ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อชีวิตสูง เช่น เจ็บหน้าอกรุนแรง แขนขาอ่อนแรงทันทีทันใด หรือกำลังชักขณะแรกรับที่จุดคัดแยก ทั้งนี้ หากมีความเห็นขัดแย้งระหว่างญาติผู้ป่วยและโรงพยาบาลว่าเป็นฉุกเฉินวิกฤตหรือไม่ สามารถสอบถามโดยตรงที่ สพฉ. ซึ่งได้จัดทีมแพทย์ประจำการให้คำปรึกษาเพื่อการคัดแยกให้รวดเร็วยิ่งขึ้น แต่จะต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบด้วยว่าอาการใด คือ ฉุกเฉินวิกฤต เพราะที่ผ่านมามีปัญหาความเข้าใจผิด
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวภายหลังประชุมบอร์ด สพฉ. เกี่ยวกับโครงสร้างค่ารักษาพยาบาลในระบบการแพทย์ฉุกเฉินและนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ์ ว่า ที่ประชุมมีมติเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงแนวทางการบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยให้ สพฉ. เป็นผู้รับผิดชอบหลัก และจะเสนอของบประมาณสนับสนุนโครงการนี้ 1,000 ล้านบาท นอกจากนี้ บอร์ดฯยังได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาดูแลโครงการนี้โดยเฉพาะ มีรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธาน เพื่อบูรณาการการทำงานกับภาคส่วนต่างๆ เจรจาต่อรองค่ารักษาพยาบาลกับทั้ง 3 กองทุน และสถานพยาบาลเอกชน เพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้ารับรักษาฟรีใน 72 ชั่วโมงแรก ส่วนข้อขัดแย้งกรณี รพ. เห็นว่า ไม่ใช่ผู้ป่วยฉุกเฉินภาวะวิกฤต สพฉ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดแยกระดับความฉุกเฉิน และมาตรฐานการปฏิบัติการฉุกเฉินไว้แล้ว
“ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต คือ บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหัน ซึ่งมีภาวะคุกคามต่อชีวิต และหากไม่ได้รับปฏิบัติการแพทย์ทันที เพื่อแก้ไขระบบการหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด หรือระบบประสาทแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง หรือทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่างฉับไว และเมื่อมาถึงสถานพยาบาลแล้วผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตจะต้องได้รับการตรวจรักษาภายใน 0 - 4 นาที” เลขาธิการ สพฉ. กล่าว
นพ.อนุชา กล่าวว่า สำหรับอาการที่สามารถเข้ารับสิทธิรักษาฟรีได้จะต้องมีอาการดังนี้ 1. หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ ไม่ตอบสนองต่อการเรียกหรือกระตุ้น ไม่มีชีพจร จำเป็นต้องได้รับการกู้ชีพทันที 2. การรับรู้ สติเปลี่ยนไป บอกเวลา สถานที่ คนที่คุ้นเคยผิดอย่างเฉียบพลัน 3. ไม่สามารถหายใจได้ปกติ หายใจเร็ว แรง และ ลึก หายใจมีเสียงดังผิดปกติ พูดได้แค่สั้นๆ หรือร้องไม่ออก ออกเสียงไม่ได้ สำลักอุดทางเดินหายใจกับมีอาการเขียวคล้ำ 4. ระบบไหลเวียนเลือดวิกฤตอย่างน้อย 2 ข้อ คือ ตัวเย็นและซีด เหงื่อแตกจนท่วมตัว หมดสติชั่ววูบ หรือวูบเมื่อลุกยืนขึ้น 5. อวัยวะฉีกขาด เสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการพิการ และ 6. อาการอื่นๆ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อชีวิตสูง เช่น เจ็บหน้าอกรุนแรง แขนขาอ่อนแรงทันทีทันใด หรือกำลังชักขณะแรกรับที่จุดคัดแยก ทั้งนี้ หากมีความเห็นขัดแย้งระหว่างญาติผู้ป่วยและโรงพยาบาลว่าเป็นฉุกเฉินวิกฤตหรือไม่ สามารถสอบถามโดยตรงที่ สพฉ. ซึ่งได้จัดทีมแพทย์ประจำการให้คำปรึกษาเพื่อการคัดแยกให้รวดเร็วยิ่งขึ้น แต่จะต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบด้วยว่าอาการใด คือ ฉุกเฉินวิกฤต เพราะที่ผ่านมามีปัญหาความเข้าใจผิด
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่