ประธานชมรมลิเก จ.พิจิตร อ้อน “บิ๊กตู่” ตั้งกองทุนช่วยศิลปินพื้นบ้านยามฉุกเฉิน เหมือนปล่อยเงินกู้ให้ชาวนา ระบุหน้าฝนไร้งาน ไร้เงิน คนแก่สภาพจิตใจย่ำแย่ ต้องกู้เงินนอกระบบ ดอกเบี้ยสูง ร้อยละ 30 มาใช้ประทังชีวิต
ตามที่ ชาวคณะลิเก รวมตัวขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล เนื่องจากงานแสดงลดน้อยถอยลง เนื่องจากสังคมยุคใหม่ไม่สนใจศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และมีความเป็นห่วง อนาคตอาจขาดคนสืบทอดความรู้ นั้น
วันนี้ (24 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในงานสืบสานลิเกไทย จ. พิจิตร นายวิรัตน์ ยื่นแก้ว ประธานชมรมลิเก จังหวัดพิจิตร เปิดเผยว่า ขอยืนยันถึงสภาพปัญหาของคณะลิเกที่มีความย่ำแย่ และขาดงานแสดง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานแล้ว โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน ตั้งแต่เดือน มิ.ย. จนถึงเดือน ต.ค. ของทุกปี คณะลิเก ในกลุ่มภาคกลางตอนบน โดยใน จ.พิจิตร จำนวน 35 คณะ นครสวรรค์ 22 คณะ สุโขทัย 11 คณะ ซึ่งแต่ละคณะ มีลูกน้องไม่ต่ำกว่า 30 คน จากเดิมมีการว่าจ้าง เดือนละไม่ต่ำกว่า 20 - 30 งาน วิ่งรอกตั้งแต่เช้าถึงดึก มีเงินรายได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 2 - 3 แสนบาท แต่ช่วงหน้าฝนนี้ ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เดือนๆ หนึ่งมีเพียงไม่ถึง 10 งาน จึงทำให้ลูกน้องที่มีกำลังต้องกระจายตัวไปหางานทำที่กรุงเทพฯ ส่วนบางคนที่ไม่มีงาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ก็ชักหน้าไม่ถึงหลัง ต้องไปกู้หนี้ยืมสิน จากเจ้าหนี้นอกระบบ ดอกเบี้ยแพงถึง ร้อยละ 20 - 30 มาใช้ประทังชีวิตไปก่อน จนหลายคนในตอนนี้มีสภาพจิตใจย่ำแย่ เครียด บางคนป่วยถึงขึ้นโคม่า เพราะใช้หนี้ท่วมหัว ดอกท่วมต้น
นายวิรัตน์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ ตน พร้อม เพื่อนพ้องชาวลิเก เคยขอความช่วยเหลือไปยังรัฐบาล นักการเมือง หลายต่อหลายครั้ง เพื่อให้ช่วยมาดูแลศิลปินพื้นบ้านบ้าง แต่กลับถูกหมางเมิน ไม่เคยเหลียวแลกันเลย จนรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งมี นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม เข้ามารับฟังปัญหาและหาทางสนับสนุนกลุ่มศิลปินพื้นบ้าน คณะลิเก ให้มีงานทำ ก็ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ยังมีกระทรวงวัฒนธรรมเห็นความสำคัญของชาวคณะลิเก ที่เป็นศิลปินพื้นบ้านที่ยังคงมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการอนุรักษ์ศิลปะการแสดงของชาติเอาไว้ ตนอยากฝากความหวังไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ช่วยพิจารณา สนับสนุน การจัดกองทุนช่วยเหลือศิลปินพื้นบ้านในยามฉุกเฉิน โดยอาจจะเป็นกองทุนกู้ยืม อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เหมือนที่ให้กับชาวนา ซึ่งอย่างน้อยๆ ยังเป็นความหวังต่อลมหายใจให้พวกเราดำรงชีวิตต่อไปได้ โดยไม่ต้องไปจ่ายดอกเบี้ยแพงๆ กับการกู้เงินนอกระบบ
“กว่า 50 ปี ที่เล่นลิเกมานี้ ผมไม่เคยเห็นกระทรวงไหนมาช่วยอุ้มพวกเราในยามลำบาก เราดูแลกันเองมาตลอด ถามว่า ลิเก อยู่ได้ไหม ตอบเลยว่าตอนนี้อยู่ได้ แต่ถ้าขาดการจ้างงานตลอดไป เราจะอยู่กันต่อไปยังไง วันนี้ เราอาจจะท้อ แต่ยังไม่ถอย หากรัฐบาล หรือภาคเอกชน ยื่นมือมาช่วย จะเป็นพระคุณกับชาวลิเก” นายวิรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ตามที่ ชาวคณะลิเก รวมตัวขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล เนื่องจากงานแสดงลดน้อยถอยลง เนื่องจากสังคมยุคใหม่ไม่สนใจศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และมีความเป็นห่วง อนาคตอาจขาดคนสืบทอดความรู้ นั้น
วันนี้ (24 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในงานสืบสานลิเกไทย จ. พิจิตร นายวิรัตน์ ยื่นแก้ว ประธานชมรมลิเก จังหวัดพิจิตร เปิดเผยว่า ขอยืนยันถึงสภาพปัญหาของคณะลิเกที่มีความย่ำแย่ และขาดงานแสดง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานแล้ว โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน ตั้งแต่เดือน มิ.ย. จนถึงเดือน ต.ค. ของทุกปี คณะลิเก ในกลุ่มภาคกลางตอนบน โดยใน จ.พิจิตร จำนวน 35 คณะ นครสวรรค์ 22 คณะ สุโขทัย 11 คณะ ซึ่งแต่ละคณะ มีลูกน้องไม่ต่ำกว่า 30 คน จากเดิมมีการว่าจ้าง เดือนละไม่ต่ำกว่า 20 - 30 งาน วิ่งรอกตั้งแต่เช้าถึงดึก มีเงินรายได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 2 - 3 แสนบาท แต่ช่วงหน้าฝนนี้ ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เดือนๆ หนึ่งมีเพียงไม่ถึง 10 งาน จึงทำให้ลูกน้องที่มีกำลังต้องกระจายตัวไปหางานทำที่กรุงเทพฯ ส่วนบางคนที่ไม่มีงาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ก็ชักหน้าไม่ถึงหลัง ต้องไปกู้หนี้ยืมสิน จากเจ้าหนี้นอกระบบ ดอกเบี้ยแพงถึง ร้อยละ 20 - 30 มาใช้ประทังชีวิตไปก่อน จนหลายคนในตอนนี้มีสภาพจิตใจย่ำแย่ เครียด บางคนป่วยถึงขึ้นโคม่า เพราะใช้หนี้ท่วมหัว ดอกท่วมต้น
นายวิรัตน์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ ตน พร้อม เพื่อนพ้องชาวลิเก เคยขอความช่วยเหลือไปยังรัฐบาล นักการเมือง หลายต่อหลายครั้ง เพื่อให้ช่วยมาดูแลศิลปินพื้นบ้านบ้าง แต่กลับถูกหมางเมิน ไม่เคยเหลียวแลกันเลย จนรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งมี นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม เข้ามารับฟังปัญหาและหาทางสนับสนุนกลุ่มศิลปินพื้นบ้าน คณะลิเก ให้มีงานทำ ก็ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ยังมีกระทรวงวัฒนธรรมเห็นความสำคัญของชาวคณะลิเก ที่เป็นศิลปินพื้นบ้านที่ยังคงมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการอนุรักษ์ศิลปะการแสดงของชาติเอาไว้ ตนอยากฝากความหวังไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ช่วยพิจารณา สนับสนุน การจัดกองทุนช่วยเหลือศิลปินพื้นบ้านในยามฉุกเฉิน โดยอาจจะเป็นกองทุนกู้ยืม อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เหมือนที่ให้กับชาวนา ซึ่งอย่างน้อยๆ ยังเป็นความหวังต่อลมหายใจให้พวกเราดำรงชีวิตต่อไปได้ โดยไม่ต้องไปจ่ายดอกเบี้ยแพงๆ กับการกู้เงินนอกระบบ
“กว่า 50 ปี ที่เล่นลิเกมานี้ ผมไม่เคยเห็นกระทรวงไหนมาช่วยอุ้มพวกเราในยามลำบาก เราดูแลกันเองมาตลอด ถามว่า ลิเก อยู่ได้ไหม ตอบเลยว่าตอนนี้อยู่ได้ แต่ถ้าขาดการจ้างงานตลอดไป เราจะอยู่กันต่อไปยังไง วันนี้ เราอาจจะท้อ แต่ยังไม่ถอย หากรัฐบาล หรือภาคเอกชน ยื่นมือมาช่วย จะเป็นพระคุณกับชาวลิเก” นายวิรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่