สสส. ผนึกภาคีเครือข่ายด้านสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ กว่า 200 องค์กร เสนอ 5 นโยบายรูปธรรมเพื่อเด็ก เยาวชน ขยาย “1 ชุมชน 1 พื้นที่สร้างสรรค์” จัดสรรงบชัดเจน เพิ่มหลักสูตร สื่อ - พื้นที่สร้างสรรค์ เท่าทันสื่อในการศึกษาทุกระดับต่อ สปช. “ยงยุทธ” รับลูกผลักสู่นโยบายระดับชาติ
เมื่อวันที่ 23 พ.ค. ที่สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ สถานีมักกะสัน ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี และประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดงาน “มหกรรมสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ เพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว ตอน เด็กบันดาลใจ คิดได้ คิดเป็น” จัดขึ้นวันที่ 22 - 24 พ.ค. 58 โดย สสส. ร่วมกับสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ภาคีเครือข่ายสื่อสร้างสรรค์ เพื่อถ่ายทอดแบ่งปันองค์ความรู้ที่ได้จากการทำงานด้านสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับเด็ก เยาวชน พ่อแม่ ครูอาจารย์ ชุมชนท้องถิ่น ร่วมเรียนรู้ นำไอเดียต่างๆ มาต่อยอดพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ และพื้นที่สร้างสรรค์ด้วยตนเอง นอกจากนี้ ได้มีการนำข้อเสนอเชิงนโยบาย เรื่องสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว เสนอต่อสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) อาทิ รศ.จุมพล รอดคำดี ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ, อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปค่านิยม ศิลปวัฒนธรรม จริยธรรมและการศาสนา และ รศ.ประภาภัทร นิยม เลขานุการคณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ศ.ดร.ยงยุทธ กล่าวว่า รัฐบาลส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาทุกช่วงวัย สนับสนุนการผลิตสื่อสร้างสรรค์ เปิดพื้นที่สาธารณะให้เยาวชนและประชาชนได้มีโอกาสแสดงออก และให้ความสำคัญกับการปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกที่ดี โดยมุ่งเน้นกระบวนการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษาทางเลือกไปพร้อมกัน ด้วยการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงบูรณาการความรู้และคุณธรรมให้เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านความรู้ ทักษะ คุณธรรมจริยธรรม และสำนึกความเป็นพลเมือง เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ 3 ดี สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี ของ สสส. ซึ่งจากการลงพื้นที่จริงชุมชนที่ใช้กระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ 3 ดี ได้เห็นผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในชุมชนอย่างชัดเจน
“ภาครัฐขอรับข้อเสนอด้านนโยบายสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อเด็กและเยาวชน จากเครือข่ายภาคประชาสังคม เพื่อนำไปสู่กระบวนการพิจารณาด้านนโยบายและปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในระดับชาติต่อไป รวมทั้งขอให้สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พิจารณาข้อเสนอทางนโยบายนี้ให้เป็นส่วนหนึ่งในการปฏิรูปสื่อและการเรียนรู้ ขับเคลื่อนกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนสู่ความเป็นพลเมืองในสังคมสุขภาวะ” ศ.ดร.ยงยุทธ กล่าว
ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 14 ปี ที่ผ่านมา สสส. ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยปักหมุดเรื่องยุทธศาสตร์ส่งเสริมสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ในการพัฒนาเด็กเยาวชน และครอบครัว ส่งเสริมให้เกิดสื่อสร้างสรรค์ที่เหมาะสมดี และเพียงพอ โดยใช้สื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการการสร้างภูมิคุ้มกันและเสริมพลังให้เด็ก เยาวชน และครอบครัว โดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดี คือสื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี เกิดผลสำเร็จที่เห็นเป็นรูปธรรม 1. การผลักดัน พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ที่ผ่านมา 2. การพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ เกิดพื้นที่ต้นแบบ เช่น เพชรบุรีดีจัง จ.เพชรบุรี เป็นจังหวัดต้นแบบ และยังมีพื้นที่สร้างสรรค์เครือข่ายเด็กและเยาวชน อีกกว่า 107 แห่ง ใน 38 จังหวัด 3. เกิดพื้นที่ทางปัญญา มีกระบวนการให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง 4.แผนปฏิบัติการร่วมทั้งประเทศ เช่น การประกาศวาระการอ่านแห่งชาติ วาระพื้นที่สร้างสรรค์ ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อสร้างพลเมืองที่ตื่นรู้ เท่าทันสื่อ เข้าใจตนเองและผู้อื่น มีความรู้ความเข้าใจที่จะอยู่ภายใต้สถานการณ์ใหม่ๆ ของสื่อได้อย่างเข้มแข็ง มีจิตสาธารณะ มีศักดิ์ศรี สร้างความเป็นพลเมืองในการใช้สื่ออย่างมีความรับผิดชอบและใช้สื่อเพื่อส่งเสริมสุขภาพอย่างถูกต้อง การจัดงานครั้งนี้จะสะท้อนให้เห็นข้อดี ข้อเสีย ความซับซ้อนของโลกสื่อในยุคปัจจุบัน พร้อมทั้งมีคำแนะนำในการใช้สื่อเพื่อช่วยดึงพลังด้านบวกของเด็ก เพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับสังคม โดยเชื่อว่าเด็กจะเป็นแรงบันดาลใจ นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ผู้ใหญ่ในสังคมได้
ด้าน น.ส.เข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) กล่าวว่า ภาคีเครือข่ายด้านสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ กว่า 200 องค์กร มีข้อเสนอเชิงนโยบาย เรื่องสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว 5 ข้อ คือ 1. เสนอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมประกาศนโยบาย “1 ชุมชน 1 พื้นที่สร้างสรรค์” โดยร่วมมือกับทุกภาคส่วนในชุมชน 2. ในกระบวนการปฏิรูปการศึกษา ควรบูรณาการหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ เรื่อง สื่อสร้างสรรค์ เท่าทันสื่อ และพื้นที่สร้างสรรค์ ในหลักสูตรการศึกษาทั้งในระบบ และนอกระบบ ทุกระดับ และให้มีการพัฒนาครูที่มีความเข้าใจในการพัฒนาเด็กและเยาวชนตามแนวคิด สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี 3. ทุกภาคส่วน ร่วมสนับสนุนให้เกิดกลุ่ม องค์กรของเด็กเยาวชน ในทุกชุมชน ทุกจังหวัด โดยให้เด็กมีความเป็นอิสระในการสร้างสรรค์และบริหารและจัดการโดยเด็กและเยาวชนเอง รวมทั้งมีการสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่องจากท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐ 4. มีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ในชุมชนทุกแห่ง ให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ เพื่อเด็ก เยาวชนและครอบครัว ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม รวมถึงแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐ เอกชน ให้ตอบสนองการเรียนรู้ของเด็กแต่ละช่วงวัยให้เด็กได้เข้าถึงและมีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย (0 - 6 ปี) และครอบครัว 5. เพื่อความเข้มแข็ง และยั่งยืนในการพัฒนาพลเมืองที่ตื่นรู้ จึงเสนอให้กองทุนต่างๆ ที่มีอยู่ และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนนโยบาย 1 ชุมชน 1 พื้นที่สร้างสรรค์ โดยกำหนดสัดส่วนงบประมาณที่ชัดเจน และออกระเบียบที่เอื้อต่อการเข้าถึง และเปิดโอกาสให้กลุ่ม และองค์กรของเด็กเยาวชนและครอบครัว เข้าถึงได้อย่างเสมอภาค
สำหรับงานมหกรรมสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ # เด็กบันดาลใจ เป็นการรวมองค์ความรู้เชิงปฏิบัติในการพัฒนาเด็กในแต่ละช่วงวัย จนกระทั่งเดินทางไปถึงวัยผู้ใหญ่ หวังว่าคนที่มาร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ จะเกิดแรงบันดาลใจ ได้ไอเดียใหม่ๆ นำกลับไปต่อยอดปฏิบัติพัฒนาเด็กๆ ให้เป็นพลเมืองตื่นรู้ ที่คิดได้ คิดเป็น และสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคม
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
เมื่อวันที่ 23 พ.ค. ที่สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ สถานีมักกะสัน ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี และประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดงาน “มหกรรมสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ เพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว ตอน เด็กบันดาลใจ คิดได้ คิดเป็น” จัดขึ้นวันที่ 22 - 24 พ.ค. 58 โดย สสส. ร่วมกับสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ภาคีเครือข่ายสื่อสร้างสรรค์ เพื่อถ่ายทอดแบ่งปันองค์ความรู้ที่ได้จากการทำงานด้านสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับเด็ก เยาวชน พ่อแม่ ครูอาจารย์ ชุมชนท้องถิ่น ร่วมเรียนรู้ นำไอเดียต่างๆ มาต่อยอดพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ และพื้นที่สร้างสรรค์ด้วยตนเอง นอกจากนี้ ได้มีการนำข้อเสนอเชิงนโยบาย เรื่องสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว เสนอต่อสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) อาทิ รศ.จุมพล รอดคำดี ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ, อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปค่านิยม ศิลปวัฒนธรรม จริยธรรมและการศาสนา และ รศ.ประภาภัทร นิยม เลขานุการคณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ศ.ดร.ยงยุทธ กล่าวว่า รัฐบาลส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาทุกช่วงวัย สนับสนุนการผลิตสื่อสร้างสรรค์ เปิดพื้นที่สาธารณะให้เยาวชนและประชาชนได้มีโอกาสแสดงออก และให้ความสำคัญกับการปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกที่ดี โดยมุ่งเน้นกระบวนการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษาทางเลือกไปพร้อมกัน ด้วยการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงบูรณาการความรู้และคุณธรรมให้เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านความรู้ ทักษะ คุณธรรมจริยธรรม และสำนึกความเป็นพลเมือง เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ 3 ดี สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี ของ สสส. ซึ่งจากการลงพื้นที่จริงชุมชนที่ใช้กระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ 3 ดี ได้เห็นผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในชุมชนอย่างชัดเจน
“ภาครัฐขอรับข้อเสนอด้านนโยบายสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อเด็กและเยาวชน จากเครือข่ายภาคประชาสังคม เพื่อนำไปสู่กระบวนการพิจารณาด้านนโยบายและปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในระดับชาติต่อไป รวมทั้งขอให้สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พิจารณาข้อเสนอทางนโยบายนี้ให้เป็นส่วนหนึ่งในการปฏิรูปสื่อและการเรียนรู้ ขับเคลื่อนกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนสู่ความเป็นพลเมืองในสังคมสุขภาวะ” ศ.ดร.ยงยุทธ กล่าว
ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 14 ปี ที่ผ่านมา สสส. ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยปักหมุดเรื่องยุทธศาสตร์ส่งเสริมสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ในการพัฒนาเด็กเยาวชน และครอบครัว ส่งเสริมให้เกิดสื่อสร้างสรรค์ที่เหมาะสมดี และเพียงพอ โดยใช้สื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการการสร้างภูมิคุ้มกันและเสริมพลังให้เด็ก เยาวชน และครอบครัว โดยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ดี คือสื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี เกิดผลสำเร็จที่เห็นเป็นรูปธรรม 1. การผลักดัน พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ที่ผ่านมา 2. การพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ เกิดพื้นที่ต้นแบบ เช่น เพชรบุรีดีจัง จ.เพชรบุรี เป็นจังหวัดต้นแบบ และยังมีพื้นที่สร้างสรรค์เครือข่ายเด็กและเยาวชน อีกกว่า 107 แห่ง ใน 38 จังหวัด 3. เกิดพื้นที่ทางปัญญา มีกระบวนการให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง 4.แผนปฏิบัติการร่วมทั้งประเทศ เช่น การประกาศวาระการอ่านแห่งชาติ วาระพื้นที่สร้างสรรค์ ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อสร้างพลเมืองที่ตื่นรู้ เท่าทันสื่อ เข้าใจตนเองและผู้อื่น มีความรู้ความเข้าใจที่จะอยู่ภายใต้สถานการณ์ใหม่ๆ ของสื่อได้อย่างเข้มแข็ง มีจิตสาธารณะ มีศักดิ์ศรี สร้างความเป็นพลเมืองในการใช้สื่ออย่างมีความรับผิดชอบและใช้สื่อเพื่อส่งเสริมสุขภาพอย่างถูกต้อง การจัดงานครั้งนี้จะสะท้อนให้เห็นข้อดี ข้อเสีย ความซับซ้อนของโลกสื่อในยุคปัจจุบัน พร้อมทั้งมีคำแนะนำในการใช้สื่อเพื่อช่วยดึงพลังด้านบวกของเด็ก เพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับสังคม โดยเชื่อว่าเด็กจะเป็นแรงบันดาลใจ นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ผู้ใหญ่ในสังคมได้
ด้าน น.ส.เข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) กล่าวว่า ภาคีเครือข่ายด้านสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ กว่า 200 องค์กร มีข้อเสนอเชิงนโยบาย เรื่องสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว 5 ข้อ คือ 1. เสนอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมประกาศนโยบาย “1 ชุมชน 1 พื้นที่สร้างสรรค์” โดยร่วมมือกับทุกภาคส่วนในชุมชน 2. ในกระบวนการปฏิรูปการศึกษา ควรบูรณาการหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ เรื่อง สื่อสร้างสรรค์ เท่าทันสื่อ และพื้นที่สร้างสรรค์ ในหลักสูตรการศึกษาทั้งในระบบ และนอกระบบ ทุกระดับ และให้มีการพัฒนาครูที่มีความเข้าใจในการพัฒนาเด็กและเยาวชนตามแนวคิด สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี 3. ทุกภาคส่วน ร่วมสนับสนุนให้เกิดกลุ่ม องค์กรของเด็กเยาวชน ในทุกชุมชน ทุกจังหวัด โดยให้เด็กมีความเป็นอิสระในการสร้างสรรค์และบริหารและจัดการโดยเด็กและเยาวชนเอง รวมทั้งมีการสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่องจากท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐ 4. มีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ในชุมชนทุกแห่ง ให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ เพื่อเด็ก เยาวชนและครอบครัว ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม รวมถึงแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐ เอกชน ให้ตอบสนองการเรียนรู้ของเด็กแต่ละช่วงวัยให้เด็กได้เข้าถึงและมีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย (0 - 6 ปี) และครอบครัว 5. เพื่อความเข้มแข็ง และยั่งยืนในการพัฒนาพลเมืองที่ตื่นรู้ จึงเสนอให้กองทุนต่างๆ ที่มีอยู่ และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนนโยบาย 1 ชุมชน 1 พื้นที่สร้างสรรค์ โดยกำหนดสัดส่วนงบประมาณที่ชัดเจน และออกระเบียบที่เอื้อต่อการเข้าถึง และเปิดโอกาสให้กลุ่ม และองค์กรของเด็กเยาวชนและครอบครัว เข้าถึงได้อย่างเสมอภาค
สำหรับงานมหกรรมสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ # เด็กบันดาลใจ เป็นการรวมองค์ความรู้เชิงปฏิบัติในการพัฒนาเด็กในแต่ละช่วงวัย จนกระทั่งเดินทางไปถึงวัยผู้ใหญ่ หวังว่าคนที่มาร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ จะเกิดแรงบันดาลใจ ได้ไอเดียใหม่ๆ นำกลับไปต่อยอดปฏิบัติพัฒนาเด็กๆ ให้เป็นพลเมืองตื่นรู้ ที่คิดได้ คิดเป็น และสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคม
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่