ท่ามกลางความศิวิไลซ์ของมหานครนิวยอร์ก เมืองที่ได้ชื่อว่าไม่เคยหลับใหล เมืองแห่งความศิวิไลซ์ เมืองแห่งศูนย์กลางเศรษฐกิจของโลก ฯลฯ
และเป็นเมืองที่ผู้คนใฝ่ฝันว่าครั้งหนึ่งในชีวิตต้องไปเยือน!
แต่ไม่ว่าใครจะมองนิวยอร์กในรูปแบบไหน ท่ามกลางเมืองใหญ่ศิวิไลซ์แห่งนี้เต็มไปด้วยคนไร้บ้าน (Homeless) อยู่ทุกหนทุกแห่ง ซึ่งจะว่าไปไม่ใช่เฉพาะนิวยอร์กซิตีเท่านั้นที่เต็มไปด้วยคนไร้บ้าน แต่ในอีกหลายเมืองของสหรัฐอเมริกาก็มีปัญหานี้เช่นกัน
ดิฉันเพิ่งเดินทางกลับจากนิวยอร์กได้มีโอกาสพบเห็นกลุ่มคนเหล่านี้ทุกหนทุกแห่ง และดูเหมือนว่าคนเหล่านี้ ถ้าไม่มีสัญญานอะไรบ่งบอก เช่น กลิ่นตัวแรงมาก หรือมีอาการทางประสาทร่วมด้วย ดูเหมือนพวกเขาแทบจะไม่มีตัวตนอยู่ในสถานที่นั้นๆ..ไม่สิ ต้องบอกว่าไม่มีตัวตนอยู่ในโลกนี้ด้วยซ้ำ
พื้นที่ที่คนไร้บ้านชอบไปพักอาศัยนอกจากตามถนนหนทางก็มีรถไฟใต้ดิน มีให้เห็นแทบทุกโบกี้ และมีหลายสถานการณ์ที่ทำให้ดิฉันและเพื่อนร่วมทางถึงกับผงะในหลายๆ ครั้ง กับกลุ่มคนเหล่านี้ ทั้งเรื่องกลิ่นตัวแรงก็เรื่องหนึ่งที่ถึงขั้นปิดจมูกก็เอาไม่อยู่ แม้คนในประเทศเขาเองก็ไม่สามารถทนนั่งใกล้ในโบกี้นั้นได้ ต้องย้ายหนีไปโบกี้อื่น ก็สุดแท้แต่ว่าจะหนีเสือปะจระเข้หรือเปล่า ก็ต้องไปลุ้นเอาอีกต่างหาก
ในขณะที่คนไร้บ้านบางคนก็ปัสสาวะเรี่ยราดตามใจชอบ ฉะนั้นเรื่องกลิ่นจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่พบได้เสมอตามข้างทาง ตามสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือแม้กระทั่งภายในโบกี้รถไฟใต้ดิน ฯลฯ
สาเหตุของคนไร้บ้านที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่ตกต่ำต่อเนื่อง ส่งผลโดยตรงให้ผู้คนที่นั่นตกงาน ไม่มีค่าเช่าบ้านก็ต้องระเห็จไปนอนนอกบ้าน ก็ยังมีปัญหาทางสังคมที่นับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น ปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาความเครียด ซึ่งนำไปสู่อาการทางจิต ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ก็ต้องกลายมาเป็นคนเร่ร่อน
สำนักงานสวัสดิการเพื่อคนไร้บ้านของนครนิวยอร์ก (NYC Department of Homeless Services หรือ DHS) เป็นหน่วยงานหลักของนครนิวยอร์กที่รับผิดชอบป้องกันและแก้ไขปัญหาคนไร้บ้าน ซึ่งพบว่าไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะบุคคลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงครอบครัวที่มีเด็กเล็กอาศัยอยู่ด้วย
และที่น่าห่วงอย่างมากก็คือข้อมูลที่ศูนย์ครอบครัวคนไร้บ้านแห่งชาติสหรัฐฯ พบว่าจำนวน “เด็กไร้บ้าน” ในสหรัฐอเมริกาเพิ่มสูงขึ้นจนมีจำนวนมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ในจำนวนประชากรเด็กทุกๆ 30 คนในเมืองลุงแซมจะมีเด็กไร้บ้าน 1 คน
จำนวนเด็กไร้บ้านในสหรัฐฯ ได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างก้าวกระโดด มีตัวเลขประมาณการณ์ว่ามีเด็กไร้บ้านในสหรัฐฯสูงราว 2.5 ล้านคน โดยที่มลรัฐแคลิฟอร์เนียมีจำนวนเด็กไร้บ้านอยู่มากที่สุดกว่า 500,000 คน หรือคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 5 ของเด็กไร้บ้านทั่วสหรัฐฯ
แม้จะมีหน่วยงานอื่นของสหรัฐฯออกมาแย้งว่าตัวเลขไม่น่าสูงถึงขนาดนั้น แต่ก็ยังไม่มีตัวเลขแน่ชัดออกมาหักล้าง
สาเหตุก็มาจากปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำและการว่างงานที่พุ่งสูง คือ ต้นตอสำคัญที่ทำให้พ่อแม่ชาวอเมริกันจำนวนมากไม่สามารถผ่อนหรือเช่าบ้านได้ และหลายครอบครัวต้องกลายสภาพจาก “มนุษย์เงินเดือน” มาเป็น “คนเร่ร่อน” ซึ่งรวมถึงบรรดาเด็กๆ ในครอบครัวเหล่านี้ที่ต้องกลายเป็นเด็กไร้บ้านในที่สุด
ถ้าปัญหานี้ไม่ได้รับการจัดการอย่างจริงจังและแก้ปัญหาได้ ดูเหมือนสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับปัญหาสังคมที่ต้องตามมาอีกมากมาย ซึ่งเป็นตัวเลขที่มีความสัมพันธ์กันก็คือการก่ออาชญากรรม การลักทรัพย์ หรือแม้แต่การใช้สารเสพติด ฯลฯ
เมื่อหันมามองบ้านเรา ปัญหาก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ปัญหาเรื่องคนไร้บ้าน คนเร่ร่อน หรือกระทั่งขอทานก็มีอยู่ทุกหนทุกแห่งเช่นกัน และที่มากกว่าอย่างเห็นได้ชัดก็คือเด็กคือเหยื่อของการถูกนำมาเป็นเครื่องมือ
แม้จะยังคงไม่มีตัวเลขที่แน่นอนว่าล่าสุดในบ้านเรา โดยเฉพาะเขตกรุงเทพมหานครว่ามีคนไร้บ้าน หรือคนเร่ร่อนเป็นจำนวนเท่าไร แต่เราก็ใช้ชีวิตและพบเห็นพวกเขาเหล่านั้นทุกหนทุกแห่งเช่นกัน แม้ประเทศไทยจะมีหน่วยงานที่ดูแลด้านประชาสงเคราะห์และสังคมสงเคราะห์ก็ตาม แต่ดูเหมือนว่ายิ่งนับวันปัญหานี้ดูจะลุกลามขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้น
และปัญหานี้ก็เป็นปัญหาสังคมที่ยังไม่เคยได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งที่ส่วนหนึ่งก็กลายมาเป็นปัญหาสังคมอื่นๆอีก อาทิ ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้คน ปัญหาความเป็นระเบียบของสังคม เป็นต้น
ดิฉันลองถือโอกาสพูดคุยกับลูกชายคนโตวัย 17 ปี (สรวง สิทธิสมาน) ซึ่งเดินทางไปสหรัฐฯด้วยกันว่าเขาคิดอย่างไรในเรื่องนี้ อยากให้เขาแสดงความคิดเห็นของเยาวชนที่มองเห็นปัญหาและมองย้อนกลับไปในบ้านเรา
เขาบอกว่า “การใช้ชีวิตของคนไร้บ้านในสหรัฐฯ ก็เหมือนกับการใช้ชีวิตของขอทานในประเทศไทย แต่มีความลำบากกว่า เนื่องจากช่วงที่ไปสภาพอากาศที่ค่อนข้างหนาวเย็น คนไร้บ้านบางคนต้องทุกข์ทรมานกับความหนาวเหน็บในฤดูหนาวตลอดทั้งคืน และมักมีคนไร้บ้านหนาวตายในทุกปี
นอกจากสภาพอากาศแล้ว วัฒนธรรมของสหรัฐฯก็เช่นกัน ขณะที่ผมเดินผ่านคนไร้บ้าน หรือขอทานในหลายๆแห่ง ที่มีหลายรูปแบบ บางคนเขียนป้ายบอกจุดประสงค์ เช่น Hi my name is ……. I’m homeless. Now ,I’m very hungry ,please help me just only 1 dollars (สวัสดี ฉันชื่อว่า……… ฉันเป็นคนไร้บ้าน ตอนนี้ฉันหิวมาก ได้โปรดช่วยฉันแค่คนละหนึ่งดอลลาร์ก็พอ) หรือบางคนเขียนเรื่องราวชีวิตอันน่าเศร้าของตัวเองลงไปเพื่อเรียกคะแนนความสงสาร ขณะที่บางคนก็ถือถ้วยพลาสติก ขอร้องอ้อนวอนให้คนที่ผ่านไปมา บริจาคเงินให้เขา แต่พอมองลงไปในถ้วยพลาสติกนั้น กลับเห็นเศษเหรียญเพียงไม่กี่เหรียญเท่านั้น ผู้คนที่พลุกพล่านในบริเวณนั้นไม่ได้สนใจพวกเขาเลย
หากเป็นที่ประเทศไทย เมื่อเราเห็นขอทาน คนไทยมีความรู้สึกสงสาร อยากให้เงินขอทานเพื่อทำบุญสักห้าบาทสิบบาท บางคนร่ำรวยจากการเป็นขอทานก็มี ผมจำได้ว่าเคยมีขอทานที่ผู้คนแห่กันแย่งไปทำบุญหลังจากได้ออกรายการโทรทัศน์ด้วย”
นี่เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนหนึ่งของเขา แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างของคนไร้บ้าน คนเร่ร่อน หรือขอทาน ของทั้งสองประเทศ ต่อมุมมองของคนในชาติ และทัศนคติต่อผู้คน ซึ่งบ้านเรามีปัญหาที่ซับซ้อนไปกว่านั้น นั่นคือการใช้ความรู้สึกขี้สงสารของผู้คน มาเป็นเครื่องมือในการทำมาหากินกันแบบเป็นล่ำเป็นสันก็มีมากมายให้เห็น
ปัญหาเรื่องนี้ถูกมองว่าไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนมาโดยตลอด แม้จะมีความพยายามของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหลายต่อหลายครั้งที่จะแก้ไขปัญหา แต่ดูเหมือนยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง
ทั้งที่จริง ปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาที่จะตามแก้ไข แต่ปัญหานี้ต้องหาทางป้องกัน!
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
และเป็นเมืองที่ผู้คนใฝ่ฝันว่าครั้งหนึ่งในชีวิตต้องไปเยือน!
แต่ไม่ว่าใครจะมองนิวยอร์กในรูปแบบไหน ท่ามกลางเมืองใหญ่ศิวิไลซ์แห่งนี้เต็มไปด้วยคนไร้บ้าน (Homeless) อยู่ทุกหนทุกแห่ง ซึ่งจะว่าไปไม่ใช่เฉพาะนิวยอร์กซิตีเท่านั้นที่เต็มไปด้วยคนไร้บ้าน แต่ในอีกหลายเมืองของสหรัฐอเมริกาก็มีปัญหานี้เช่นกัน
ดิฉันเพิ่งเดินทางกลับจากนิวยอร์กได้มีโอกาสพบเห็นกลุ่มคนเหล่านี้ทุกหนทุกแห่ง และดูเหมือนว่าคนเหล่านี้ ถ้าไม่มีสัญญานอะไรบ่งบอก เช่น กลิ่นตัวแรงมาก หรือมีอาการทางประสาทร่วมด้วย ดูเหมือนพวกเขาแทบจะไม่มีตัวตนอยู่ในสถานที่นั้นๆ..ไม่สิ ต้องบอกว่าไม่มีตัวตนอยู่ในโลกนี้ด้วยซ้ำ
พื้นที่ที่คนไร้บ้านชอบไปพักอาศัยนอกจากตามถนนหนทางก็มีรถไฟใต้ดิน มีให้เห็นแทบทุกโบกี้ และมีหลายสถานการณ์ที่ทำให้ดิฉันและเพื่อนร่วมทางถึงกับผงะในหลายๆ ครั้ง กับกลุ่มคนเหล่านี้ ทั้งเรื่องกลิ่นตัวแรงก็เรื่องหนึ่งที่ถึงขั้นปิดจมูกก็เอาไม่อยู่ แม้คนในประเทศเขาเองก็ไม่สามารถทนนั่งใกล้ในโบกี้นั้นได้ ต้องย้ายหนีไปโบกี้อื่น ก็สุดแท้แต่ว่าจะหนีเสือปะจระเข้หรือเปล่า ก็ต้องไปลุ้นเอาอีกต่างหาก
ในขณะที่คนไร้บ้านบางคนก็ปัสสาวะเรี่ยราดตามใจชอบ ฉะนั้นเรื่องกลิ่นจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่พบได้เสมอตามข้างทาง ตามสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือแม้กระทั่งภายในโบกี้รถไฟใต้ดิน ฯลฯ
สาเหตุของคนไร้บ้านที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่ตกต่ำต่อเนื่อง ส่งผลโดยตรงให้ผู้คนที่นั่นตกงาน ไม่มีค่าเช่าบ้านก็ต้องระเห็จไปนอนนอกบ้าน ก็ยังมีปัญหาทางสังคมที่นับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น ปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาความเครียด ซึ่งนำไปสู่อาการทางจิต ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ก็ต้องกลายมาเป็นคนเร่ร่อน
สำนักงานสวัสดิการเพื่อคนไร้บ้านของนครนิวยอร์ก (NYC Department of Homeless Services หรือ DHS) เป็นหน่วยงานหลักของนครนิวยอร์กที่รับผิดชอบป้องกันและแก้ไขปัญหาคนไร้บ้าน ซึ่งพบว่าไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะบุคคลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงครอบครัวที่มีเด็กเล็กอาศัยอยู่ด้วย
และที่น่าห่วงอย่างมากก็คือข้อมูลที่ศูนย์ครอบครัวคนไร้บ้านแห่งชาติสหรัฐฯ พบว่าจำนวน “เด็กไร้บ้าน” ในสหรัฐอเมริกาเพิ่มสูงขึ้นจนมีจำนวนมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ในจำนวนประชากรเด็กทุกๆ 30 คนในเมืองลุงแซมจะมีเด็กไร้บ้าน 1 คน
จำนวนเด็กไร้บ้านในสหรัฐฯ ได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างก้าวกระโดด มีตัวเลขประมาณการณ์ว่ามีเด็กไร้บ้านในสหรัฐฯสูงราว 2.5 ล้านคน โดยที่มลรัฐแคลิฟอร์เนียมีจำนวนเด็กไร้บ้านอยู่มากที่สุดกว่า 500,000 คน หรือคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 5 ของเด็กไร้บ้านทั่วสหรัฐฯ
แม้จะมีหน่วยงานอื่นของสหรัฐฯออกมาแย้งว่าตัวเลขไม่น่าสูงถึงขนาดนั้น แต่ก็ยังไม่มีตัวเลขแน่ชัดออกมาหักล้าง
สาเหตุก็มาจากปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำและการว่างงานที่พุ่งสูง คือ ต้นตอสำคัญที่ทำให้พ่อแม่ชาวอเมริกันจำนวนมากไม่สามารถผ่อนหรือเช่าบ้านได้ และหลายครอบครัวต้องกลายสภาพจาก “มนุษย์เงินเดือน” มาเป็น “คนเร่ร่อน” ซึ่งรวมถึงบรรดาเด็กๆ ในครอบครัวเหล่านี้ที่ต้องกลายเป็นเด็กไร้บ้านในที่สุด
ถ้าปัญหานี้ไม่ได้รับการจัดการอย่างจริงจังและแก้ปัญหาได้ ดูเหมือนสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับปัญหาสังคมที่ต้องตามมาอีกมากมาย ซึ่งเป็นตัวเลขที่มีความสัมพันธ์กันก็คือการก่ออาชญากรรม การลักทรัพย์ หรือแม้แต่การใช้สารเสพติด ฯลฯ
เมื่อหันมามองบ้านเรา ปัญหาก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ปัญหาเรื่องคนไร้บ้าน คนเร่ร่อน หรือกระทั่งขอทานก็มีอยู่ทุกหนทุกแห่งเช่นกัน และที่มากกว่าอย่างเห็นได้ชัดก็คือเด็กคือเหยื่อของการถูกนำมาเป็นเครื่องมือ
แม้จะยังคงไม่มีตัวเลขที่แน่นอนว่าล่าสุดในบ้านเรา โดยเฉพาะเขตกรุงเทพมหานครว่ามีคนไร้บ้าน หรือคนเร่ร่อนเป็นจำนวนเท่าไร แต่เราก็ใช้ชีวิตและพบเห็นพวกเขาเหล่านั้นทุกหนทุกแห่งเช่นกัน แม้ประเทศไทยจะมีหน่วยงานที่ดูแลด้านประชาสงเคราะห์และสังคมสงเคราะห์ก็ตาม แต่ดูเหมือนว่ายิ่งนับวันปัญหานี้ดูจะลุกลามขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้น
และปัญหานี้ก็เป็นปัญหาสังคมที่ยังไม่เคยได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งที่ส่วนหนึ่งก็กลายมาเป็นปัญหาสังคมอื่นๆอีก อาทิ ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้คน ปัญหาความเป็นระเบียบของสังคม เป็นต้น
ดิฉันลองถือโอกาสพูดคุยกับลูกชายคนโตวัย 17 ปี (สรวง สิทธิสมาน) ซึ่งเดินทางไปสหรัฐฯด้วยกันว่าเขาคิดอย่างไรในเรื่องนี้ อยากให้เขาแสดงความคิดเห็นของเยาวชนที่มองเห็นปัญหาและมองย้อนกลับไปในบ้านเรา
เขาบอกว่า “การใช้ชีวิตของคนไร้บ้านในสหรัฐฯ ก็เหมือนกับการใช้ชีวิตของขอทานในประเทศไทย แต่มีความลำบากกว่า เนื่องจากช่วงที่ไปสภาพอากาศที่ค่อนข้างหนาวเย็น คนไร้บ้านบางคนต้องทุกข์ทรมานกับความหนาวเหน็บในฤดูหนาวตลอดทั้งคืน และมักมีคนไร้บ้านหนาวตายในทุกปี
นอกจากสภาพอากาศแล้ว วัฒนธรรมของสหรัฐฯก็เช่นกัน ขณะที่ผมเดินผ่านคนไร้บ้าน หรือขอทานในหลายๆแห่ง ที่มีหลายรูปแบบ บางคนเขียนป้ายบอกจุดประสงค์ เช่น Hi my name is ……. I’m homeless. Now ,I’m very hungry ,please help me just only 1 dollars (สวัสดี ฉันชื่อว่า……… ฉันเป็นคนไร้บ้าน ตอนนี้ฉันหิวมาก ได้โปรดช่วยฉันแค่คนละหนึ่งดอลลาร์ก็พอ) หรือบางคนเขียนเรื่องราวชีวิตอันน่าเศร้าของตัวเองลงไปเพื่อเรียกคะแนนความสงสาร ขณะที่บางคนก็ถือถ้วยพลาสติก ขอร้องอ้อนวอนให้คนที่ผ่านไปมา บริจาคเงินให้เขา แต่พอมองลงไปในถ้วยพลาสติกนั้น กลับเห็นเศษเหรียญเพียงไม่กี่เหรียญเท่านั้น ผู้คนที่พลุกพล่านในบริเวณนั้นไม่ได้สนใจพวกเขาเลย
หากเป็นที่ประเทศไทย เมื่อเราเห็นขอทาน คนไทยมีความรู้สึกสงสาร อยากให้เงินขอทานเพื่อทำบุญสักห้าบาทสิบบาท บางคนร่ำรวยจากการเป็นขอทานก็มี ผมจำได้ว่าเคยมีขอทานที่ผู้คนแห่กันแย่งไปทำบุญหลังจากได้ออกรายการโทรทัศน์ด้วย”
นี่เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนหนึ่งของเขา แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างของคนไร้บ้าน คนเร่ร่อน หรือขอทาน ของทั้งสองประเทศ ต่อมุมมองของคนในชาติ และทัศนคติต่อผู้คน ซึ่งบ้านเรามีปัญหาที่ซับซ้อนไปกว่านั้น นั่นคือการใช้ความรู้สึกขี้สงสารของผู้คน มาเป็นเครื่องมือในการทำมาหากินกันแบบเป็นล่ำเป็นสันก็มีมากมายให้เห็น
ปัญหาเรื่องนี้ถูกมองว่าไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนมาโดยตลอด แม้จะมีความพยายามของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหลายต่อหลายครั้งที่จะแก้ไขปัญหา แต่ดูเหมือนยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง
ทั้งที่จริง ปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาที่จะตามแก้ไข แต่ปัญหานี้ต้องหาทางป้องกัน!
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่