กรมวิทย์แจงกินอาหารไม่สะอาด ทำให้เนื้อขาเน่าตายไม่ได้ ชี้อาการเนื้อตายเน่าต้องมีแผล หรือ โรคประจำตัวเกี่ยวกับหลอดเลือด หรือ เบาหวานร่วม และเกิดการติดเชื้อที่แผลโดยตรง ยันเชื้อจากทางเดินอาหารไม่ส่งผลกระทบ
นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงกรณีข่าวสังคมออนไลน์ระบุการกินอาหารไม่สะอาด ทำให้ผู้ป่วยต้องเสียขา ว่า จากภาพที่ปรากฏคล้ายอาการของเนื้อตายเน่า เรียกว่า แกงกรีน (Gangrene) ซึ่งการกินอาหารไม่สะอาดแล้วทำให้เกิดอาการดังกล่าวนั้นไม่น่าเป็นไปได้ เพราะเป้นคนละระบบกัน หากกินอาหารไม่สะอาดก็เป็นเรื่องของระบบทางเดินอาหาร แต่ลักษณะเนื้อตายเน่าเป็นเรื่องของผิวหนังและกล้ามเนื้อ ซึ่งการเกิดอาการเนื้อตายเน่าต้องเกิดจากการที่ร่างกายมีแผล หรือป่วยเป็นโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคประจำตัวเกี่ยวกับหลอดเลือด และเกิดการติดเชื้อหรือแผลลุกลาม ซึ่งข้อมูลของกรณีดังกล่าวไม่มีการระบุว่าเป็นโรคเหล่านี้ แต่กลับมีการตีความรวมว่าเกิดจากการกินอาหารไม่สะอาด จึงไม่ถูกต้อง
“ส่วนที่มีการระบุว่าพบเชื้ออีโคไลด้วยนั้น ต้องชี้แจงว่าเชื้ออีโคไลที่พบเป็นเชื้อธรรมดาตรวจที่ไหนก็อาจมีได้ และไม่ได้หมายความว่ามีเชื้อแล้วจะต้องรุนแรงเสมอไป แต่เชื้อจะต้องไปอยู่บนแผลของคนที่หลอดเลือดมีปัญหา นั่นหมายความว่า คนที่เสียขาตามข่าวจะต้องมีโรคประจำตัวอยู่ก่อน หรือมีแผล เพราะแค่กินอาหารไม่สะอาดแล้วท้องเสีย ซึ่งพบเชื้ออีโคไลเป็นไปไม่ได้ที่เชื้อจะไปที่ขา จนเสียขา” นพ.อภิชัย กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม อาการท้องเสียหรืออุจจาระร่วงจากการกินอาหารไม่สะอาด ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ ก็อาจทำให้แผลที่มีอยู่แล้ว ซึ่งอาจดูไม่อันตรายไม่รุนแรง เกิดความรุนแรง หรือลุกลามขึ้นมาได้ เพราะภูมิคุ้มกันร่างกายลดลง เรียกว่าอาจเป็นอัจจัยทางอ้อมมากกว่า
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงกรณีข่าวสังคมออนไลน์ระบุการกินอาหารไม่สะอาด ทำให้ผู้ป่วยต้องเสียขา ว่า จากภาพที่ปรากฏคล้ายอาการของเนื้อตายเน่า เรียกว่า แกงกรีน (Gangrene) ซึ่งการกินอาหารไม่สะอาดแล้วทำให้เกิดอาการดังกล่าวนั้นไม่น่าเป็นไปได้ เพราะเป้นคนละระบบกัน หากกินอาหารไม่สะอาดก็เป็นเรื่องของระบบทางเดินอาหาร แต่ลักษณะเนื้อตายเน่าเป็นเรื่องของผิวหนังและกล้ามเนื้อ ซึ่งการเกิดอาการเนื้อตายเน่าต้องเกิดจากการที่ร่างกายมีแผล หรือป่วยเป็นโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคประจำตัวเกี่ยวกับหลอดเลือด และเกิดการติดเชื้อหรือแผลลุกลาม ซึ่งข้อมูลของกรณีดังกล่าวไม่มีการระบุว่าเป็นโรคเหล่านี้ แต่กลับมีการตีความรวมว่าเกิดจากการกินอาหารไม่สะอาด จึงไม่ถูกต้อง
“ส่วนที่มีการระบุว่าพบเชื้ออีโคไลด้วยนั้น ต้องชี้แจงว่าเชื้ออีโคไลที่พบเป็นเชื้อธรรมดาตรวจที่ไหนก็อาจมีได้ และไม่ได้หมายความว่ามีเชื้อแล้วจะต้องรุนแรงเสมอไป แต่เชื้อจะต้องไปอยู่บนแผลของคนที่หลอดเลือดมีปัญหา นั่นหมายความว่า คนที่เสียขาตามข่าวจะต้องมีโรคประจำตัวอยู่ก่อน หรือมีแผล เพราะแค่กินอาหารไม่สะอาดแล้วท้องเสีย ซึ่งพบเชื้ออีโคไลเป็นไปไม่ได้ที่เชื้อจะไปที่ขา จนเสียขา” นพ.อภิชัย กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม อาการท้องเสียหรืออุจจาระร่วงจากการกินอาหารไม่สะอาด ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ ก็อาจทำให้แผลที่มีอยู่แล้ว ซึ่งอาจดูไม่อันตรายไม่รุนแรง เกิดความรุนแรง หรือลุกลามขึ้นมาได้ เพราะภูมิคุ้มกันร่างกายลดลง เรียกว่าอาจเป็นอัจจัยทางอ้อมมากกว่า
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่