นพ.อนุวัตร จิตต์จรัส จักษุแพทย์
โรงพยาบาลเวชธานี
ดวงตาถือว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญมาก เมื่อค่าสายตาผิดปกติจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและการประกอบอาชีพไม่น้อยเลย ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์เข้ามาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของเรามากขึ้นด้วยการรักษาค่าความผิดปกติของสายตา การทำเลสิกแน่นอนว่าการรักษาด้วยวิธีนี้สามารถตอบโจทย์ความต้องการผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี แต่ทราบหรือไม่ว่าผู้ป่วยบางกลุ่มรวมถึงคนที่กำลังตั้งครรภ์ไม่ควรทำเลสิก เพราะอะไร และจะส่งผลอย่างไร
นพ.อนุวัตร จิตต์จรัส จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระจกตา และการแก้สายตาผิดปกติ โรงพยาบาลเวชธานี ได้อธิบายว่า คนตั้งครรภ์ ไม่ควรทำเลสิก เนื่องจากคนที่ตั้งครรภ์ปกติแล้ว เราจะพยายามให้คนที่ตั้งครรภ์ที่มีบุตรอยู่ในครรภ์ให้ได้รับยาน้อยที่สุด เพราะฉะนั้น การหยอดตาจะมีผลต่อบุตรในครรภ์ ตลอดจนสายตาของผู้ป่วยเองในขณะตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งครรภ์ปกติ หรือการตั้งครรภ์ที่มีผลแทรกซ้อนอย่างอื่น เช่น ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์สามารถทำให้ตาพร่ามัวและสายตาเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และอาจจะมีผลแทรกซ้อนอย่างอื่นต่อจอประสาทตาได้ อีกทั้งขณะตั้งครรภ์ฮอร์โมนสามารถฅเปลี่ยนแปลงสายตาได้ เพราะฉะนั้นหลังจากตั้งครรภ์ประมาณในเดือนที่ 3 หลังจากฮอร์โมนกลับสู่ภาวะปกติจึงจะทำการรักษาสายตาทางเลสิกได้
อย่างไรก็ตาม ถ้าเกิดตั้งครรภ์โดยไม่รู้ตัวและไปทำเลสิก ในกรณีนี้ก็เคยเกิดขึ้นกับผู้ป่วยบางรายเหมือนกัน ถ้าเราทำก่อนตั้งครรภ์ไม่ค่อยมีผลอะไร ในกรณีที่สายตาสั้นน้อย สายตาคงที่ การใช้ยาก็ใช้ให้สั้นที่สุดเท่าที่จะสั้นได้ และการพักฟื้นจะอยู่ในช่วง 2 สัปดาห์ถึง 1 เดือน และตั้งครรภ์ต่อโดยที่ไม่มีผลต่อเด็ก แต่ต้องติดตามการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญ
ทั้งนี้ ในขณะตั้งครรภ์อยากจะให้บุตรในครรภ์มีสุขภาพที่แข็งแรง ถึงแม้เลเซอร์จะไม่มีผลต่อเด็กก็ตาม แต่เราก็ไม่อยากจะใช้ยาในขณะที่ตั้งครรภ์อยู่ เพราะฉะนั้นในช่วงตั้งครรภ์เราอยากจะให้คุณแม่ดูแลสุขภาพอย่างดี สายตาคงที่ รักษาภาวะตาแห้งได้ดี รักษาภาวะของโลหิตได้ดี และหลังจากนั้นประมาณ 3 เดือนหลังจากการตั้งครรภ์ค่อยมารักษาสายตา
สำหรับการรักษาสายตาสั้นมีพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ 25 ปีที่ผ่านมา เราใช้แสงเย็น เรียกว่า เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ EXCIMER LASER ทำการปรับความโค้งของกระจกตา ด้วยการรักษาสายตาด้วยวิธีนี้สามารถรักษาได้ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป ปัจจุบันมีเทคโนโลยี หลากหลาย LASIK, FETOLASIK, EPILASIK, PRK, ReLEX, ICL ซึ่งปัจจุบันเทคนิคต่างๆ เหล่านี้จะเหมาะสมตามแต่บุคคลตามคำแนะนำของแพทย์ซึ่งจะมีวิธีรักษาที่แตกต่างกัน
การรักษาเกิดภาวะแทรกซ้อนนั้นมีน้อยมาก เพราะในการทำแต่ละครั้งแพทย์จะทำการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสม และช่วงเวลาที่เหมาะสมเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะทำให้การรักษาเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ และไม่ค่อยมีผลแทรกซ้อนแต่อย่างไร เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันผ่านมาถึง 25 ปี มีความหลากหลายมีมาตราฐานในการรักษาขั้นสูง
นอกจากนี้ การรักษาในปัจจุบัน มีความปลอดภัยมากด้วยเทคโนโลยีรุ่นใหม่ และใช้เวลาสั้นมากในการรักษา แต่การติดตามการรักษาสำคัญมาก เพราะเนื่องจากผู้เชี่ยวชาญจะรู้ว่า จะป้องกันปัญหาทีเกิดขึ้นได้อย่างไร และจะรักษาอย่างไร ตัวอย่างเช่นอาจจะมีปัญหาเรื่องตาแห้ง แสงกระจายเวลาขับรถกลางคืน บางท่านจะดำน้ำได้มั้ย ว่ายน้ำได้มั้ย
ส่วนใหญ่เราก็จะแนะนำว่า 1 เดือนว่ายน้ำได้นะครับ 3 เดือน ดำน้ำลึกได้ ในเรื่องของการขับรถใหม่ๆ อาจจะมีแสงกระจายก็สามารถแก้ไขได้นะครับ การติดตามการรักษากับผู้เชียวชาญจึงมีความสำคัญมาก
สำหรับการรักษาความผิดปกติของสายตาด้วยวิธีฅ่างต่างที่กล่าวมาแล้ว ถือว่าเป็นที่นิยมกันอย่างมากเลยค่ะ แน่นอนนะคะก็ต้องอยู่ภายใต้การแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษา และที่สำคัญควรสังเกตตัวเองสักนิดว่าอยุ่ในภาวะตั้งครรภ์หรือไม่เพื่อประโยชน์สูงสุดของการรักษา
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่