ตรวจผักสด 7 ชนิด พบสารพิษเกินเกณฑ์ 0.4% แนะล้างผักก่อนปรุงหรือรับประทานทุกครั้ง
นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหารและศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 15 แห่ง ของกรมฯ ได้ร่วมกันเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร โดยตรวจเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.การปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และคุณภาพทางเคมี ของน้ำดื่ม/น้ำแข็ง 2.คุณภาพทางจุลชีววิทยาและทางเคมีของผลิตภัณฑ์ชุมชนด้านอาหาร 3.สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักสด และ 4.ไอโอดีนในผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน โดยในส่วนของการเฝ้าระวังสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผักสดที่นิยมบริโภคจำนวน 7 ชนิด ได้แก่ คะน้า ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ตำลึง แตงกวา กะหล่ำปลี และ ผักกาดขาว จากตลาดกลางค้าส่ง ตลาดสดขนาดใหญ่ และห้างค้าปลีกใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ ระหว่าง ธ.ค. 2557 - มี.ค. 2558 เพื่อตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและกลุ่มคาร์บาเมท ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพสูง ทำให้มีอาการมึนงง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หายใจไม่สะดวก ชักและเสียชีวิต ซึ่งใช้เป็นดัชนีชี้วัดการเกิดพิษเฉียบพลันและเรื้อรัง ด้วยวิธีชุดทดสอบโดยใช้หลักการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด
นพ.อภิชัย กล่าวว่า ผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างผักสดทั้ง 7 ชนิด จำนวนตัวอย่างทั้งหมด 1,593 ตัวอย่าง ได้แก่ คะน้า 259 ตัวอย่าง ถั่วฝักยาว 244 ตัวอย่าง ผักบุ้ง 258 ตัวอย่างตำลึง 110 ตัวอย่าง แตงกวา 239 ตัวอย่าง กะหล่ำปลี 243 ตัวอย่าง และผักกาดขาว 240 ตัวอย่าง ตรวจพบสารพิษในเกณฑ์ไม่ปลอดภัยจำนวน 6 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.4 โดยพบในคะน้า 2 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.8 ผักกาดขาว 3 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 1.3 และในผักบุ้ง 1 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 0.4
นพ.อภิชัย กล่าวต่ออีกว่า จากข้อมูลการสุ่มเก็บตัวอย่างผักสดทั้ง 7 ชนิดจากตลาดต่างๆทั่วประเทศ จะตรวจพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างกลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟตและกลุ่มคาร์บาเมทค่อนข้างน้อย เพียงร้อยละ 0.4 อย่างไรก็ตามเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคก่อนที่จะรับประทานหรือปรุงอาหารด้วยผักทุกครั้ง ควรล้างผักก่อนบริโภค ขั้นตอนการล้างผักมี ดังนี้ ลอกหรือปอกเปลือกแล้วล้างด้วยน้ำไหลเพื่อขจัดคราบของดิน สิ่งสกปรก แบคทีเรีย และเชื้อต่างๆ ตลอดจนสารพิษบางส่วนจากนั้นนำผักมาแช่ในน้ำที่ผสมน้ำส้มสายชูหรือเกลือ อัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร หรือผงฟู อัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตร (อย่างใดอย่างหนึ่ง) แช่นานประมาณ 10-15 นาที แล้วนำผักมาล้างด้วยน้ำสะอาด เพื่อชะล้างสารเคมีที่ใช้แช่ผัก การล้างผักให้ถูกวิธีไม่เพียงแต่สามารถลดการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้เท่านั้น ยังสามารถลดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์และสิ่งอื่นที่อาจติดมากับผักได้อีกด้วย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหารและศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 15 แห่ง ของกรมฯ ได้ร่วมกันเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร โดยตรวจเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.การปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และคุณภาพทางเคมี ของน้ำดื่ม/น้ำแข็ง 2.คุณภาพทางจุลชีววิทยาและทางเคมีของผลิตภัณฑ์ชุมชนด้านอาหาร 3.สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักสด และ 4.ไอโอดีนในผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน โดยในส่วนของการเฝ้าระวังสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผักสดที่นิยมบริโภคจำนวน 7 ชนิด ได้แก่ คะน้า ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ตำลึง แตงกวา กะหล่ำปลี และ ผักกาดขาว จากตลาดกลางค้าส่ง ตลาดสดขนาดใหญ่ และห้างค้าปลีกใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ ระหว่าง ธ.ค. 2557 - มี.ค. 2558 เพื่อตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและกลุ่มคาร์บาเมท ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพสูง ทำให้มีอาการมึนงง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หายใจไม่สะดวก ชักและเสียชีวิต ซึ่งใช้เป็นดัชนีชี้วัดการเกิดพิษเฉียบพลันและเรื้อรัง ด้วยวิธีชุดทดสอบโดยใช้หลักการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด
นพ.อภิชัย กล่าวว่า ผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างผักสดทั้ง 7 ชนิด จำนวนตัวอย่างทั้งหมด 1,593 ตัวอย่าง ได้แก่ คะน้า 259 ตัวอย่าง ถั่วฝักยาว 244 ตัวอย่าง ผักบุ้ง 258 ตัวอย่างตำลึง 110 ตัวอย่าง แตงกวา 239 ตัวอย่าง กะหล่ำปลี 243 ตัวอย่าง และผักกาดขาว 240 ตัวอย่าง ตรวจพบสารพิษในเกณฑ์ไม่ปลอดภัยจำนวน 6 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.4 โดยพบในคะน้า 2 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.8 ผักกาดขาว 3 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 1.3 และในผักบุ้ง 1 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 0.4
นพ.อภิชัย กล่าวต่ออีกว่า จากข้อมูลการสุ่มเก็บตัวอย่างผักสดทั้ง 7 ชนิดจากตลาดต่างๆทั่วประเทศ จะตรวจพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างกลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟตและกลุ่มคาร์บาเมทค่อนข้างน้อย เพียงร้อยละ 0.4 อย่างไรก็ตามเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคก่อนที่จะรับประทานหรือปรุงอาหารด้วยผักทุกครั้ง ควรล้างผักก่อนบริโภค ขั้นตอนการล้างผักมี ดังนี้ ลอกหรือปอกเปลือกแล้วล้างด้วยน้ำไหลเพื่อขจัดคราบของดิน สิ่งสกปรก แบคทีเรีย และเชื้อต่างๆ ตลอดจนสารพิษบางส่วนจากนั้นนำผักมาแช่ในน้ำที่ผสมน้ำส้มสายชูหรือเกลือ อัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร หรือผงฟู อัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตร (อย่างใดอย่างหนึ่ง) แช่นานประมาณ 10-15 นาที แล้วนำผักมาล้างด้วยน้ำสะอาด เพื่อชะล้างสารเคมีที่ใช้แช่ผัก การล้างผักให้ถูกวิธีไม่เพียงแต่สามารถลดการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้เท่านั้น ยังสามารถลดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์และสิ่งอื่นที่อาจติดมากับผักได้อีกด้วย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่