คกก. สธ. ไฟเขียว ร่างคำแนะนำคุมผลิต จัดเก็บ ขนส่ง จำหน่ายน้ำแข็ง เตรียมประสานท้องถิ่นนำไปใช้ออกกฎคุมโรงงาน กรมอนามัยชี้น้ำแข็งยังปนเปื้อนเชื้ออยู่มาก หวั่นก่อโรค
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ประเทศไทยมีภูมิอาการที่ร้อน ทำให้ประชาชนนิยมดื่มเครื่องดื่มที่ใส่น้ำแข็ง หรือบริโภคน้ำแข็งรูปแบบต่างๆ เช่น น้ำแข็งไส น้ำปั่น เป็นต้น นอกจากนี้ ยังนำมาใช้แช่อาหารสดเพื่อถนอมอาหาร ชะลอการเน่าเสีย บดผสมกับเนื้อทำลูกชิ้น ซึ่งหากกระบวนการผลิต ขนส่ง จัดเก็บรักษา และจำหน่ายไม่เป็นไปตามหลักสุขาภิบาล อาจเกิดการปนเปื้อนและเป็นแหล่งแพร่กระจายของจุลินทรีย์ เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องร่วง จึงต้องมีการควบคุม ดูแล สถานประกอบการปฏิบัติตามหลักการสุขาภิบาล ซึ่งขณะนี้ร่างคำแนะนำเรื่อง “การควบคุมการประกอบกิจการการผลิต สะสม แบ่งบรรจุ และค้าส่งน้ำแข็ง" ได้ผ่านมติคณะกรรมการสาธารณสุขแล้ว เมื่อวันที่ 25 ก.พ. ที่ผ่านมา อยู่ระหว่างรอเสนอให้ประธานคณะกรรมการลงนาม โดยกรมฯเตรียมสนับสนุนให้ราชการส่วนท้องถิ่นนำคำแนะนำดังกล่าวไปออกเป็นข้อกำหนดท้องถิ่น เพื่อควบคุมสถานประกอบการผลิตน้ำแข็ง สถานที่สะสม แบ่งบรรจุ และค้าส่งน้ำแข็ง
นพ.พรเทพ กล่าวว่า จากการสุ่มสำรวจความปลอดภัยอาหารของสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ร่วมกับศูนย์อนามัยที่ 1 - 12 ในปี 2555 พบว่า น้ำแข็งเพื่อบริโภคที่จำหน่ายในร้านอาหารและแผงลอยจำนวน 142 ตัวอย่าง ตรวจพบเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียถึง 48 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 33.8 จะเห็นได้ว่าน้ำแข็งที่บริโภคยังมีการปนเปื้อนสูง ซึ่งแม้เชื้อดังกล่าวจะไม่ใช่เชื้อโรคที่อันตราย แต่บ่งบอกถึงความสกปรกได้ เพราะเชื้อนี้ส่วนใหญ่จะพบในอุจจาระของคนและสัตว์เลือดอุ่น ถ้าพบเชื้อนี้ก็หมายความว่าน้ำแข็งน่าจะมีการปนเปื้อนจากอุจจาระ ซึ่งอาจมีทั้งทางตรงและทางอ้อม ตั้งแต่การปนเปื้อนในกระบวนการผลิต สถานที่ผลิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การขนส่ง ภาชนะอุปกรณ์ที่อาจจะไม่สะอาดหรือมีการนำกลับมาใช้ซ้ำ และที่สำคัญคือ การปนเปื้อนผ่านมือของผู้สัมผัสน้ำแข็งที่อาจจะเข้าส้วมแล้วล้างมือไม่สะอาด อุจจาระอาจติดมากับมือ ซอกนิ้วหรือเล็บและเมือมาปฏิบัติงานก็ทำให้เกิดการปนเปื้อนได้
“ขณะนี้กรมฯได้มีโครงการนำร่องพัฒนาสถานที่ผลิต สะสม แบ่งบรรจุ และค้าส่งน้ำแข็งต้นแบบในภาคอีสาน โดยมีการอบรมมาตรฐานและสุขลักษณะที่ดีที่ต้องปฏิบัติให้แก่โรงน้ำแข็งและร้านค้าส่ง ซึ่งจากนี้จะขยายผลไปยังภาคอื่น ส่วนร้านอาหารต้องมีการจัดเก็บและจำหน่ายน้ำแข็งที่ถูกสุขลักษณะ คือ ไม่นำสิ่งของใดๆ มาแช่รวมในน้ำแข็งที่ใช้บริโภค ต้องมีอุปกรณ์ที่ใช้ด้ามจับตักน้ำแข็ง สำหรับการเลือกซื้อน้ำแข็งเพื่อบริโภค ลักษณะน้ำแข็งต้องใสสะอาด บรรจุในซองพลาสติกหรือถุงพลาสติกที่ปิดผนึกเรียบร้อยมีเครื่องหมาย อย.รับรองอย่างถูกต้อง เพราะผลิตจากน้ำที่มีคุณภาพตามมาตรฐานน้ำบริโภคจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน สำหรับร้านอาหารหรือแผงลอยต้องเก็บน้ำแข็งในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิด ไม่เป็นสนิม ตั้งสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร ห้ามนำอาหารหรือเครื่องดื่มมาแช่ เพื่อป้องกันการปนเปื้อน” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ประเทศไทยมีภูมิอาการที่ร้อน ทำให้ประชาชนนิยมดื่มเครื่องดื่มที่ใส่น้ำแข็ง หรือบริโภคน้ำแข็งรูปแบบต่างๆ เช่น น้ำแข็งไส น้ำปั่น เป็นต้น นอกจากนี้ ยังนำมาใช้แช่อาหารสดเพื่อถนอมอาหาร ชะลอการเน่าเสีย บดผสมกับเนื้อทำลูกชิ้น ซึ่งหากกระบวนการผลิต ขนส่ง จัดเก็บรักษา และจำหน่ายไม่เป็นไปตามหลักสุขาภิบาล อาจเกิดการปนเปื้อนและเป็นแหล่งแพร่กระจายของจุลินทรีย์ เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องร่วง จึงต้องมีการควบคุม ดูแล สถานประกอบการปฏิบัติตามหลักการสุขาภิบาล ซึ่งขณะนี้ร่างคำแนะนำเรื่อง “การควบคุมการประกอบกิจการการผลิต สะสม แบ่งบรรจุ และค้าส่งน้ำแข็ง" ได้ผ่านมติคณะกรรมการสาธารณสุขแล้ว เมื่อวันที่ 25 ก.พ. ที่ผ่านมา อยู่ระหว่างรอเสนอให้ประธานคณะกรรมการลงนาม โดยกรมฯเตรียมสนับสนุนให้ราชการส่วนท้องถิ่นนำคำแนะนำดังกล่าวไปออกเป็นข้อกำหนดท้องถิ่น เพื่อควบคุมสถานประกอบการผลิตน้ำแข็ง สถานที่สะสม แบ่งบรรจุ และค้าส่งน้ำแข็ง
นพ.พรเทพ กล่าวว่า จากการสุ่มสำรวจความปลอดภัยอาหารของสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ร่วมกับศูนย์อนามัยที่ 1 - 12 ในปี 2555 พบว่า น้ำแข็งเพื่อบริโภคที่จำหน่ายในร้านอาหารและแผงลอยจำนวน 142 ตัวอย่าง ตรวจพบเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียถึง 48 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 33.8 จะเห็นได้ว่าน้ำแข็งที่บริโภคยังมีการปนเปื้อนสูง ซึ่งแม้เชื้อดังกล่าวจะไม่ใช่เชื้อโรคที่อันตราย แต่บ่งบอกถึงความสกปรกได้ เพราะเชื้อนี้ส่วนใหญ่จะพบในอุจจาระของคนและสัตว์เลือดอุ่น ถ้าพบเชื้อนี้ก็หมายความว่าน้ำแข็งน่าจะมีการปนเปื้อนจากอุจจาระ ซึ่งอาจมีทั้งทางตรงและทางอ้อม ตั้งแต่การปนเปื้อนในกระบวนการผลิต สถานที่ผลิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การขนส่ง ภาชนะอุปกรณ์ที่อาจจะไม่สะอาดหรือมีการนำกลับมาใช้ซ้ำ และที่สำคัญคือ การปนเปื้อนผ่านมือของผู้สัมผัสน้ำแข็งที่อาจจะเข้าส้วมแล้วล้างมือไม่สะอาด อุจจาระอาจติดมากับมือ ซอกนิ้วหรือเล็บและเมือมาปฏิบัติงานก็ทำให้เกิดการปนเปื้อนได้
“ขณะนี้กรมฯได้มีโครงการนำร่องพัฒนาสถานที่ผลิต สะสม แบ่งบรรจุ และค้าส่งน้ำแข็งต้นแบบในภาคอีสาน โดยมีการอบรมมาตรฐานและสุขลักษณะที่ดีที่ต้องปฏิบัติให้แก่โรงน้ำแข็งและร้านค้าส่ง ซึ่งจากนี้จะขยายผลไปยังภาคอื่น ส่วนร้านอาหารต้องมีการจัดเก็บและจำหน่ายน้ำแข็งที่ถูกสุขลักษณะ คือ ไม่นำสิ่งของใดๆ มาแช่รวมในน้ำแข็งที่ใช้บริโภค ต้องมีอุปกรณ์ที่ใช้ด้ามจับตักน้ำแข็ง สำหรับการเลือกซื้อน้ำแข็งเพื่อบริโภค ลักษณะน้ำแข็งต้องใสสะอาด บรรจุในซองพลาสติกหรือถุงพลาสติกที่ปิดผนึกเรียบร้อยมีเครื่องหมาย อย.รับรองอย่างถูกต้อง เพราะผลิตจากน้ำที่มีคุณภาพตามมาตรฐานน้ำบริโภคจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน สำหรับร้านอาหารหรือแผงลอยต้องเก็บน้ำแข็งในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิด ไม่เป็นสนิม ตั้งสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร ห้ามนำอาหารหรือเครื่องดื่มมาแช่ เพื่อป้องกันการปนเปื้อน” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่