ส่งทีมแพทย์ไทยชุดที่ 2 รวม 24 คน ไปผลัดเปลี่ยนกับทีมแพทย์ชุดแรกที่เนปาล ช่วยตรวจรักษาผู้ประสบภัย ทำแหล่งน้ำให้สะอาด ฟื้นฟูสุขภาพจิต
วันนี้ (7 พ.ค.) ที่สนามบินสุวรรณภูมิ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เดินทางไปให้กำลังใจและส่งทีมแพทย์ไทยชุดที่ 2 ไปประเทศเนปาล เพื่อผลัดเปลี่ยนกับทีมชุดแรกที่ตั้งโรงพยาบาลสนามอยู่ที่ ต.ซิปปะกัต อ.สินธุปาลโชค ด้วยสายการบินไทย TG 319 มีทั้งหมด 24 คน เป็นทีมสหสาขาวิชาชีพมาจากมูลนิธิร่วมกตัญญู ป่อเต๊กตึ๊ง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รพ.ศิริราช รพ.จุฬาลงกรณ์ รพ.นพรัตนราชธานี รพ.ราชวิถี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขตที่ 7 (สคร.) จ.อุบลราชธานี และจากรพ.ภูมิภาคในจังหวัดสุพรรณบุรี สระบุรี ขอนแก่น อุบลราชธานี สมุทรปราการ และลำพูน โดยเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน 4 คน ศัลยแพทย์ 1 คน จิตแพทย์ 1 คน แพทย์ระบาดวิทยา 2 คน พยาบาล 7 คน เจ้าหน้าที่เวชกิจฉุกเฉิน 6 คน และนักวิชาการสาธารณสุข 3 คน โดยมี นพ.ศรายุทธ อุตตามางคพงศ์ ผอ.สคร.ที่ 7 เป็นหัวหน้าทีม
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า การเดินทางครั้งนี้ได้เตรียมอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นในการดูแลรักษาผู้ป่วยไปด้วย อาทิ เปลขนย้ายผู้ป่วย เครื่องกระตุ้นหัวใจ เครื่องปั่นไฟสำรอง เครื่องกรองน้ำ ผงทำน้ำดื่ม 120,000 ซอง ซึ่งได้รับประทานจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ยาน้ำและเวชภัณฑ์ที่ใช้สำหรับเด็ก เช่น ยาแก้ไอ ยาขยายหลอดลม ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวดลดไข้ รองเท้าบู๊ท 140 คู่รวมทั้งเตรียมเครื่องกีฬา ไปทำกิจกรรมสันทนาการผ่อนคลายความเครียดให้แก่เด็กและประชาชนในพื้นที่ โดยเมื่อถึงที่สนามบินตรีภูวัน ทีมแพทย์จะเดินทางไปที่โรงพยาบาลสนามฯ และรับมอบงานจากทีมชุดที่ 1 จากนั้นเริ่มปฏิบัติงานตามแผนทันที ส่วนทีมแพทย์ชุดแรกทั้ง 19 คนจะเดินทางกลับมาประเทศไทยในวันที่ 10 พ.ค.นี้
"สำหรับผลการให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยประสบภัย ตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย. - 6 พ.ค. ยอดสะสมรวม 1,026 ราย ส่วนใหญ่มีบาดแผล แผลอักเสบ ติดเชื้อ ป่วยเป็นไข้หวัด ปวดเมื่อยตามร่างกาย ในการปฏิบัติงานของทีมชุดที่ 2 จะยังคงภารกิจการตรวจรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยทั่วไป ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน เช่น ติดเชื้อกระแสโลหิต ช็อก เป็นต้น รวมถึงให้บริการเชิงรุกในชุมชน ฟื้นฟูสุขภาพจิต โดยใช้แบบตรวจคัดกรองความเครียดของไทยที่แปลเป็นภาษาเนปาล และการป้องกันการเกิดโรคระบาดหลังภัยพิบัติ เช่น อุจจาระร่วง บิด เป็นต้น ทั้งนี้จะต้องปรับปรุงสภาพแหล่งน้ำกินน้ำใช้ให้สะอาด ปลอดภัย และมีส้วมใช้อย่างเพียงพอ โดยวอร์รูมฯ สธ.จะประสานข้อมูลกับทีมแพทย์ไทยทุกวัน เพื่อจัดส่งสิ่งสนับสนุนตามความต้องการอย่างเต็มที่" รมช.สธ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (7 พ.ค.) ที่สนามบินสุวรรณภูมิ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เดินทางไปให้กำลังใจและส่งทีมแพทย์ไทยชุดที่ 2 ไปประเทศเนปาล เพื่อผลัดเปลี่ยนกับทีมชุดแรกที่ตั้งโรงพยาบาลสนามอยู่ที่ ต.ซิปปะกัต อ.สินธุปาลโชค ด้วยสายการบินไทย TG 319 มีทั้งหมด 24 คน เป็นทีมสหสาขาวิชาชีพมาจากมูลนิธิร่วมกตัญญู ป่อเต๊กตึ๊ง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รพ.ศิริราช รพ.จุฬาลงกรณ์ รพ.นพรัตนราชธานี รพ.ราชวิถี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขตที่ 7 (สคร.) จ.อุบลราชธานี และจากรพ.ภูมิภาคในจังหวัดสุพรรณบุรี สระบุรี ขอนแก่น อุบลราชธานี สมุทรปราการ และลำพูน โดยเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน 4 คน ศัลยแพทย์ 1 คน จิตแพทย์ 1 คน แพทย์ระบาดวิทยา 2 คน พยาบาล 7 คน เจ้าหน้าที่เวชกิจฉุกเฉิน 6 คน และนักวิชาการสาธารณสุข 3 คน โดยมี นพ.ศรายุทธ อุตตามางคพงศ์ ผอ.สคร.ที่ 7 เป็นหัวหน้าทีม
นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า การเดินทางครั้งนี้ได้เตรียมอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นในการดูแลรักษาผู้ป่วยไปด้วย อาทิ เปลขนย้ายผู้ป่วย เครื่องกระตุ้นหัวใจ เครื่องปั่นไฟสำรอง เครื่องกรองน้ำ ผงทำน้ำดื่ม 120,000 ซอง ซึ่งได้รับประทานจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ยาน้ำและเวชภัณฑ์ที่ใช้สำหรับเด็ก เช่น ยาแก้ไอ ยาขยายหลอดลม ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวดลดไข้ รองเท้าบู๊ท 140 คู่รวมทั้งเตรียมเครื่องกีฬา ไปทำกิจกรรมสันทนาการผ่อนคลายความเครียดให้แก่เด็กและประชาชนในพื้นที่ โดยเมื่อถึงที่สนามบินตรีภูวัน ทีมแพทย์จะเดินทางไปที่โรงพยาบาลสนามฯ และรับมอบงานจากทีมชุดที่ 1 จากนั้นเริ่มปฏิบัติงานตามแผนทันที ส่วนทีมแพทย์ชุดแรกทั้ง 19 คนจะเดินทางกลับมาประเทศไทยในวันที่ 10 พ.ค.นี้
"สำหรับผลการให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยประสบภัย ตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย. - 6 พ.ค. ยอดสะสมรวม 1,026 ราย ส่วนใหญ่มีบาดแผล แผลอักเสบ ติดเชื้อ ป่วยเป็นไข้หวัด ปวดเมื่อยตามร่างกาย ในการปฏิบัติงานของทีมชุดที่ 2 จะยังคงภารกิจการตรวจรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยทั่วไป ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน เช่น ติดเชื้อกระแสโลหิต ช็อก เป็นต้น รวมถึงให้บริการเชิงรุกในชุมชน ฟื้นฟูสุขภาพจิต โดยใช้แบบตรวจคัดกรองความเครียดของไทยที่แปลเป็นภาษาเนปาล และการป้องกันการเกิดโรคระบาดหลังภัยพิบัติ เช่น อุจจาระร่วง บิด เป็นต้น ทั้งนี้จะต้องปรับปรุงสภาพแหล่งน้ำกินน้ำใช้ให้สะอาด ปลอดภัย และมีส้วมใช้อย่างเพียงพอ โดยวอร์รูมฯ สธ.จะประสานข้อมูลกับทีมแพทย์ไทยทุกวัน เพื่อจัดส่งสิ่งสนับสนุนตามความต้องการอย่างเต็มที่" รมช.สธ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่