สธ. ชี้ไทยขยะล้น แต่กำจัดทิ้งอย่างถูกต้องแค่ 19% เหตุไม่แยกขยะ ทั้งที่หากแยกขยะแล้ว 90% สามารถนำไปใช้ต่อได้ เหลือขยะที่ต้องกำจัดเพียง 10% ช่วยประหยัดงบค่าขนส่งและค่ากำจัด ลดแหล่งกระจายโรค
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ปริมาณขยะของไทยเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2556 สูงถึง 27 ล้านตัน ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกสุขลักษณะ โดยมีมูลฝอยที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์เพียง 5.1 ล้านตัน หรือร้อยละ 19 เท่านั้น เนื่องจากยังขาดกระบวนการคัดแยกจากแหล่งกำเนิดอย่างจริงจัง ทำให้มีปริมาณมูลฝอยเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งขยะจากครัวเรือนแยกเป็น 4 ประเภท คือ 1. ขยะย่อยสลายได้หรือขยะอินทรีย์ 60% 2. ขยะนำกลับมาใช้ใหม่ 30% 3. ขยะทั่วไป 7% และ 4.ขยะอันตราย 3% ทั้งนี้ หากคัดแยกขยะออกมาจะสามารถใช้ประโยชน์ได้มากถึง 90% เหลือนำไปกำจัดขั้นสุดท้ายเพียง 10% เท่านั้น ซึ่งจะประหยัดทั้งค่าเก็บขนและค่ากำจัด แต่หากระบบการจัดการขยะไม่ถูกสุขลักษณะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนอาจเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อโรค
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า การแก้ปัญหาการจัดการขยะ สธ.โดยกรมอนามัยได้วาง 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1. จัดให้มีการคัดแยกตั้งแต่ครัวเรือน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์และจัดการตามประเภทขยะ ปัจจุบันมีหลายชุมชนคัดแยกแล้ว บางส่วนนำไปใช้ใหม่ นำไปรีไซเคิล เช่น ขยะย่อยสลายได้ประเภทเศษอาหาร เปลือกผลไม้ นำไปทำน้ำหมักชีวภาพ 2. การบังคับใช้กฎหมายเพื่อสนับสนุนการคัดแยก ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณและการคัดแยกขยะ 3. การสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการจัดการขยะให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อให้ใช้งบประมาณน้อยที่สุด และ 4. การควบคุมตรวจสอบอย่างจริงจัง โดยท้องถิ่นจะต้องมีการควบคุมอย่างจริงจังไม่ให้มีการลักลอบทิ้งขยะอันตรายจากอุตสาหกรรมรวมกับขยะทั่วไป
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การคัดแยกมูลฝอยเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่หรือการนำไปใช้ประโยชน์ จะช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดขั้นสุดท้ายน้อยมาก เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเก็บขนและกำจัดอีกด้วย และเป็นการรองรับการดำเนินงานของกฎกระทรวงว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการในการจัดการมูลฝอยทั่วไปที่จะมีการประกาศใช้ เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการ ทำให้การแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น รวมทั้งมีการนำขยะไปใช้ให้เกิดประโยชน์อีกด้วย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ปริมาณขยะของไทยเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2556 สูงถึง 27 ล้านตัน ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกสุขลักษณะ โดยมีมูลฝอยที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์เพียง 5.1 ล้านตัน หรือร้อยละ 19 เท่านั้น เนื่องจากยังขาดกระบวนการคัดแยกจากแหล่งกำเนิดอย่างจริงจัง ทำให้มีปริมาณมูลฝอยเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งขยะจากครัวเรือนแยกเป็น 4 ประเภท คือ 1. ขยะย่อยสลายได้หรือขยะอินทรีย์ 60% 2. ขยะนำกลับมาใช้ใหม่ 30% 3. ขยะทั่วไป 7% และ 4.ขยะอันตราย 3% ทั้งนี้ หากคัดแยกขยะออกมาจะสามารถใช้ประโยชน์ได้มากถึง 90% เหลือนำไปกำจัดขั้นสุดท้ายเพียง 10% เท่านั้น ซึ่งจะประหยัดทั้งค่าเก็บขนและค่ากำจัด แต่หากระบบการจัดการขยะไม่ถูกสุขลักษณะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนอาจเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อโรค
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า การแก้ปัญหาการจัดการขยะ สธ.โดยกรมอนามัยได้วาง 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1. จัดให้มีการคัดแยกตั้งแต่ครัวเรือน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์และจัดการตามประเภทขยะ ปัจจุบันมีหลายชุมชนคัดแยกแล้ว บางส่วนนำไปใช้ใหม่ นำไปรีไซเคิล เช่น ขยะย่อยสลายได้ประเภทเศษอาหาร เปลือกผลไม้ นำไปทำน้ำหมักชีวภาพ 2. การบังคับใช้กฎหมายเพื่อสนับสนุนการคัดแยก ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณและการคัดแยกขยะ 3. การสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการจัดการขยะให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อให้ใช้งบประมาณน้อยที่สุด และ 4. การควบคุมตรวจสอบอย่างจริงจัง โดยท้องถิ่นจะต้องมีการควบคุมอย่างจริงจังไม่ให้มีการลักลอบทิ้งขยะอันตรายจากอุตสาหกรรมรวมกับขยะทั่วไป
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การคัดแยกมูลฝอยเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่หรือการนำไปใช้ประโยชน์ จะช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดขั้นสุดท้ายน้อยมาก เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเก็บขนและกำจัดอีกด้วย และเป็นการรองรับการดำเนินงานของกฎกระทรวงว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการในการจัดการมูลฝอยทั่วไปที่จะมีการประกาศใช้ เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการ ทำให้การแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น รวมทั้งมีการนำขยะไปใช้ให้เกิดประโยชน์อีกด้วย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่