กพย. เผยร่าง พ.ร.บ. ยาฉบับใหม่ถูกตีกลับ หลังไม่ถูกดันเข้า ครม. เหตุไม่เอื้อเอกชน มีประเด็นให้เปิดเผยโครงสร้างราคายา ทำให้รู้ต้นทุน - ค้ากำไรยาเกินควรหรือไม่ หวั่นถูกตัดเหี้ยน จ่อทวงถาม รมว.สธ. เรื่องไม่คืบ
ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวถึงความคืบหน้าการผลักดันร่าง พ.ร.บ. ยาฉบับใหม่ ว่า ขณะนี้ทราบว่า ร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ ที่เสนอโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งมีการปรับปรุงบางมาตราจากการท้วงติงของภาคประชาชนและเภสัชกรทั่วประเทศนั้น ถูกตีกลับมายังกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) หลังจากที่เสนอต่อสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) และรองนายกรัฐมนตรี แต่กลับไม่มีการผลักดันให้เข้า ครม. โดยอ้างเหตุผลว่ามีการท้วงติงต่างๆ ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะว่าจะมีการปรับแก้ใหม่หรือไม่อย่างไร ซึ่งที่น่ากังวลคือมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะมีการตัดเนื้อหาประเด็นโครงสร้างราคายา ทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะทำให้ทราบต้นทุนการผลิตยาของบริษัทยาแต่ละแห่ง และทราบว่าราคายาเหมาะสมหรือไม่
“ปัจจุบันยาชนิดเดียวกันแต่มีราคาแตกต่างกัน ยิ่งในโรงพยาบาลเอกชนมีการจำหน่ายยาที่แพงมาก หากตัดเรื่องโครงสร้างราคายาออกไปแบบนี้จะไปสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และ สธ. ว่าจะลดความเหลื่อมล้ำในเรื่องสุขภาพได้อย่างไร นอกจากนี้ ร่าง พ.ร.บ.ยา ก็ไม่มีการพูดถึงการควบคุมเรื่องการส่งเสริมการขาย ทั้งที่ปัจจุบันบริษัทยาออกกลยุทธ์การส่งเสริมการขายมาก แต่กลับไม่มีการควบคุมดูแล และการเยียวยาผลกระทบจากการใช้ยาก็ไม่มีการพูดถึง ทั้งที่ควรมีการจัดตั้งเป็นกองทุนเยียวยา เพราะในต่างประเทศก็มีการทำกัน” ภญ.นิยดา กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ กพย. และภาคประชาชนต่างจับตามองว่า ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สธ. จะเดินหน้าเรื่องนี้อย่างไร เพราะดูเหมือนจะไม่มีความคืบหน้าเลย ซึ่งพวกตนเตรียมจะทำหนังสือทวงถามไปยัง รมว.สธ. เร็วๆ นี้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวถึงความคืบหน้าการผลักดันร่าง พ.ร.บ. ยาฉบับใหม่ ว่า ขณะนี้ทราบว่า ร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ ที่เสนอโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งมีการปรับปรุงบางมาตราจากการท้วงติงของภาคประชาชนและเภสัชกรทั่วประเทศนั้น ถูกตีกลับมายังกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) หลังจากที่เสนอต่อสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) และรองนายกรัฐมนตรี แต่กลับไม่มีการผลักดันให้เข้า ครม. โดยอ้างเหตุผลว่ามีการท้วงติงต่างๆ ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะว่าจะมีการปรับแก้ใหม่หรือไม่อย่างไร ซึ่งที่น่ากังวลคือมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะมีการตัดเนื้อหาประเด็นโครงสร้างราคายา ทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะทำให้ทราบต้นทุนการผลิตยาของบริษัทยาแต่ละแห่ง และทราบว่าราคายาเหมาะสมหรือไม่
“ปัจจุบันยาชนิดเดียวกันแต่มีราคาแตกต่างกัน ยิ่งในโรงพยาบาลเอกชนมีการจำหน่ายยาที่แพงมาก หากตัดเรื่องโครงสร้างราคายาออกไปแบบนี้จะไปสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และ สธ. ว่าจะลดความเหลื่อมล้ำในเรื่องสุขภาพได้อย่างไร นอกจากนี้ ร่าง พ.ร.บ.ยา ก็ไม่มีการพูดถึงการควบคุมเรื่องการส่งเสริมการขาย ทั้งที่ปัจจุบันบริษัทยาออกกลยุทธ์การส่งเสริมการขายมาก แต่กลับไม่มีการควบคุมดูแล และการเยียวยาผลกระทบจากการใช้ยาก็ไม่มีการพูดถึง ทั้งที่ควรมีการจัดตั้งเป็นกองทุนเยียวยา เพราะในต่างประเทศก็มีการทำกัน” ภญ.นิยดา กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ กพย. และภาคประชาชนต่างจับตามองว่า ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สธ. จะเดินหน้าเรื่องนี้อย่างไร เพราะดูเหมือนจะไม่มีความคืบหน้าเลย ซึ่งพวกตนเตรียมจะทำหนังสือทวงถามไปยัง รมว.สธ. เร็วๆ นี้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่