จี้รัฐบาลทบทวน 1.5 หมื่นล้าน สร้างโรงงานยาสูบใหม่ ชี้ควรผ่านกฎหมายควบคุมยาสูบมากกว่าทุ่มเงินเพิ่มประสิทธิภาพผลิตยาเสพติด หวั่นรัฐหลงกลอุตสาหกรรมยาสูบ พร้อมตั้งคำถามประชาชนเสียชีวิตจากบุหรี่ปีละ 50,000 คน ยังไม่พออีกหรือ
เมื่อวันที่ 26 เมษายน นายคำรณ ชูเดชา ที่ปรึกษาเครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง แกนนำคนสำคัญในการผลักดัน พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 กล่าวถึงกรณีมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กระทรวงการคลังสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่ด้วยงบประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท ว่า ที่ผ่านมา ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ และกระทรวงสาธารณสุข พยายามผลักดันร่างพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ ที่มีเจตนารมณ์ในการคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากภัยบุหรี่ และข้อสำคัญคือ การปกป้องเด็กและเยาวชน แต่การตั้งโรงงานยาสูบจึงเป็นเหมือนเหรียญสองด้านที่มีเจตนารมณ์ต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะต้องไม่ลืมว่าเด็กและเยาวชนไทย ตอนนี้สูบบุหรี่มากกว่า 1.6 ล้านคน และเด็กที่ติดบุหรี่มีความเสี่ยงนำไปสู่ยาเสพติดชนิดอื่นอีก 10 เท่า
“เป็นเรื่องน่าเศร้าใจที่รัฐบาลชุดนี้กลับเลือกที่จะให้ความสำคัญกับการสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่อย่างรวดเร็ว ทั้งที่โรงงานยาสูบพยายามเสนอเรื่องนี้กับทุกรัฐบาล แต่ก็ไม่มีรัฐบาลไหนให้ความเห็นชอบ ซึ่งในสมัย พลเอก เปรม เป็นนายกรัฐมนตรี ก่อนจะให้งบประมาณกับโรงงานยาสูบ ก็ได้ออกมาตรการควบคุม เพราะห่วงใยในสุขภาพประชาชน แต่รัฐบาลปัจจุบันกลับเลือกที่จะทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม นั้นหมายความว่าประสิทธิภาพในการผลิตและพัฒนากระบวนการต่างๆของโรงงานยาสูบก็จะสูงขึ้น สิ่งที่จะตามมาย่อมเป็นความเจ็บป่วยและล้มตายของประชาชน ซึ่งทุกวันนี้มีคนไทยเสียชีวิตจากบุหรี่มากกว่า 50,000 คนต่อปี ยังไม่นับรวมคนป่วย และผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพอีกมหาศาล ซึ่งเมื่อคิดเป็นมูลค่าที่รัฐต้องจ่าย รวมทั้งการเสียโอกาสสร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า52,000 ล้านบาท ต่อปี” นายคำรณ กล่าว
ที่ปรึกษาเครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง กล่าวด้วยว่า ขอตั้งคำถามว่า ทั้งชีวิตและมูลค่าความสูญเสียดังกล่าวยังไม่พออีกหรือ รัฐบาลไม่ควรลังเลอีกต่อไป ในการเร่งผ่านร่าง พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฉบับใหม่ เพราะแค่ไฟเขียวสร้างโรงงานยาสูบก่อนมีมาตรการควบคุม ก็ถือเป็นความเสียหายมากพอแล้ว และอยากขอร้องบริษัทยาสูบข้ามชาติให้ยุติการแทรกแซง พ.ร.บ. ฉบับนี้ ขอให้ยุติการจัดตั้งนอมินีออกมาเคลื่อนไหว อ้างกระทบชาวไร่ยาสูบและผู้ค้ารายย่อย เพราะเป็นการบิดเบือนข้อมูล และเป็นไปเพื่อรักษาประโยชน์ของอุตสาหกรรมยาสูบทั้งสิ้น โดยเครือข่ายภาคประชาชนที่เคยร่วมกันผลักดัน พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะจับมือกับเครือข่ายที่ทำงานต้านบุหรี่ เพื่อต่อสู้กับอุตสาหกรรมยาสูบในทุกรูปแบบ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
เมื่อวันที่ 26 เมษายน นายคำรณ ชูเดชา ที่ปรึกษาเครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง แกนนำคนสำคัญในการผลักดัน พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 กล่าวถึงกรณีมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กระทรวงการคลังสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่ด้วยงบประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท ว่า ที่ผ่านมา ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ และกระทรวงสาธารณสุข พยายามผลักดันร่างพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ ที่มีเจตนารมณ์ในการคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากภัยบุหรี่ และข้อสำคัญคือ การปกป้องเด็กและเยาวชน แต่การตั้งโรงงานยาสูบจึงเป็นเหมือนเหรียญสองด้านที่มีเจตนารมณ์ต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะต้องไม่ลืมว่าเด็กและเยาวชนไทย ตอนนี้สูบบุหรี่มากกว่า 1.6 ล้านคน และเด็กที่ติดบุหรี่มีความเสี่ยงนำไปสู่ยาเสพติดชนิดอื่นอีก 10 เท่า
“เป็นเรื่องน่าเศร้าใจที่รัฐบาลชุดนี้กลับเลือกที่จะให้ความสำคัญกับการสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่อย่างรวดเร็ว ทั้งที่โรงงานยาสูบพยายามเสนอเรื่องนี้กับทุกรัฐบาล แต่ก็ไม่มีรัฐบาลไหนให้ความเห็นชอบ ซึ่งในสมัย พลเอก เปรม เป็นนายกรัฐมนตรี ก่อนจะให้งบประมาณกับโรงงานยาสูบ ก็ได้ออกมาตรการควบคุม เพราะห่วงใยในสุขภาพประชาชน แต่รัฐบาลปัจจุบันกลับเลือกที่จะทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม นั้นหมายความว่าประสิทธิภาพในการผลิตและพัฒนากระบวนการต่างๆของโรงงานยาสูบก็จะสูงขึ้น สิ่งที่จะตามมาย่อมเป็นความเจ็บป่วยและล้มตายของประชาชน ซึ่งทุกวันนี้มีคนไทยเสียชีวิตจากบุหรี่มากกว่า 50,000 คนต่อปี ยังไม่นับรวมคนป่วย และผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพอีกมหาศาล ซึ่งเมื่อคิดเป็นมูลค่าที่รัฐต้องจ่าย รวมทั้งการเสียโอกาสสร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า52,000 ล้านบาท ต่อปี” นายคำรณ กล่าว
ที่ปรึกษาเครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง กล่าวด้วยว่า ขอตั้งคำถามว่า ทั้งชีวิตและมูลค่าความสูญเสียดังกล่าวยังไม่พออีกหรือ รัฐบาลไม่ควรลังเลอีกต่อไป ในการเร่งผ่านร่าง พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฉบับใหม่ เพราะแค่ไฟเขียวสร้างโรงงานยาสูบก่อนมีมาตรการควบคุม ก็ถือเป็นความเสียหายมากพอแล้ว และอยากขอร้องบริษัทยาสูบข้ามชาติให้ยุติการแทรกแซง พ.ร.บ. ฉบับนี้ ขอให้ยุติการจัดตั้งนอมินีออกมาเคลื่อนไหว อ้างกระทบชาวไร่ยาสูบและผู้ค้ารายย่อย เพราะเป็นการบิดเบือนข้อมูล และเป็นไปเพื่อรักษาประโยชน์ของอุตสาหกรรมยาสูบทั้งสิ้น โดยเครือข่ายภาคประชาชนที่เคยร่วมกันผลักดัน พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะจับมือกับเครือข่ายที่ทำงานต้านบุหรี่ เพื่อต่อสู้กับอุตสาหกรรมยาสูบในทุกรูปแบบ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่