สำรวจพบร้านค้าปลีกรู้ดีห้ามขายบุหรี่เด็กต่ำกว่า 18 ปี และห้ามโฆษณา ณ จุดขาย ส่วนใหญ่ปฏิบัติตามกฎหมาย พบ 6% สงสัยขายบุหรี่ให้เด็ก ชง "พาณิชย์" จับมือร้านค้าปลีก เพิ่มช่องทางขายสินค้าประเภทอื่นที่สร้างรายได้มากกว่าบุหรี่
ทพญ.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า จากการสำรวจร้านค้าปลีกในไทย ปี 2557 ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) 10 แห่ง ในเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ประเด็นการห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบของร้านค้าปลีกต่อเด็กที่มีอายุ 15 -18 ปี และการห้ามโฆษณา ณ จุดขาย โดยสุ่มตัวอย่างร้านค้าจำนวน 1,337 ร้าน ใน 10 จังหวัด พบว่า ร้อยละ 90 เจ้าของร้านค้าปลีกมีการรับรู้อย่างถูกต้องว่า การขายบุหรี่แก่ผู้ที่อายุไม่ครบ 18 ปี เป็นสิ่งผิดกฎหมาย ร้อยละ 77 รับรู้ถูกต้องว่า การวางซองบุหรี่ให้เห็นผ่านตู้โชว์และเห็นยี่ห้อถือเป็นการโฆษณาบุหรี่ซึ่งผิดกฎหมาย ส่วนผลการปฏิบัติตามกฎหมาย พบว่า ร้านค้าปลีกประมาณ 2 ใน3 ปฏิบัติตามไม่โชว์ยี่ห้อ ณ จุดขาย และในช่วง 30 นาทีที่เฝ้าสังเกตพบผู้ที่อาจมีอายุต่ำกว่า 18 ปีมาซื้อบุหรี่ แต่ผู้ขายไม่ได้ถามอายุหรือขอดูบัตรประชาชนจำนวน 77 ร้าน จากทั้งหมด 1,337 ร้าน
"ผลการวิเคราะห์ประมาณได้ว่า รายได้จากการขายบุหรี่ให้ผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี อยู่ที่เฉลี่ย 900 บาทต่อเดือนต่อร้าน นอกจากนี้ การวิจัยครั้งนี้ยังได้มีการสำรวจถึงสถานการณ์ในการขายบุหรี่ซองหรือยาเส้นมวนเองของร้านค้าปลีก ในระยะเวลา 1 เดือน พบว่า มีการขายบุหรี่ซองที่ผลิตในประเทศ ขายได้ 131 ซอง ราคาเฉลี่ยซองละ 54 บาท การขายบุหรี่ซองที่นำเข้า ขายได้ 91 ซอง ราคาเฉลี่ยซองละ 69 บาท และการขายยาเส้น ขายได้ 93 ซอง ราคาเฉลี่ยซองละ 8 บาท โดยรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกชนิดเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 9,214 บาทต่อร้าน" ทพญ.ศิริวรรณ กล่าว
ทพญ.ศิริวรรณ กล่าวว่า ขณะที่ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณ์ฑยาสูบฉบับใหม่ มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับร้านค้าปลีกเพิ่มเติมจากเดิมสองเรื่อง คือการเพิ่มอายุผู้ซื้อเป็น 20 ปี และ การห้ามขายแยกมวน ซึ่งร้านค้าปลีกส่วนใหญ่ปฏิบัติตามกฎหมายอยู่แล้ว จะมีเพียงส่วนน้อยที่ยังคงกังวลเรื่องการเสียรายได้ จึงขอเชิญชวนกระทรวงพาณิชย์จับมือร้านค้าปลีก เพื่อเพิ่มช่องทางขายสินค้าประเภทอื่น ที่ร้านค้าปลีกสามารถสร้างรายได้มากกว่าขายบุหรี่ให้กับเด็ก
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ทพญ.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า จากการสำรวจร้านค้าปลีกในไทย ปี 2557 ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) 10 แห่ง ในเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ประเด็นการห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบของร้านค้าปลีกต่อเด็กที่มีอายุ 15 -18 ปี และการห้ามโฆษณา ณ จุดขาย โดยสุ่มตัวอย่างร้านค้าจำนวน 1,337 ร้าน ใน 10 จังหวัด พบว่า ร้อยละ 90 เจ้าของร้านค้าปลีกมีการรับรู้อย่างถูกต้องว่า การขายบุหรี่แก่ผู้ที่อายุไม่ครบ 18 ปี เป็นสิ่งผิดกฎหมาย ร้อยละ 77 รับรู้ถูกต้องว่า การวางซองบุหรี่ให้เห็นผ่านตู้โชว์และเห็นยี่ห้อถือเป็นการโฆษณาบุหรี่ซึ่งผิดกฎหมาย ส่วนผลการปฏิบัติตามกฎหมาย พบว่า ร้านค้าปลีกประมาณ 2 ใน3 ปฏิบัติตามไม่โชว์ยี่ห้อ ณ จุดขาย และในช่วง 30 นาทีที่เฝ้าสังเกตพบผู้ที่อาจมีอายุต่ำกว่า 18 ปีมาซื้อบุหรี่ แต่ผู้ขายไม่ได้ถามอายุหรือขอดูบัตรประชาชนจำนวน 77 ร้าน จากทั้งหมด 1,337 ร้าน
"ผลการวิเคราะห์ประมาณได้ว่า รายได้จากการขายบุหรี่ให้ผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี อยู่ที่เฉลี่ย 900 บาทต่อเดือนต่อร้าน นอกจากนี้ การวิจัยครั้งนี้ยังได้มีการสำรวจถึงสถานการณ์ในการขายบุหรี่ซองหรือยาเส้นมวนเองของร้านค้าปลีก ในระยะเวลา 1 เดือน พบว่า มีการขายบุหรี่ซองที่ผลิตในประเทศ ขายได้ 131 ซอง ราคาเฉลี่ยซองละ 54 บาท การขายบุหรี่ซองที่นำเข้า ขายได้ 91 ซอง ราคาเฉลี่ยซองละ 69 บาท และการขายยาเส้น ขายได้ 93 ซอง ราคาเฉลี่ยซองละ 8 บาท โดยรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกชนิดเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 9,214 บาทต่อร้าน" ทพญ.ศิริวรรณ กล่าว
ทพญ.ศิริวรรณ กล่าวว่า ขณะที่ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณ์ฑยาสูบฉบับใหม่ มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับร้านค้าปลีกเพิ่มเติมจากเดิมสองเรื่อง คือการเพิ่มอายุผู้ซื้อเป็น 20 ปี และ การห้ามขายแยกมวน ซึ่งร้านค้าปลีกส่วนใหญ่ปฏิบัติตามกฎหมายอยู่แล้ว จะมีเพียงส่วนน้อยที่ยังคงกังวลเรื่องการเสียรายได้ จึงขอเชิญชวนกระทรวงพาณิชย์จับมือร้านค้าปลีก เพื่อเพิ่มช่องทางขายสินค้าประเภทอื่น ที่ร้านค้าปลีกสามารถสร้างรายได้มากกว่าขายบุหรี่ให้กับเด็ก
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่