xs
xsm
sm
md
lg

คุณรู้ไหมว่า การนอนหลับส่งผลต่อการเรียนรู้ของ “สมองลูก” มากขนาดไหน?

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เพราะสมองของลูกไม่เคยหยุดที่จะเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน งานวิจัยเผยกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ลูกน้อยมีการเรียนรู้และจดจำที่ดี นอกจากในช่วงกลางวันที่คุณพ่อคุณแม่จะปล่อยให้ลูกเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวแล้ว สิ่งสำคัญไม่แพ้กันคือ “การนอนหลับอย่างเพียงพอทั้งกลางวันและกลางคืน” และการได้รับโปรตีนคุณภาพสูง “แอลฟา-แล็คตัลบูมิน” จากนมแม่

การนอนมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อทารกและเด็กเล็ก และไม่ได้เป็นเพียงการพักผ่อนทั่วไปเหมือนผู้ใหญ่ที่หากนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็จะมีอาการอ่อนเพลีย สมองไม่ปลอดโปร่ง แต่สำหรับเด็กทารก และเด็กเล็ก หากนอนไม่เพียงพอ นอกจากจะมีอาการหงุดหงิด ร้องไห้กระจองอแง หรือ อาละวาดแล้ว การนอนไม่พออาจส่งผลต่อการเรียนรู้ การจดจำของเด็กๆ ไปจนถึงปิดกั้นการสื่อสารระหว่างเซลล์สมองอีกด้วย

มีงานวิจัยจากต่างประเทศพบว่า คลื่นสมองของเด็กระหว่างตื่นนอนและยามหลับมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก โดยสมองของเด็กจะตื่นตัวและพร้อมเรียนรู้ตลอดเวลาแม้ยามหลับ นักวิจัยได้ทำการวัดคลื่นสมองของเด็กวัยเพียง 10-20 สัปดาห์ ระหว่างนอนหลับพบว่า คลื่นสมองจะไม่อยู่นิ่งเลย หากเป็นการนอนหลับในช่วงกลางวัน ภายในครึ่งชั่วโมงทารกตัวน้อยจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายเฉลี่ยแล้ว 10.5 นาที และหากเป็นช่วงกลางคืน ทารกจะเคลื่อนไหวมากถึง 24.4 นาทีเลยทีเดียว

เพื่อช่วยให้การนอนหลับของลูกน้อย เป็นการนอนหลับที่พร้อมสำหรับการเรียนรู้ในเวลาตื่น และทำให้เซลล์ประสาทเจริญเต็มที่เพื่อเตรียมพร้อมเรียนรู้และทำกิจกรรมต่างๆ ในขณะที่ตื่นในแต่ละวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจเรื่องการเตรียมสภาพแวดล้อม และโภชนาการที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้สมองลูกได้รับสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างและพัฒนาการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น

จากการศึกษาพบว่า เด็กทารกแรกเกิดมักจะมีการตื่นบ่อย ทุกๆ 20 นาที ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถลดการตื่นบ่อย เพิ่มการนอนหลับให้นานขึ้นได้ เพียงแค่ให้ลูกได้ทานนมแม่นานขึ้นก่อนนอนนั่นเอง เพราะนมแม่มี แอลฟา-แล็คตัลบูมิน ซึ่งเป็นโปรตีนคุณภาพสูงที่ให้กรดอะมิโนจำเป็น ชื่อ “ทริปโตเฟน” ที่เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาท ช่วยในการสื่อสารของเซลล์ประสาทและการทำงานของสมอง และยังมีส่วนช่วยในควบคุมการนอนหลับ โดยร่นระยะเวลานอน ให้หลับเร็วขึ้น [1] นอกจากนี้ นมแม่ยังอุดมด้วยสารอาหารที่มีคุณค่ามากมาย อาทิ ธาตุเหล็ก ไอโอดีน เป็นต้น

ขณะเดียวกัน มีงานวิจัยศึกษาพฤติกรรมการนอนของทารกวัย 3 เดือนที่ดื่มนมแม่ จำนวนทั้งสิ้น 16 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกกินนมแม่อย่างเดียว กลุ่มที่ 2 กินนมผสมอย่างเดียว พบว่า เด็กที่ทานนมแม่จะมีการหลับได้ดีกว่า โดยสามารถใช้เวลาเพียง 30 นาทีก็หลับได้ ขณะที่เด็กกินนมผสมใช้เวลาก่อนจะหลับนานกว่า [2] นอกจากนี้ American Journal of Clinical Nutrition ยังเคยตีพิมพ์ด้วยว่า จากการศึกษาการทำงานของแอลฟา-แล็คตัลบูมินในผู้ใหญ่ พบว่า แอลฟา-แล็คตัลบูมิน สามารถช่วยเรื่องความจำ และลดปัญหาการนอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการสมองที่ดี และเรียนรู้ได้ไว คุณพ่อคุณแม่ควรเสริมการเรียนรู้และพัฒนาสมองตามวัยของเด็ก รวมทั้งเข้าใจลูก ว่าเด็กอาจมีความแตกต่างกันในพื้นฐานของอารมณ์ความถนัด ซึ่งนอกจากการชวนลูกทำกิจกรรมที่จะช่วยพัฒนาสมองทั้งสองข้างแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญกับการนอนหลับที่เพียงพอของลูก ซึ่งการนอนโดยเฉลี่ยของเด็กปฐมวัยนั้นอยู่ที่ราว 12-14 ชั่วโมงต่อวัน [3]

Tips สารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองไวลูกน้อย

แอลฟา-แล็คตัลบูมิน : เป็นโปรตีนคุณภาพสูง พบในน้ำนมแม่ ย่อยง่าย และให้กรดอะมิโนจำเป็น ที่ช่วยในการเจริญเติบโตและพัฒนาสมอง ซึ่ง “ทริปโตเฟน” เป็นหนึ่งในกรดอะมิโนจำเป็นที่เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาท คือ “เซราโตนิน” ซึ่งช่วยในการควบคุมการนอนหลับ และกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาสติปัญญา เมื่อร่างกายได้รับแอลฟา-แล็คตัลบูมินเข้าไป จะให้กรดอะมิโนชื่อ ทริปโตเฟน เป็นหนึ่งในกรดอะมิโนจำเป็นที่ ช่วยในการนอน โดยร่นระยะเวาลานอน ให้หลับเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังมีสารอาหารอื่นๆ ที่สำคัญสำหรับสมองอีก ได้แก่ ไอโอดีนและธาตุเหล็ก เป็นต้น

ดีเอชเอ ลูทีน โคลีน : เป็นสารอาหารที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและเสริมสร้างการทำงานของสมอง เด็กๆ จึงควรได้รับสารอาหารเหล่านี้ในชีวิตประจำวันเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการและการทำงานของสมอง

จะเห็นได้ว่า สมองลูกต้องการการนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มอิ่ม และการได้รับสารอาหารที่หลากหลาย คุณแม่ควรเน้นสารอาหารที่ดีมีประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็น ดีเอชเอ แอลฟา-แล็คตัลบูมิน โคลีน ลูทีน เพื่อช่วยเสริมสร้างการทำงานและพัฒนาการของสมองลูก ให้เกิดการเรียนรู้ได้ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อให้ลูกพร้อมรับและก้าวไวทันโลก

ข้อมูลอ้างอิง :
[1] Steiberg LA, O’Connell NC, Hatch TF, Picciano MF, Birch LL. Tryptophan intakes influences infants’ sleep latency 1992. J. Nutr: 122(9); 1781-91
[2] J. Cubero1, V. Valero1, J. Sánchez2, M. Rivero3, H. Parvez1, A. B. Rodríguez1 & C. Barriga, The circadian rhythm of tryptophan in breast milk affects the rhythms of 6-sulfatoxymelatonin and sleep in newborn 2005

[3] Zeisel SH. Choline: Needed for Normal Development of Memory. Journal of the American College of Nutrition 2000: 19 (5); 528s-531s

(พื้นที่ประชาสัมพันธ์)

กำลังโหลดความคิดเห็น