สธ.เตรียมให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนด้านสาธารณสุข 3 ด้าน ชี้เป็นเรื่องใหม่ ต้องศึกษารอบคอบ ลดการลงทุนภาครัฐ แต่เพิ่มประสิทธิภาพให้บริการประชาชน เตรียมศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นใน รพ. 27 แห่ง คาดเสร็จสิ้นปี 2558 สรุปผลได้
นพ.อำนวย กาจีนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า นโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public-Private Partnership : PPP) ที่ผ่านมาจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับด้านสาธารณูปโภค เช่น การคมนาคมขนส่งและการสื่อสาร ส่วนด้านสาธารณสุขถือว่ายังเป็นเรื่องใหม่ การให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาบริการสุขภาพประชาชนจึงต้องเป็นไปอย่างรอบคอบ นั่นคือ จะต้องช่วยลดงบประมาณการลงทุนในภาครัฐ แต่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดบริการแก่ประชาชนได้ โดยการส่งเสริมการร่วมลงทุน การใช้ทรัพยากรและบุคลากรร่วมกัน โดยมีข้อตกลงที่รัดกุมและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย มุ่งพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านบริการสุขภาพที่ยั่งยืน ไม่เพิ่มภาระแก่ประชาชน
"เบื้องต้น สธ.ได้เตรียมศึกษาการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนใน 3 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข เช่น โครงการสร้างหอผู้ป่วยพิเศษและอาคารจอดรถ 2.ด้านการบริหารจัดการครุภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ มี 2 โครงการ คือ โครงการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์การตรวจทางรังสีวินิจฉัยที่มีราคาแพง เช่น เครื่องซีทีสแกน (CT Scan) เครื่องตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) และโครงการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์การตรวจทางห้องปฏิบัติการสำหรับเครือข่ายบริการสุขภาพ และ 3.ด้านการจัดบริการเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ" รองปลัด สธ. กล่าว
นพ.อำนวย กล่าวว่า สธ.ได้เตรียมศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นในพื้นที่นำร่อง โดยได้เชิญโรงพยาบาลที่มีความสนใจและมีศักยภาพในสังกัด สป.สธ.จำนวน 27 แห่ง และตัวแทนโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์เข้าร่วมหารือ คาดว่าจะใช้เวลา 6 เดือน จึงแล้วเสร็จ และรายงานผลการศึกษาได้ภายใน ธ.ค.2558 ทั้งนี้ การศึกษาดังกล่าวจะดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 โดยเฉพาะหลักเกณฑ์และวิธีการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการที่มีวงเงินมูลค่าต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ที่ออกตามมาตรา 58 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 เม.ย.ที่ผ่านมา
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.อำนวย กาจีนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า นโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public-Private Partnership : PPP) ที่ผ่านมาจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับด้านสาธารณูปโภค เช่น การคมนาคมขนส่งและการสื่อสาร ส่วนด้านสาธารณสุขถือว่ายังเป็นเรื่องใหม่ การให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาบริการสุขภาพประชาชนจึงต้องเป็นไปอย่างรอบคอบ นั่นคือ จะต้องช่วยลดงบประมาณการลงทุนในภาครัฐ แต่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดบริการแก่ประชาชนได้ โดยการส่งเสริมการร่วมลงทุน การใช้ทรัพยากรและบุคลากรร่วมกัน โดยมีข้อตกลงที่รัดกุมและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย มุ่งพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านบริการสุขภาพที่ยั่งยืน ไม่เพิ่มภาระแก่ประชาชน
"เบื้องต้น สธ.ได้เตรียมศึกษาการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนใน 3 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข เช่น โครงการสร้างหอผู้ป่วยพิเศษและอาคารจอดรถ 2.ด้านการบริหารจัดการครุภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ มี 2 โครงการ คือ โครงการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์การตรวจทางรังสีวินิจฉัยที่มีราคาแพง เช่น เครื่องซีทีสแกน (CT Scan) เครื่องตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) และโครงการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์การตรวจทางห้องปฏิบัติการสำหรับเครือข่ายบริการสุขภาพ และ 3.ด้านการจัดบริการเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ" รองปลัด สธ. กล่าว
นพ.อำนวย กล่าวว่า สธ.ได้เตรียมศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นในพื้นที่นำร่อง โดยได้เชิญโรงพยาบาลที่มีความสนใจและมีศักยภาพในสังกัด สป.สธ.จำนวน 27 แห่ง และตัวแทนโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์เข้าร่วมหารือ คาดว่าจะใช้เวลา 6 เดือน จึงแล้วเสร็จ และรายงานผลการศึกษาได้ภายใน ธ.ค.2558 ทั้งนี้ การศึกษาดังกล่าวจะดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 โดยเฉพาะหลักเกณฑ์และวิธีการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการที่มีวงเงินมูลค่าต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ที่ออกตามมาตรา 58 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 เม.ย.ที่ผ่านมา
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่