เราคงเคยได้ยินมาก่อนแล้วว่าการใช้สื่อเทคโนโลยีที่เป็นจอภาพก่อนนอน มีผลในการรบกวนการนอนหลับในเวลากลางคืน แต่ในงานวิจัยชิ้นล่าสุดกล่าวว่าการใช้สื่อเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถนำมาถึงปัญหาที่ร้ายแรงกว่าที่เราคิด
การใช้เวลาก่อนนอนโดยการเล่น iPad ไม่เพียงแต่ทำให้นอนหลับยากเท่านั้น แต่ยังส่งผลทำให้ง่วงเหงาหาวนอนและอ่อนกำลังในวันถัดไปอีกด้วย จากงานวิจัยของ Brigham และ Women’s Hospital ในบอสตันรัฐ แมสซาซูเซตส์ ที่ได้ลงพิมพ์ในวารสาร National Academy of Sciences กล่าวว่า การใช้ แล็บท็อป สมาร์ทโฟน อีรีดเดอร์ หรือทีวีบางประเภทก่อนนอนมีผลโดยตรงต่อผู้ใช้
งานวิจัยนี้สอดคล้องกับผลสรุปของงานวิจัยชิ้นเก่าๆ ซึ่งพบตรงกันว่าการใช้จอภาพก่อนนอนเป็นอันตราย ดร.แอนนี่ มาเรีย แชง กล่าวว่าเรารู้มาก่อนแล้วว่าแสงจากจอภาพในความมืดทำให้เราตื่นตัวและส่งผลต่อการนอน และระดับเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากสารเซโรโทนิน ที่เซลล์ไพเนียล ซึ่งอยู่ในต่อมไพเนียล เป็นส่วนหนึ่งของสมองส่วนกลาง และช่วยการกระตุ้นการปรับเปลี่ยนระบบการทำงานของร่างกาย
งานวิจัยนี้ครอบคลุม เรื่องการศึกษาเปรียบเทียบโดยตรงระหว่างการอ่านแสงจากจอภาพ เปรียบเทียบกับการอ่านหนังสือที่พิมพ์ออกมาให้เห็นว่ามีผลต่อการนอนอย่างไร หากเราไม่ต้องการเป็นเหมือนมนุษย์ซอมบี้ หรือครึ่งผีครึ่งคน ในระหว่างวันทำงานในวันรุ่งขึ้นให้เราหลีกเลี่ยงการอ่านจากจอภาพ แต่ในกรณีที่ เราต้องการกระตุ้นจิตใจก่อนนอนโดยการอ่าน ให้เราอ่านจากหนังสือหรือเรื่องที่พิมพ์ออกมาดีกว่าการอ่านจากจอภาพ หลายคนใช้ชีวิตกับ iPad สมาร์ทโฟน ทีวี เหมือนเป็นเพื่อนก่อนนอนและติดมากเหมือนเป็นคนรัก หรือสัตว์เลี้ยงแสนรักที่ขาดไม่ได้ การกระทำเหล่านี้ส่งผลให้มีการนอนที่ไม่เพียงพอ และนอกจากจะส่งผลต่อสุขภาพด้านอื่น เช่น โรคอ้วน เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ ไขมันในเส้นเลือด และระดับฮอร์โมน เมลาโทนินที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังจะส่งผลที่ก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นด้วย เพราะการนอนหลับพักผ่อน เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญยิ่งสำหรับร่างกาย การศึกษาจากการวิจัยโดยละเอียด โดยให้ผู้ทดลอง 12 คนอ่านโดยใช้ iPad ก่อนนอน 4 ชั่วโมงเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน แล้วหลังจากนั้นให้อ่านจากหนังสือ 4 ชั่วโมงเป็นเวลา 2 สัปดาห์เท่ากัน กับอีกกลุ่มหนึ่งอ่านหนังสือก่อนแล้วไปอ่าน iPad โดยใช้เวลาเท่าๆ กัน ผลปรากฏว่า ผู้ที่อ่านจากจอภาพหรือ iPad ใช้เวลาในการนอนยากกว่าจากการอ่านหนังสือ และมีความรู้สึกไม่ง่วงนอน รวมทั้งมีการนอนหลับที่ลึกยากกว่า เปรียบเทียบกับกลุ่มที่อ่านหนังสือ และกลุ่มที่อ่านจาก iPad ยังมีฮอร์โมนเมลาโทนินที่ช่วยกระตุ้นให้น้อยหลับน้อยกว่า เหนื่อยง่ายในวันรุ่งขึ้นมากกว่ากลุ่มที่อ่านหนังสือ ทั้งๆ ที่นอน 8 ชั่วโมงเต็มเหมือนกัน ทั้งนี้เพราะการจ้องจอภาพเป็นเวลานานแสงจากจอภาพ เป็นตัวการกระตุ้นสมองให้ตื่นตัว ในการทำงานซึ่งส่งผลเสียต่อการนอนหลับพักผ่อน
แต่ในกรณีที่เรามีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือสื่อสารเทคโนโลยีต่างๆ ก่อนนอน เราควรหาวิธีที่ปลอดภัยป้องกัน เช่น การจำกัดแสงสีฟ้า (Blue Light) จากจอภาพที่เราจ้องมอง โดยการใส่แว่นตา หรือวิธีอื่นๆ เพราะแสงเหล่านี้เป็นผลเสียต่อสายตาและการทำงานของสมองให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา แต่ทางที่ดีที่สุด คือ พยายามหลีกเลี่ยงการใช้สายตาจากการทำงานผ่านจอภาพในเวลาก่อนนอน
การติดจอภาพ โดยใช้ให้เป็นเพื่อนแก้เหงา การติดต่อทางสังคม ทราบข่าวสารหรือทำงานต่างๆ ในเวลากลางคืนอาจไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพอีกต่อไป ดังนั้น การรักษาสุขภาพที่ดี จะเป็นวิธีที่ฉลาดและทำให้เรามีความสุขในชีวิตมากกว่าความสุขชั่วคราว เป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวเสมอค่ะ
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.huffingtonpost.com/2014/12/23/reading-before-bed_n_6372828.html
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่