xs
xsm
sm
md
lg

เสริมพลังหลังออกกำลังกาย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ดร.คุณัตว์ พิธพรชัยกุล
ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา


การออกกำลังกายเป็นการดูแลสุขภาพที่ช่วยเสริมสมรรถภาพร่างกาย เพิ่มความแข็งแกร่งและสร้างภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้ผู้รักการออกกำลังกายจะต้องเข้าใจพื้นฐานและมีการเตรียมพร้อมที่ดี เพื่อให้การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน และช่วยลดอันตรายในระหว่างการออกกำลังกาย

หลักการออกกำลังกาย ประกอบด้วย
-ความถี่ (Frequency) ควรออกกำลังกายให้ครบทุกส่วน ปฏิบัติ 10-15 ครั้งต่อเที่ยว และ 3-5 เที่ยวต่อชุด
- ระดับ (Intensity) ควรเริ่มจากจำนวนน้อยไปหามาก จากความหนักเบาระดับต่ำไปสู่ระดับส่ง
-เวลา (Time) ควรออกกำลังกาย อย่างน้อย 20-60 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง สำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ ไม่ควร
ออกกำลังกายหักโหม ค่อยๆ เพิ่มเวลาขึ้นอย่างช้าๆ อย่างต่อเนื่อง

ขั้นตอนการออกกำลังกาย แบ่งเป็น 3 ช่วงหลักๆ ดังนี้
-ช่วงอบอุ่นร่างกาย (Warm Up) ใช้เวลา 5-10 นาที ด้วยการบริหารกายและการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
-ช่วงออกกำลังกาย (Exercise) ใช้เวลา 10-40 นาที เป็นการออกกำลังกาย เพื่อสร้างความอดทน
ของระบบไหลเวียนโลหิตหัวใจ หรือความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- ช่วงผ่อนคลายร่างกาย (Cool Down) ใช้เวลา 5-10 นาที โดยการบริหารกายและยืดเหยียด

อย่างไรก็ตามหากออกกำลังกายหักโหมมากจนเกินไปหรือไม่สม่ำเสมอ อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้โดยเฉพาะกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการเผาผลาญและทำงานอย่างหนัก กระบวนการเผาผลาญที่เกิดขึ้นส่งผลต่อร่างกายในด้านต่างๆ เช่น อุณหภูมิร่างกายจะเพิ่มสูงขึ้น เหงื่อจะออกมามากเพื่อลดความร้อน หากร่างกายมีปริมาณน้ำไม่เพียงพออาจเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำและหมดสติได้ นอกจากนี้จะเกิดการสลายไขมันที่สะสมไว้ที่ตับมาเป็นพลังงานในรูปของน้ำตาลกลูโคส ซึ่งนำไปใช้ในการเผาผลาญ หากออกกำลังกายที่หักโหมอาจทำให้น้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดไม่เพียงพอ เกิดภาวะน้ำตาลตก นำไปสู่อาการช็อคและหมดสติ รวมถึงการสูญสลายของโปรตีนในกล้ามเนื้อและเกิดของเสียจำพวกแอมโมเนียและแลคเตท ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการเหนื่อยล้าของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้สารประกอบกลุ่มแลคเตทที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับปริมาณของกรดแลคติค ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดตะคริวระหว่างการออกกำลังกายอีกด้วย

ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำก็อาจทำให้ร่างกายสึกหรอและเกิดภาวะอักเสบได้บ้าง อาหารจึงมีส่วนสำคัญที่จะช่วยฟื้นฟูการทำงานของร่างกาย เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่งดหรืออดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง และดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอเพื่อป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำ นอกจากนี้ ยังมีอาหารเพื่อสุขภาพที่เหมาะสำหรับผู้ออกกำลังกาย นั่นคือ อาหารฟังก์ชั่นซุปไก่สกัด โดยมีรายงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระบุว่า ซุปไก่สกัดช่วยเร่งการกำจัดของเสียจำพวกแอมโมเนียและแลคเตทออกจากร่างกาย ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมงหลังการออกกำลังกาย ดังนั้น การรับประทานซุปไก่สกัดหลังการออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายขับของเสียจำพวกแลคเตทและแอมโมเนียอันเป็นสาเหตุของอาการเหนื่อยล้าทั้งร่างกายและสมองออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง ซุปไก่สกัดยังช่วยกระตุ้นประสิทธิภาพการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงาน ช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน รวมทั้งช่วยเพิ่มความสามารถในการดูดซึมของธาตุเหล็ก เพราะหากขาดธาตุเหล็กนานๆ จะทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย ความจำลดลง และนำไปสู่ภาวะโลหิตจางได้ในที่สุด

จะเห็นว่าการออกกำลังกายที่ดีมีประสิทธิภาพจะต้องดูแลให้เหมาะสมและเตรียมความพร้อมของร่างกายเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงอย่างยั่งยืน

Reference :
1.Geissler C., Garrow C., and Boroumand-Naini, M. (1989). Large acute thermic response to chicken essence in humans. Nutr Rep Int; 39: 547-556
2.Gulhane, T.F. (2014). Effects of Alcohol on Sports Performance and Physical Fitness. International Journal of Physical Education, Sports and Health. 1(2), 33-35
3.Surenkok, O., Kin-Isler, A., Aytar, A., & Gultekin, Z. (2008). Effect of Trunk-Muscle Fatigue and Lactic Acid Accumulation on Balance in Healthy Subjects. Journal of Sport Rehabilitation. 17, 1-8
4.Sahlin, K. (1986). Muscle fatigue and lactic acid accumulation. Acta. Physiol. Scand. Suppl. 556: 83-91
5.Gaitanos, G.C., Williams, C., Boobis, L.H., & Brooks, S. (1993). Human muscle metabolism during intermittent maximal exercise. J. Appl.Physiol. 75, 712-719
6.Wilkinson, D.J., Smeeton, N.J., & Watt P.W. (2010). Ammonia metabolism, the brain and fatigue; revisiting the link. Prog.Neurobiol.doi:10.1016/j.pneurobio.2010.01.012
7.Hsin-I Lo & et al. (2005). Effects of postexercise supplementation of chicken essence on the elimination of exercise - induced plasma lactate and ammonia. Chin J Physiol, 48(4),187-192
8.Yan C. M. et. al. (2005) The enhancing effects of a chicken-meat extract on serum Ig concentrations in normal and scalded animals. Brit J Nutr 94: 51-55.
9.http://www.stou.ac.th/schools/shs/booklet/book56_3/health.html สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2558

(ข่าวประชาสัมพันธ์)
กำลังโหลดความคิดเห็น