วัคซีนรวม 1 เข็มป้องกัน 5 โรค “คอตีบ - ไอกรน - บาดทะยัก - ตับอักเสบบี - เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรียฮิบ” ขาดตลาด เหตุบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่มีปัญหาทางด้านเทคนิค รพ. เอกชน เร่งควานหาวัคซีนวุ่น เหตุพ่อแม่คนมีเงินนิยมเสียตังค์ฉีด ลดจำนวนฉีดป้องกันได้หลายโรค เผยไทยถูกยกเลิกสัญญาถ่ายทอดผลิตวัคซีนรวมดังกล่าว เหตุทำงานล่าช้าไม่เป็นไปตามโรดแมป
แหล่งข่าวในแวดวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้สถานพยาบาลต่างๆ โดยเฉพาะภาคเอกชน กำลังวุ่นกับการหาวัคซีนรวม 1 เข็ม ป้องกัน 5 โรค คือ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ตับอักเสบบี และเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียฮิบ เนื่องจากกำลังขาดตลาด ไม่สามารถหาซื้อได้ โดยทราบว่าผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกมีปัญหาขัดข้องทางเทคนิค ต้องหยุดผลิตโดยฉับพลัน จึงส่งวัคซีนป้อนตลาดไม่ได้ตามแผน โดยเฉพาะตลาดล่างคือประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทย ส่วนสาเหตุที่หยุดผลิตนั้นยังไม่ได้รับการเปิดเผยจากผู้บริหารของบริษัทดังกล่าว
“วัคซีนรวมดังกล่าวไม่ได้บรรจุเป็นวัคซีนให้บริการฟรีของภาครัฐ เนื่องจากตัววัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียฮิบนั้น คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิกันโรค ภายใต้คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ยังไม่ได้แนะนำให้มาบรรจุไว้ในตารางการให้บริการวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพราะยังมีราคาแพงและอัตราป่วยของโรคต่ำ เมื่อเทียบกับปัญหาสาธารณสุขอื่นๆ หากต้องการรับวัคซีนตัวนี้ผู้ปกครองหรือกลุ่มเป้าหมายจึงต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง กลุ่มคนรวย หรือพอมีเงินจำนวนมากยินดีควักกระเป๋าจ่ายฉีดวัคซีนรวมดังกล่าว เพราะลดจำนวนครั้งของการรับวัคซีน หลีกเลี่ยงความเจ็บปวดจากเข็มฉีดยาของลูกหลาน และป้องกันโรคอื่นดังกล่าวเป็นของแถมได้ด้วย” แหล่งข่าว กล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า ประเทศเวียดนามพยายามแก้ปัญหาดังกล่าว โดยพัฒนาวัคซีนใช้เอง จากความร่วมมือของ 4 หน่วยงานผู้ผลิตวัคซีนในประเทศร่วมกันผลิตวัคซีนรวมที่กำลังมีปัญหาขาดแคลน ตั้งงบประมาณสนับสนุนการสร้างโรงงานและพัฒนาการผลิตหลายหมื่นล้านดง คาดว่า วัคซีนที่ผลิตได้จะสามารถนำมาทดสอบในคนได้ประมาณปี 2561 โดยช่วงแรกจะเน้นการผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศให้เพียงพอกับความต้องการ และส่งออกขายต่างประเทศต่อไป ซึ่งการพัฒนาวัคซีนฮิบนั้นเป็นหนึ่งในวัคซีนองค์ประกอบของวัคซีนรวมดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2548 ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเตรียมการนำมาทดสอบในคน ปัจจุบันเวียดนามสามารถผลิตวัคซีนเองภายในประเทศได้ 11 ชนิด จากทั้งหมด 12 ชนิด ที่ให้บริการฟรีแก่กลุ่มเป้าหมายตามตารางการให้วัคซีนของ สธ.
“สำหรับประเทศไทยในอดีตเคยผลิตวัคซีนได้หลายชนิด แต่ขาดการส่งเสริมและร่วมมือกันอย่างจริงจัง ทำให้ปัจจุบันสามารถผลิตตั้งแต่ต้นน้ำและใช้ภายในประเทศเพียงชนิดเดียว คือ วัคซีนบีซีจี ป้องกันวัณโรคเด็ก โดยสถานเสาวภา ส่วนโครงการผลิตวัคซีนรวมนี้ เมื่อ 2 - 3 ปีที่ผ่านมา สถาบันวัคซีนแห่งชาติได้รับความเห็นชอบจาก ครม. จนได้ลงนามความร่วมมือกับต่างประเทศ สธ. และองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เพื่อรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตจากฝรั่งเศส โดยจะสร้างโรงงานวัคซีนที่นิคมอุตสาหกรรมแปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ในปี 2560 ซึ่งแผนและรายละเอียดในการเตรียมการผลิตได้ตกลงกันเรียบร้อย แต่ยังประสบปัญหาเชิงนโยบาย ความเอาจริงเอาจังของผู้บริหาร ความร่วมมือกันของภาครัฐและเอกชน ความขัดแย้งในเชิงแนวคิด และผลกระทบต่อการจำหน่ายวัคซีนของบริษัทตัวแทนผู้นำเข้าในประเทศ ทำให้เป็นอุปสรรค ความก้าวหน้าของโครงการไม่เป็นไปตามแผน จนบริษัทผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีต้องยื่นหนังสือขอยกเลิกสัญญาเมื่อปลาย มี.ค. ที่ผ่านมา ทำให้พลาดโอกาสและเสียเวลาของการพัฒนาวัคซีนของประเทศตามโรดแมปที่สถาบันวัคซีนเสนอและได้รับความเห็นชอบจาก ครม.” แหล่งข่าวกล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
แหล่งข่าวในแวดวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้สถานพยาบาลต่างๆ โดยเฉพาะภาคเอกชน กำลังวุ่นกับการหาวัคซีนรวม 1 เข็ม ป้องกัน 5 โรค คือ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ตับอักเสบบี และเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียฮิบ เนื่องจากกำลังขาดตลาด ไม่สามารถหาซื้อได้ โดยทราบว่าผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกมีปัญหาขัดข้องทางเทคนิค ต้องหยุดผลิตโดยฉับพลัน จึงส่งวัคซีนป้อนตลาดไม่ได้ตามแผน โดยเฉพาะตลาดล่างคือประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทย ส่วนสาเหตุที่หยุดผลิตนั้นยังไม่ได้รับการเปิดเผยจากผู้บริหารของบริษัทดังกล่าว
“วัคซีนรวมดังกล่าวไม่ได้บรรจุเป็นวัคซีนให้บริการฟรีของภาครัฐ เนื่องจากตัววัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียฮิบนั้น คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิกันโรค ภายใต้คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ยังไม่ได้แนะนำให้มาบรรจุไว้ในตารางการให้บริการวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพราะยังมีราคาแพงและอัตราป่วยของโรคต่ำ เมื่อเทียบกับปัญหาสาธารณสุขอื่นๆ หากต้องการรับวัคซีนตัวนี้ผู้ปกครองหรือกลุ่มเป้าหมายจึงต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง กลุ่มคนรวย หรือพอมีเงินจำนวนมากยินดีควักกระเป๋าจ่ายฉีดวัคซีนรวมดังกล่าว เพราะลดจำนวนครั้งของการรับวัคซีน หลีกเลี่ยงความเจ็บปวดจากเข็มฉีดยาของลูกหลาน และป้องกันโรคอื่นดังกล่าวเป็นของแถมได้ด้วย” แหล่งข่าว กล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า ประเทศเวียดนามพยายามแก้ปัญหาดังกล่าว โดยพัฒนาวัคซีนใช้เอง จากความร่วมมือของ 4 หน่วยงานผู้ผลิตวัคซีนในประเทศร่วมกันผลิตวัคซีนรวมที่กำลังมีปัญหาขาดแคลน ตั้งงบประมาณสนับสนุนการสร้างโรงงานและพัฒนาการผลิตหลายหมื่นล้านดง คาดว่า วัคซีนที่ผลิตได้จะสามารถนำมาทดสอบในคนได้ประมาณปี 2561 โดยช่วงแรกจะเน้นการผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศให้เพียงพอกับความต้องการ และส่งออกขายต่างประเทศต่อไป ซึ่งการพัฒนาวัคซีนฮิบนั้นเป็นหนึ่งในวัคซีนองค์ประกอบของวัคซีนรวมดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2548 ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเตรียมการนำมาทดสอบในคน ปัจจุบันเวียดนามสามารถผลิตวัคซีนเองภายในประเทศได้ 11 ชนิด จากทั้งหมด 12 ชนิด ที่ให้บริการฟรีแก่กลุ่มเป้าหมายตามตารางการให้วัคซีนของ สธ.
“สำหรับประเทศไทยในอดีตเคยผลิตวัคซีนได้หลายชนิด แต่ขาดการส่งเสริมและร่วมมือกันอย่างจริงจัง ทำให้ปัจจุบันสามารถผลิตตั้งแต่ต้นน้ำและใช้ภายในประเทศเพียงชนิดเดียว คือ วัคซีนบีซีจี ป้องกันวัณโรคเด็ก โดยสถานเสาวภา ส่วนโครงการผลิตวัคซีนรวมนี้ เมื่อ 2 - 3 ปีที่ผ่านมา สถาบันวัคซีนแห่งชาติได้รับความเห็นชอบจาก ครม. จนได้ลงนามความร่วมมือกับต่างประเทศ สธ. และองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เพื่อรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตจากฝรั่งเศส โดยจะสร้างโรงงานวัคซีนที่นิคมอุตสาหกรรมแปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ในปี 2560 ซึ่งแผนและรายละเอียดในการเตรียมการผลิตได้ตกลงกันเรียบร้อย แต่ยังประสบปัญหาเชิงนโยบาย ความเอาจริงเอาจังของผู้บริหาร ความร่วมมือกันของภาครัฐและเอกชน ความขัดแย้งในเชิงแนวคิด และผลกระทบต่อการจำหน่ายวัคซีนของบริษัทตัวแทนผู้นำเข้าในประเทศ ทำให้เป็นอุปสรรค ความก้าวหน้าของโครงการไม่เป็นไปตามแผน จนบริษัทผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีต้องยื่นหนังสือขอยกเลิกสัญญาเมื่อปลาย มี.ค. ที่ผ่านมา ทำให้พลาดโอกาสและเสียเวลาของการพัฒนาวัคซีนของประเทศตามโรดแมปที่สถาบันวัคซีนเสนอและได้รับความเห็นชอบจาก ครม.” แหล่งข่าวกล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่