ศวปถ. คาดสงกรานต์ปีนี้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด 15 - 16 เม.ย. เหตุฉลองหนัก 3 วัน 3 คืน เสี่ยงหลับใน พักผ่อนไม่เพียงพอ ชี้มาตรการองค์กรช่วยสกัดอุบัติเหตุได้ดีกว่ากฎหมายอย่างเดียว ยกเมาแล้วขับตัดโบนัส
วันนี้ (7 เม.ย.) นพ.ธนพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) กล่าวในเวที “สช. เจาะประเด็น ครั้งที่ 2/2558 วิกฤตอุบัติภัย...ใครช่วยได้?” จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ว่า ตามข้อมูลใบมรณบัตร คนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุประมาณ 14,000 รายต่อปี หรือเฉลี่ยวันละ 38 ราย โดยช่วงเทศกาลปีใหม่หรือสงกรานต์ ยอดผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจะเพิ่มเป็น 2 เท่า เนื่องจากมีความเสี่ยงใน 2 ช่วง ได้แก่ 1. ช่วงเดินทาง จะเกิดอุบัติเหตุบนถนนหลัก เพราะปริมาณรถมาก คนขับอ่อนล้า ขับรถเร็ว ไม่ชำนาญทาง และรถโดยสารบรรทุกเกินจะเกิดในช่วงเวลากลางวันถึงค่ำ และ 2. ช่วงฉลอง พบว่า 2 ใน 3 เกิดจากการดื่มแล้วขับ มักเกิดบนถนนสายรอง จุดที่มีการฉลองและสถานที่ท่องเที่ยว การเล่นน้ำหน้าบ้าน ส่วนใหญ่เป็นรถจักรยานยนต์และรถกระบะบรรทุกเกิน
“ช่วงสงกรานต์ปีนี้อัตราการเกิดอุบัติเหตุสุงสุดน่าจะเป็นช่วงวันที่ 15 - 16 เม.ย. เพราะจะเห็นว่ามีช่วงหยุดยาว 13 - 15 เม.ย. หากคนที่ฉลองแบบ 3 วัน 3 คืน แล้ววันที่ 15 หรือ 16 เม.ย. ต้องขับรถกลับมาทำงาน ก็จะพักผ่อนไม่เพียงพอ เสี่ยงต่อการหลับในได้ มาตรการสำคัญในการตัดวงจรอุบัติเหตุ คือ ต้องรณรงค์ให้คนไทยปรับพฤติกรรม ทั้งการขับรถเร็ว ความอ่อนล้า หรือการดื่มขณะขับรถ รวมถึงการตัดหน้ากะทันหัน และลดความเสี่ยงของการเสียชีวิต ด้วยการณรงค์ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมวกกันน็อก และเข็มขัดนิรภัย และการแก้ไขเรื่องของถนน” นพ.ธนพงศ์ กล่าว
นพ.ธนพงศ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ องค์กรเอกชนหรือองค์กรต่างๆ ควรเข้ามาร่วมรณรงค์การลดอุบัติเหตุด้วยการออกมาตรการองค์กร เพราะจะมีผลอย่างมากต่อบุคลากรขององค์กร เช่น บุคลากรมีการเมาแล้วขับ จะมีการตัดโบนัสหรือถูกพิจารณาโทษ เป็นต้น ซึ่งเป็นมาตรการที่ได้ผลแทนที่จะใช้กฎหมายเพียงอย่างเดียว ซึ่งปัจจุบันมีบางองค์กรดำเนินการแล้ว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (7 เม.ย.) นพ.ธนพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) กล่าวในเวที “สช. เจาะประเด็น ครั้งที่ 2/2558 วิกฤตอุบัติภัย...ใครช่วยได้?” จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ว่า ตามข้อมูลใบมรณบัตร คนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุประมาณ 14,000 รายต่อปี หรือเฉลี่ยวันละ 38 ราย โดยช่วงเทศกาลปีใหม่หรือสงกรานต์ ยอดผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจะเพิ่มเป็น 2 เท่า เนื่องจากมีความเสี่ยงใน 2 ช่วง ได้แก่ 1. ช่วงเดินทาง จะเกิดอุบัติเหตุบนถนนหลัก เพราะปริมาณรถมาก คนขับอ่อนล้า ขับรถเร็ว ไม่ชำนาญทาง และรถโดยสารบรรทุกเกินจะเกิดในช่วงเวลากลางวันถึงค่ำ และ 2. ช่วงฉลอง พบว่า 2 ใน 3 เกิดจากการดื่มแล้วขับ มักเกิดบนถนนสายรอง จุดที่มีการฉลองและสถานที่ท่องเที่ยว การเล่นน้ำหน้าบ้าน ส่วนใหญ่เป็นรถจักรยานยนต์และรถกระบะบรรทุกเกิน
“ช่วงสงกรานต์ปีนี้อัตราการเกิดอุบัติเหตุสุงสุดน่าจะเป็นช่วงวันที่ 15 - 16 เม.ย. เพราะจะเห็นว่ามีช่วงหยุดยาว 13 - 15 เม.ย. หากคนที่ฉลองแบบ 3 วัน 3 คืน แล้ววันที่ 15 หรือ 16 เม.ย. ต้องขับรถกลับมาทำงาน ก็จะพักผ่อนไม่เพียงพอ เสี่ยงต่อการหลับในได้ มาตรการสำคัญในการตัดวงจรอุบัติเหตุ คือ ต้องรณรงค์ให้คนไทยปรับพฤติกรรม ทั้งการขับรถเร็ว ความอ่อนล้า หรือการดื่มขณะขับรถ รวมถึงการตัดหน้ากะทันหัน และลดความเสี่ยงของการเสียชีวิต ด้วยการณรงค์ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมวกกันน็อก และเข็มขัดนิรภัย และการแก้ไขเรื่องของถนน” นพ.ธนพงศ์ กล่าว
นพ.ธนพงศ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ องค์กรเอกชนหรือองค์กรต่างๆ ควรเข้ามาร่วมรณรงค์การลดอุบัติเหตุด้วยการออกมาตรการองค์กร เพราะจะมีผลอย่างมากต่อบุคลากรขององค์กร เช่น บุคลากรมีการเมาแล้วขับ จะมีการตัดโบนัสหรือถูกพิจารณาโทษ เป็นต้น ซึ่งเป็นมาตรการที่ได้ผลแทนที่จะใช้กฎหมายเพียงอย่างเดียว ซึ่งปัจจุบันมีบางองค์กรดำเนินการแล้ว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่