สธ. จับมือ 4 สถาบันการศึกษา เปิดหลักสูตรแพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสาธารณสุขศาสตร์ ตั้งเป้าเพิ่มแพทย์เฉพาะทางด้านการส่งเสริมป้องกันโรค สกัดโรคเรื้อรังจากวิถีชีวิต หลังพบค่าใช้จ่ายจากการรักษาตกปีละกว่า 3 แสนล้านบาท เผยเรียน 3 ปี ฝึกงานที่ จุฬาฯ รามาฯ ศิริราช เริ่มสอน ก.ค. นี้
วันนี้ (3 เม.ย.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสาธารณสุขศาสตร์ ร่วมกับกรมอนามัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล ว่า แพทย์ทั้งหมดมีประมาณ 48,116 คน เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาการรักษาประมาณ 29,100 คน แต่แพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสาธารณสุขศาสตร์ ซึ่งมุ่งลดการเจ็บป่วยยังมีจำนานน้อย จึงมีนโยบายเพิ่มการผลิต เพราะปัจจุบันประเทศไทยมีภาระค่าใช้จ่ายทางการรักษา โดยเฉพาะโรคเรื้อรังซึ่งเกิดจากการใช้ชีวิต เช่น เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง เป็นต้น ปีละกว่า 3 แสนล้านบาท ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและซับซ้อนขึ้น จึงต้องเร่งป้องกัน ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า จึงมอบให้กรมอนามัย จัดทำหลักสูตรแพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสาธารณสุขศาสตร์ และได้รับอนุมัติจากแพทยสภา เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2557 เป็นครั้งแรกของไทย ซึ่งจะเริ่มเปิดการเรียนการสอนใน ก.ค. 2558
“ เบื้องต้นได้รับความร่วมมือการผลิตจากสถาบันการศึกษา 4 แห่ง ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รพ.รามาธิบดี ศิริราชพยาบาล และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีแรกมีแพทย์เข้าศึกษา 4 คน คาดว่า จะได้รับความสนใจจากแพทย์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ใช้เวลาเรียน 3 ปี แพทย์เฉพาะทางสาขานี้ จะมีความเชี่ยวชาญและทักษะชั้นสูง ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การคุ้มครองสุขภาพอนามัยประชาชน โดยนำข้อมูลผลการศึกษาวิจัยต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับชุมชน ” รมว.สธ. กล่าว
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า หลักสูตรแพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสาธารณสุขศาสตร์ ปีที่ 1 เรียนภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขตามกลุ่มวัย เช่น แม่และเด็ก วัยเรียนและเยาวชน วัยทำงาน ผู้สูงอายุ ปีที่ 2 เป็นการศึกษาหลักสูตรปริญญาโท สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือเทียบเท่าที่แพทยสภารับรอง หรือ สถาบันการศึกษาอื่นทั้งในและต่างประเทศ และ ปีที่ 3 เป็นการทำวิจัยปฏิบัติการเกี่ยวกับงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มวัยต่างๆ โดยฝึกปฏิบัติงานที่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และจะได้รับวุฒิบัตร เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสาธารณสุขศาสตร์
การลงนามความร่วมมือครั้งนี้ เน้นหนัก 4 เรื่อง คือ 1. การสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการแพทย์และสาธารณสุข 2. การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนร่วมกัน 3. การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน และการจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการ และ 4.การพัฒนาและจัดหาสื่อการเรียนการสอน การใช้ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกร่วมกัน อาทิ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (3 เม.ย.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสาธารณสุขศาสตร์ ร่วมกับกรมอนามัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล ว่า แพทย์ทั้งหมดมีประมาณ 48,116 คน เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาการรักษาประมาณ 29,100 คน แต่แพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสาธารณสุขศาสตร์ ซึ่งมุ่งลดการเจ็บป่วยยังมีจำนานน้อย จึงมีนโยบายเพิ่มการผลิต เพราะปัจจุบันประเทศไทยมีภาระค่าใช้จ่ายทางการรักษา โดยเฉพาะโรคเรื้อรังซึ่งเกิดจากการใช้ชีวิต เช่น เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง เป็นต้น ปีละกว่า 3 แสนล้านบาท ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและซับซ้อนขึ้น จึงต้องเร่งป้องกัน ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า จึงมอบให้กรมอนามัย จัดทำหลักสูตรแพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสาธารณสุขศาสตร์ และได้รับอนุมัติจากแพทยสภา เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2557 เป็นครั้งแรกของไทย ซึ่งจะเริ่มเปิดการเรียนการสอนใน ก.ค. 2558
“ เบื้องต้นได้รับความร่วมมือการผลิตจากสถาบันการศึกษา 4 แห่ง ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รพ.รามาธิบดี ศิริราชพยาบาล และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีแรกมีแพทย์เข้าศึกษา 4 คน คาดว่า จะได้รับความสนใจจากแพทย์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ใช้เวลาเรียน 3 ปี แพทย์เฉพาะทางสาขานี้ จะมีความเชี่ยวชาญและทักษะชั้นสูง ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การคุ้มครองสุขภาพอนามัยประชาชน โดยนำข้อมูลผลการศึกษาวิจัยต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับชุมชน ” รมว.สธ. กล่าว
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า หลักสูตรแพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสาธารณสุขศาสตร์ ปีที่ 1 เรียนภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขตามกลุ่มวัย เช่น แม่และเด็ก วัยเรียนและเยาวชน วัยทำงาน ผู้สูงอายุ ปีที่ 2 เป็นการศึกษาหลักสูตรปริญญาโท สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือเทียบเท่าที่แพทยสภารับรอง หรือ สถาบันการศึกษาอื่นทั้งในและต่างประเทศ และ ปีที่ 3 เป็นการทำวิจัยปฏิบัติการเกี่ยวกับงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มวัยต่างๆ โดยฝึกปฏิบัติงานที่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และจะได้รับวุฒิบัตร เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสาธารณสุขศาสตร์
การลงนามความร่วมมือครั้งนี้ เน้นหนัก 4 เรื่อง คือ 1. การสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการแพทย์และสาธารณสุข 2. การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนร่วมกัน 3. การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน และการจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการ และ 4.การพัฒนาและจัดหาสื่อการเรียนการสอน การใช้ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกร่วมกัน อาทิ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่