อย. เตรียมทำคู่มือการผลิตเกลือไอโอดีน พร้อมพัฒนาระบบประกันคุณภาพผู้ประกอบการ หวังคุมมาตรฐานการผลิตให้เกลือบริโภคมีคุณภาพ 100%
นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยในเรื่องการขาดสารไอโอดีน เนื่องจากหากขาดไอโอดีนจะทำให้เป็นโรคเอ๋อได้ ซึ่ง อย. ได้ดำเนินการแก้ปัญหาการขาดไอโอดีนมาตลอด โดยปี 2554 ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องเกลือบริโภค กำหนดให้เกลือบริโภคต้องมีสารไอโอดีนไม่น้อยกว่า 20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พร้อมทั้งสนับสนุนเครื่องผสมเกลือบริโภคให้กับผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง จำนวน 100 เครื่อง ในปี 2556 เพื่อช่วยพัฒนาการผลิตเกลือบริโภคให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น โดยผู้ประกอบการที่ได้รับการติดตั้งเครื่องผสม มีกำลังการผลิตเกลือบริโภค 84,519 ตัน/ปี คิดเป็นร้อยละ 56.35 ของกำลังการผลิตเกลือบริโภคของผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง พร้อมทั้งอบรมการผลิตเกลือบริโภคด้วยเครื่องผสมเกลือบริโภค การบำรุงรักษาเครื่องผสมเกลือบริโภค จากการประเมินและติดตามการผลิตเกลือบริโภคภายหลังได้รับการสนับสนุนเครื่องผสมเกลือบริโภค 1 ปี พบว่า เกลือบริโภคมีปริมาณไอโอดีนผ่านมาตรฐานคิดเป็นร้อยละ 100 นอกจากนี้ อย. ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุนสารโพแทสเซียมไอโอเดตให้กับผู้ประกอบการเกลือบริโภคและผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่เสริมไอโอดีนทั่วประเทศ จำนวน 7,614 กิโลกรัม เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงสารโพแทสเซียมไอโอเดตและผลิตผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพตามกฎหมายมากยิ่งขึ้น
นพ.บุญชัย กล่าวว่า ในปี 2558 นี้ อย. มุ่งเน้นการพัฒนาและจัดทำระบบประกันคุณภาพและระบบควบคุมคุณภาพ ด้วยการจัดทำคู่มือการผลิตเกลือบริโภคเสริมไอโอดีนและการพัฒนาระบบประกันคุณภาพสำหรับผู้ประกอบการ และอบรมการจัดทำระบบบริหารคุณภาพให้แก่ผู้ประกอบการเกลือบริโภคและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ พร้อมทั้งลงพื้นที่ติดตามการผลิตและการควบคุมคุณภาพเกลือบริโภคของสถานประกอบการขนาดใหญ่ ซึ่งมีกำลังการผลิตเกลือบริโภคสูงถึงร้อยละ 70 ของกำลังการผลิตเกลือบริโภคทั้งหมด ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม 2558 เพื่อให้มั่นใจว่าเกลือบริโภคที่ผลิตมีคุณภาพ 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ในอนาคตข้างหน้า อย. มุ่งหวังสร้างความแข็งแรงของชมรมผู้ประกอบการผลิตเกลือบริโภคเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตเกลือบริโภคให้มีคุณภาพได้มาตรฐานอย่างยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ อย. ยังดำเนินการเฝ้าระวังเกลือบริโภคที่จำหน่ายในท้องตลาดอย่างเข้มข้น หากพบเกลือบริโภคไม่มีเลขสารบบอาหารในกรอบเครื่องหมาย อย. จะถูกระวางโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท และหากตรวจพบเกลือบริโภคที่ผลิตโดยไม่ได้รับอนุญาต จะถูกระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ขอให้ผู้บริโภคมั่นใจการดำเนินการของ อย. ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดสารไอโอดีนในประเทศไทยอย่างยั่งยืน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยในเรื่องการขาดสารไอโอดีน เนื่องจากหากขาดไอโอดีนจะทำให้เป็นโรคเอ๋อได้ ซึ่ง อย. ได้ดำเนินการแก้ปัญหาการขาดไอโอดีนมาตลอด โดยปี 2554 ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องเกลือบริโภค กำหนดให้เกลือบริโภคต้องมีสารไอโอดีนไม่น้อยกว่า 20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พร้อมทั้งสนับสนุนเครื่องผสมเกลือบริโภคให้กับผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง จำนวน 100 เครื่อง ในปี 2556 เพื่อช่วยพัฒนาการผลิตเกลือบริโภคให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น โดยผู้ประกอบการที่ได้รับการติดตั้งเครื่องผสม มีกำลังการผลิตเกลือบริโภค 84,519 ตัน/ปี คิดเป็นร้อยละ 56.35 ของกำลังการผลิตเกลือบริโภคของผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง พร้อมทั้งอบรมการผลิตเกลือบริโภคด้วยเครื่องผสมเกลือบริโภค การบำรุงรักษาเครื่องผสมเกลือบริโภค จากการประเมินและติดตามการผลิตเกลือบริโภคภายหลังได้รับการสนับสนุนเครื่องผสมเกลือบริโภค 1 ปี พบว่า เกลือบริโภคมีปริมาณไอโอดีนผ่านมาตรฐานคิดเป็นร้อยละ 100 นอกจากนี้ อย. ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุนสารโพแทสเซียมไอโอเดตให้กับผู้ประกอบการเกลือบริโภคและผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่เสริมไอโอดีนทั่วประเทศ จำนวน 7,614 กิโลกรัม เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงสารโพแทสเซียมไอโอเดตและผลิตผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพตามกฎหมายมากยิ่งขึ้น
นพ.บุญชัย กล่าวว่า ในปี 2558 นี้ อย. มุ่งเน้นการพัฒนาและจัดทำระบบประกันคุณภาพและระบบควบคุมคุณภาพ ด้วยการจัดทำคู่มือการผลิตเกลือบริโภคเสริมไอโอดีนและการพัฒนาระบบประกันคุณภาพสำหรับผู้ประกอบการ และอบรมการจัดทำระบบบริหารคุณภาพให้แก่ผู้ประกอบการเกลือบริโภคและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ พร้อมทั้งลงพื้นที่ติดตามการผลิตและการควบคุมคุณภาพเกลือบริโภคของสถานประกอบการขนาดใหญ่ ซึ่งมีกำลังการผลิตเกลือบริโภคสูงถึงร้อยละ 70 ของกำลังการผลิตเกลือบริโภคทั้งหมด ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม 2558 เพื่อให้มั่นใจว่าเกลือบริโภคที่ผลิตมีคุณภาพ 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ในอนาคตข้างหน้า อย. มุ่งหวังสร้างความแข็งแรงของชมรมผู้ประกอบการผลิตเกลือบริโภคเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตเกลือบริโภคให้มีคุณภาพได้มาตรฐานอย่างยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ อย. ยังดำเนินการเฝ้าระวังเกลือบริโภคที่จำหน่ายในท้องตลาดอย่างเข้มข้น หากพบเกลือบริโภคไม่มีเลขสารบบอาหารในกรอบเครื่องหมาย อย. จะถูกระวางโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท และหากตรวจพบเกลือบริโภคที่ผลิตโดยไม่ได้รับอนุญาต จะถูกระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ขอให้ผู้บริโภคมั่นใจการดำเนินการของ อย. ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดสารไอโอดีนในประเทศไทยอย่างยั่งยืน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่