สธ. จัดปั่นจักรยาน 500 คัน รณรงค์ชวนคนไทยหันมาออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยาน เพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย ลดโรคเรื้อรัง สร้างสุขภาพดี เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา “สมเด็จพระเทพรัตนฯ” ชี้ปั่น 8 กิโลเมตร ครึ่งชั่วโมง เป็นประจำ 1 เดือน ลดน้ำหนักได้ 1 กิโลกรัม
วันนี้ (2 เม.ย.) นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดงาน “ปวงประชาร่วมใจ ปั่นสองล้อสู่สุขภาพดี เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ว่า ขณะนี้ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งการบริโภคอาหารและออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม จึงจัดให้มีการรณรงค์ส่งเสริมให้บุคลากร สธ. และประชาชนทั่วไปมีกิจกรรมทางกายหรือออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานมากขึ้น เพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทั้งโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และอ้วน ซึ่งการรณรงค์ในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากเครือข่าย สธ. ทุกกรม บุคลากร และประชาชนทั่วไป ร่วมปั่นจักรยานพร้อมกันเป็นจำนวน 500 คัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงพลังความสามัคคี ความร่วมมือร่วมใจ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของปวงชนชาวไทย เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงความจงรักภักดี และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ในโอกาสเฉลิมพระชนมายุ 60 พรรษา
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากการสำรวจสุขภาพประชาชนปี 2551 - 2552 ในคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่า ผู้ชายมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กิโลกรัม/ตารางเมตร ซึ่งถือว่าอ้วนมีประมาณร้อยละ 28.4 เส้นรอบเอวเกินมาตรฐานร้อยละ 18.6 ส่วนผู้หญิงร้อยละ 40.7 และร้อยละ 45.0 ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และคอเลสเตอรอลในเลือดสูงมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยหลายล้านคน ขณะที่การเคลื่อนไหวออกกำลังกายกลับต่ำ โดยผู้ใหญ่ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 30 นาที มีเพียงร้อยละ 22 - 24 ขณะที่การออกกำลังกายที่เพียงพอต่อการป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมีเพียงร้อยละ 10 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้หันมาใส่ใจการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะการปั่นจักรยานที่กำลังได้รับความนิยม
“การปั่นจักรยานควรปั่นอย่างน้อยครั้งละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ หากปั่นเป็นประจำจะทำให้หัวใจและปอดแข็งแรง อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ลดความดันโลหิต และสามารถเผาผลาญไขมันได้ดี ทำให้ไขมันใต้ชั้นผิวหนังลดลง น้ำหนักตัวจึงลด ส่วนกล้ามเนื้อจะกระชับ แข็งแรง และยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น ลดแรงกระแทกบริเวณหัวเข่า ข้อเท้า ที่จะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักด้วยการปั่นจักรยานสามารถช่วยเผาผลาญพลังงานได้เป็นอย่างดี หากคำนวณจากผู้ที่น้ำหนักตัว 70 กิโลกรัม ปั่นจักรยานที่ความเร็ว 8 กิโลเมตร ในเวลา 30 นาที จะเผาผลาญพลังงานได้ถึง 240 กิโลแคลอรี และปั่นเป็นประจำ 1 เดือน จะลดน้ำหนักได้ 1 กิโลกรัม ซึ่งการปั่นจักรยานสามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย เป็นการออกกำลังกายที่ดี และเป็นวิธีการแก้ปัญหาจราจรติดขัด ลดมลพิษและลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางในชีวิตประจำวัน” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (2 เม.ย.) นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดงาน “ปวงประชาร่วมใจ ปั่นสองล้อสู่สุขภาพดี เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ว่า ขณะนี้ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งการบริโภคอาหารและออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม จึงจัดให้มีการรณรงค์ส่งเสริมให้บุคลากร สธ. และประชาชนทั่วไปมีกิจกรรมทางกายหรือออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานมากขึ้น เพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทั้งโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และอ้วน ซึ่งการรณรงค์ในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากเครือข่าย สธ. ทุกกรม บุคลากร และประชาชนทั่วไป ร่วมปั่นจักรยานพร้อมกันเป็นจำนวน 500 คัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงพลังความสามัคคี ความร่วมมือร่วมใจ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของปวงชนชาวไทย เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงความจงรักภักดี และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ในโอกาสเฉลิมพระชนมายุ 60 พรรษา
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากการสำรวจสุขภาพประชาชนปี 2551 - 2552 ในคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่า ผู้ชายมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กิโลกรัม/ตารางเมตร ซึ่งถือว่าอ้วนมีประมาณร้อยละ 28.4 เส้นรอบเอวเกินมาตรฐานร้อยละ 18.6 ส่วนผู้หญิงร้อยละ 40.7 และร้อยละ 45.0 ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และคอเลสเตอรอลในเลือดสูงมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยหลายล้านคน ขณะที่การเคลื่อนไหวออกกำลังกายกลับต่ำ โดยผู้ใหญ่ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 30 นาที มีเพียงร้อยละ 22 - 24 ขณะที่การออกกำลังกายที่เพียงพอต่อการป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมีเพียงร้อยละ 10 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้หันมาใส่ใจการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะการปั่นจักรยานที่กำลังได้รับความนิยม
“การปั่นจักรยานควรปั่นอย่างน้อยครั้งละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ หากปั่นเป็นประจำจะทำให้หัวใจและปอดแข็งแรง อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ลดความดันโลหิต และสามารถเผาผลาญไขมันได้ดี ทำให้ไขมันใต้ชั้นผิวหนังลดลง น้ำหนักตัวจึงลด ส่วนกล้ามเนื้อจะกระชับ แข็งแรง และยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น ลดแรงกระแทกบริเวณหัวเข่า ข้อเท้า ที่จะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักด้วยการปั่นจักรยานสามารถช่วยเผาผลาญพลังงานได้เป็นอย่างดี หากคำนวณจากผู้ที่น้ำหนักตัว 70 กิโลกรัม ปั่นจักรยานที่ความเร็ว 8 กิโลเมตร ในเวลา 30 นาที จะเผาผลาญพลังงานได้ถึง 240 กิโลแคลอรี และปั่นเป็นประจำ 1 เดือน จะลดน้ำหนักได้ 1 กิโลกรัม ซึ่งการปั่นจักรยานสามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย เป็นการออกกำลังกายที่ดี และเป็นวิธีการแก้ปัญหาจราจรติดขัด ลดมลพิษและลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางในชีวิตประจำวัน” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่