สปส. เตรียมออก กม. ลูก 17 ฉบับ หลังประกาศใช้ พ.ร.บ.ประกันสังคม เสนอตั้งอนุกรรมการคัดตัวแทนจากรัฐ - นายจ้าง - ลูกจ้าง เร่งผลักดันให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน
นางปราณิน มุตตาหารัช เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการปฏิรูปประกันสังคม ว่า ขณะนี้ขั้นตอนของร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ....ผ่าน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว และอยู่ในขั้นตอนการเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ซึ่งหลังจากร่าง พ.ร.บ. มีผลบังคับใช้ สปส. จะต้องเร่งดำเนินการออกกฎหมายลูก 17 ฉบับ ทั้งนี้ กระบวนการผลักดันการออกกฎหมายลูก 17 ฉบับ จะต้องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 2 คณะ ซึ่งตนได้ทาบทามนายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ที่ปรึกษาบอร์ด สปส. และผู้แทนนายจ้าง ลูกจ้าง ที่เกี่ยวข้อง มาร่วมเป็นอนุกรรมการ โดยแต่ละคณะกรรมการสามารถตั้งคณะทำงานย่อยในแต่ละเรื่อง เพื่อผลักดันให้กฎหมายลูกสำเร็จภายใน 120 วัน ซึ่งเป็นงานหนักที่ต้องทำให้สำเร็จในยุคของการปฏิรูปให้ได้
ทั้งนี้ กฎหมายลูก17 ฉบับ ได้แก่ พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) 2 ฉบับ คือ พ.ร.ฎ.กำหนดลูกจ้างตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 และ พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคล ซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40, กฎกระทรวง 3 ฉบับ เช่น กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรับเงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (มาตรา 77), ระเบียบกระทรวงแรงงาน 4 ฉบับ โดยเฉพาะระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการได้มาของอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ และระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์ วีธีการได้มา องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ, ระเบียบคณะกรรรมการประกันสังคม 1 ฉบับ ว่าด้วยการลงมติให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ, ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ 2 ฉบับ, ระเบียบสำนักงานประกันสังคม 1 ฉบับ และประกาศสำนักงานประกันสังคม 4 ฉบับ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นางปราณิน มุตตาหารัช เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการปฏิรูปประกันสังคม ว่า ขณะนี้ขั้นตอนของร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ....ผ่าน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว และอยู่ในขั้นตอนการเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ซึ่งหลังจากร่าง พ.ร.บ. มีผลบังคับใช้ สปส. จะต้องเร่งดำเนินการออกกฎหมายลูก 17 ฉบับ ทั้งนี้ กระบวนการผลักดันการออกกฎหมายลูก 17 ฉบับ จะต้องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 2 คณะ ซึ่งตนได้ทาบทามนายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ที่ปรึกษาบอร์ด สปส. และผู้แทนนายจ้าง ลูกจ้าง ที่เกี่ยวข้อง มาร่วมเป็นอนุกรรมการ โดยแต่ละคณะกรรมการสามารถตั้งคณะทำงานย่อยในแต่ละเรื่อง เพื่อผลักดันให้กฎหมายลูกสำเร็จภายใน 120 วัน ซึ่งเป็นงานหนักที่ต้องทำให้สำเร็จในยุคของการปฏิรูปให้ได้
ทั้งนี้ กฎหมายลูก17 ฉบับ ได้แก่ พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) 2 ฉบับ คือ พ.ร.ฎ.กำหนดลูกจ้างตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 และ พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคล ซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40, กฎกระทรวง 3 ฉบับ เช่น กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรับเงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (มาตรา 77), ระเบียบกระทรวงแรงงาน 4 ฉบับ โดยเฉพาะระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการได้มาของอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ และระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์ วีธีการได้มา องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ, ระเบียบคณะกรรรมการประกันสังคม 1 ฉบับ ว่าด้วยการลงมติให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ, ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ 2 ฉบับ, ระเบียบสำนักงานประกันสังคม 1 ฉบับ และประกาศสำนักงานประกันสังคม 4 ฉบับ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่