สปส. ร่วมไอแอลโอศึกษาการจัดการกองทุนประกันสังคมต่างประเทศพิจารณาปรับใช้ วางระบบจัดการกองทุนระยะยาวเพื่อความมั่นคง เผยไม่เคยปรับเงินสมทบ ขณะที่เพิ่มสิทธิประโยชน์ทุกปีกระทบสมดุลรายรับ - รายจ่าย
นางปราณิน มุตตาหารัช เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ศึกษาการแยกกองทุนระหว่างคนไทยและแรงงานต่างด้าว ซึ่งจะต้องศึกษาการจัดการของต่างประเทศเพื่อนำมาพิจารณาว่าไทยควรทำอย่างไรจึงเหมาะสม โดย สปส. จะไปแยกบัญชีการส่งเงินสมทบของแรงงานต่างด้าวจำนวน 450,000 คน ออกจากบัญชีเงินสมทบของคนไทย รวมทั้งศึกษาระบบคณิตศาสตร์ประกันภัย เช่น ศึกษาการเก็บเงินสมทบว่าต้องทำอย่างไรเพื่อให้กองทุนอยู่ได้ในระยะยาว หากไม่มีการปรับเพิ่มอัตราเงินสมทบจะต้องวางระบบอย่างไรเพื่อรองรับการแก้ปัญหา ทั้งนี้ การเก็บเงินสมทบของไทยเอง มีความแตกต่างจากประเทศอื่นๆ ที่เก็บจากระบบภาษี ส่วนประเทศไทยจะเก็บจาก 3 ฝ่าย คือ นายจ้าง ลูกจ้าง และ รัฐบาล ซึ่งนับแต่การก่อตั้งระบบประกันสังคมไทยยังไม่เคยปรับอัตราเก็บเงินสมทบเพิ่มเติม ขณะที่มีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในทุกปี เช่นการรักษาพยาบาลที่ปรับเพิ่มไปแล้วกว่า 100 เรื่อง ทำให้สถานะรายรับรายจ่ายปัจจุบันอยู่ในภาวะที่ไม่สมดุล
นางปราณิน กล่าวอีกว่า ต้องพิจารณาว่าหากจะมีการเพิ่มอัตราเงินสมทบต้องทำในลักษณะใดเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และไม่เป็นภาระของผู้ประกันตน ซึ่งปัจจุบันอัตราเงินสมทบเฉลี่ยอยู่ที่ 83 บาทต่อวัน ทั้งนี้ ตามมาตรฐานของไอแอลโอระบุว่าทุกประเทศควรมีการปรับอัตราเงินสมทบขึ้นทุกๆ 3 ปี นอกจากนี้ จะต้องศึกษาว่า สิทธิประโยชน์ทั้ง 7 กรณีของ สปส. ในปัจจุบัน มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไรที่ต้องปรับปรุง
“การรักษาพยาบาลถือเป็นจุดอ่อนของ สปส. เพราะต้องยืมจมูกคนอื่นหายใจ ทำให้ยืนด้วยตัวเองลำบาก อยากให้ สปส. เป็นฝ่ายเก็บเงินอย่างเดียวแล้วไปหาคนรับช่วงต่อ ส่วนกรณีชราภาพนั้นก็ให้ศึกษาวิเคราะห์ว่าการจะทำให้กองทุนอยู่ได้และไม่ล้มใน 30 ปีข้างหน้า ควรต้อง ขยายเพดานอายุเกษียณจาก 55 ปี เป็น 60 - 65 ปี หรือต้องจัดเก็บเงินสมทบเพิ่มขึ้นอย่างไร โดยไอแอลโอจะสรุปผลการศึกษาส่งให้ สปส. ภายในเดือนสิงหาคมนี้” เลขาธิการ สปส. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นางปราณิน มุตตาหารัช เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ศึกษาการแยกกองทุนระหว่างคนไทยและแรงงานต่างด้าว ซึ่งจะต้องศึกษาการจัดการของต่างประเทศเพื่อนำมาพิจารณาว่าไทยควรทำอย่างไรจึงเหมาะสม โดย สปส. จะไปแยกบัญชีการส่งเงินสมทบของแรงงานต่างด้าวจำนวน 450,000 คน ออกจากบัญชีเงินสมทบของคนไทย รวมทั้งศึกษาระบบคณิตศาสตร์ประกันภัย เช่น ศึกษาการเก็บเงินสมทบว่าต้องทำอย่างไรเพื่อให้กองทุนอยู่ได้ในระยะยาว หากไม่มีการปรับเพิ่มอัตราเงินสมทบจะต้องวางระบบอย่างไรเพื่อรองรับการแก้ปัญหา ทั้งนี้ การเก็บเงินสมทบของไทยเอง มีความแตกต่างจากประเทศอื่นๆ ที่เก็บจากระบบภาษี ส่วนประเทศไทยจะเก็บจาก 3 ฝ่าย คือ นายจ้าง ลูกจ้าง และ รัฐบาล ซึ่งนับแต่การก่อตั้งระบบประกันสังคมไทยยังไม่เคยปรับอัตราเก็บเงินสมทบเพิ่มเติม ขณะที่มีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในทุกปี เช่นการรักษาพยาบาลที่ปรับเพิ่มไปแล้วกว่า 100 เรื่อง ทำให้สถานะรายรับรายจ่ายปัจจุบันอยู่ในภาวะที่ไม่สมดุล
นางปราณิน กล่าวอีกว่า ต้องพิจารณาว่าหากจะมีการเพิ่มอัตราเงินสมทบต้องทำในลักษณะใดเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และไม่เป็นภาระของผู้ประกันตน ซึ่งปัจจุบันอัตราเงินสมทบเฉลี่ยอยู่ที่ 83 บาทต่อวัน ทั้งนี้ ตามมาตรฐานของไอแอลโอระบุว่าทุกประเทศควรมีการปรับอัตราเงินสมทบขึ้นทุกๆ 3 ปี นอกจากนี้ จะต้องศึกษาว่า สิทธิประโยชน์ทั้ง 7 กรณีของ สปส. ในปัจจุบัน มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไรที่ต้องปรับปรุง
“การรักษาพยาบาลถือเป็นจุดอ่อนของ สปส. เพราะต้องยืมจมูกคนอื่นหายใจ ทำให้ยืนด้วยตัวเองลำบาก อยากให้ สปส. เป็นฝ่ายเก็บเงินอย่างเดียวแล้วไปหาคนรับช่วงต่อ ส่วนกรณีชราภาพนั้นก็ให้ศึกษาวิเคราะห์ว่าการจะทำให้กองทุนอยู่ได้และไม่ล้มใน 30 ปีข้างหน้า ควรต้อง ขยายเพดานอายุเกษียณจาก 55 ปี เป็น 60 - 65 ปี หรือต้องจัดเก็บเงินสมทบเพิ่มขึ้นอย่างไร โดยไอแอลโอจะสรุปผลการศึกษาส่งให้ สปส. ภายในเดือนสิงหาคมนี้” เลขาธิการ สปส. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่