น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆนี้ เครือข่ายแรงงานฯ ได้เข้าพบพล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.แรงงาน เพื่อขอให้ทบทวนเนื้อหา ร่าง แก้ไข พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ซึ่งกระทรวงฯ เตรียมเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เนื่องจากไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ฉบับที่ 87 และ 98 ว่าด้วย สิทธิ เสรีภาพในการรวมตัว และการเจรจาต่อรองของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งจะขอให้รัฐบาลรับรองด้วย โดยขอให้ชะลอการเสนอไว้ก่อน
นอกจากนี้ ยังขอให้รมว.แรงงาน ตรวจสอบการใช้เงินกองทุนประกันสังคม ย้อนหลัง 7 ปี ใน 9 ประเด็น คือ
1. ระบบสัญญาเช่าในการจัดระบบสารสนเทศของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ซึ่งใช้งบเช่าประมาณ 500 ล้านบาทต่อปี
2. การใช้งบประชาสัมพันธ์ปีละหลายร้อยล้านบาท แต่ผู้ประกันตนกลับยังคงขาดความรู้ความเข้าใจในสิทธิประโยชน์และเข้าไม่ถึงสิทธิ
3. การใช้งบไปดูงานต่างประเทศปีละ 100 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมากรรมการประกันสังคมบางคนได้นำเครือญาติไปดูงานด้วย
4. ความโปร่งใส่การนำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุนต่างประเทศแต่ละปี
5. การตั้งงบประมาณให้แก่สภาองค์การลูกจ้างปีละ 50 ล้านบาท ในการจัดอบรม/สัมมนา รวมถึงวิธีการใช้งบในส่วนนี้ในแต่ละปี ซึ่งการจัดสรรงบที่ผ่านมาเป็นไปอย่างกระจุกตัวอยู่แค่สภาองค์การลูกจ้างไม่กี่แห่ง บางองค์กรเสนอโครงการจำนวนมากและได้รับงบมาก ไม่ได้กระจายงบให้องค์กรลูกจ้างต่างๆ เพื่อให้การ พัฒนาแรงงานเป็นอย่างทั่วถึง
6. การใช้งบจัดทำแผนปฏิรูประบบประกันสังคมในปี 2557 โดยใช้เวลา 1 วัน 1 คืน มีผู้เข้าร่วม 2,700 คน และมีค่าใช้จ่าย คนละ 21,000 บาท
7. การใช้งบเหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลของผู้ประกันตนในแต่ละปีที่จ่ายให้แก่โรงพยาบาลคู่สัญญา เนื่องจากระบบการให้บริการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลประกันสังคมบางส่วนไม่ได้พัฒนาให้ดีขึ้น ทั้งที่มีจ่ายค่าผ่านการรับรองคุณภาพให้โรงพยาบาลระบบประกันสังคม
8. บอร์ดประกันสังคม มักเป็นกลุ่มคนเดิมๆ หรือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกันหมุนเวียนเข้ามาเป็นกรรมการ มีส่วนได้ส่วนเสียกับการบริหารหรือไม่
9. แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ สปส.ที่เป็นบุคคลภายนอก และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการบริหาร โดยให้มีตัวแทนทั้งฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้างและหน่วยงานรัฐ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องระบบประกันสังคม เพื่อตรวจสอบการดำเนินงานที่ผ่านมา มีความโปร่งใส ทุจริตหรือไม่ หากพบว่าไม่โปร่งใสก็ขอให้ดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
"รัฐมนตรีได้ตอบรับข้อเสนอทั้งหมด โดยการรับรองอนุสัญญา 2 ฉบับ จะหารือกับรัฐบาล ส่วนร่างแก้ไข กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ก็ให้ทบทวนเนื้อหาใหม่ และชะลอการเสนอต่อ สนช. โดยจะตั้งคณะทำงานของกระทรวงฯ ขึ้นมาหารือกับเครือข่ายแรงงาน ส่วนการตรวจสอบประกันสังคม ได้สั่งการให้ สปส. ไปตรวจสอบและสรุปข้อมูลมารายงาน ภายใน เม.ย.นี้ ซึ่งเครือข่ายแรงงานยังไม่เห็นด้วย เพราะผู้ตรวจสอบควรตั้งคณะกรรมการ 3 ฝ่ายที่เป็นบุคคลภายนอก และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียจะดีกว่าการให้ สปส. ตรวจสอบเอง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน ตรงไปตรงมาและน่าเชื่อถือ" น.ส.วิไลวรรณ กล่าว
นอกจากนี้ ยังขอให้รมว.แรงงาน ตรวจสอบการใช้เงินกองทุนประกันสังคม ย้อนหลัง 7 ปี ใน 9 ประเด็น คือ
1. ระบบสัญญาเช่าในการจัดระบบสารสนเทศของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ซึ่งใช้งบเช่าประมาณ 500 ล้านบาทต่อปี
2. การใช้งบประชาสัมพันธ์ปีละหลายร้อยล้านบาท แต่ผู้ประกันตนกลับยังคงขาดความรู้ความเข้าใจในสิทธิประโยชน์และเข้าไม่ถึงสิทธิ
3. การใช้งบไปดูงานต่างประเทศปีละ 100 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมากรรมการประกันสังคมบางคนได้นำเครือญาติไปดูงานด้วย
4. ความโปร่งใส่การนำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุนต่างประเทศแต่ละปี
5. การตั้งงบประมาณให้แก่สภาองค์การลูกจ้างปีละ 50 ล้านบาท ในการจัดอบรม/สัมมนา รวมถึงวิธีการใช้งบในส่วนนี้ในแต่ละปี ซึ่งการจัดสรรงบที่ผ่านมาเป็นไปอย่างกระจุกตัวอยู่แค่สภาองค์การลูกจ้างไม่กี่แห่ง บางองค์กรเสนอโครงการจำนวนมากและได้รับงบมาก ไม่ได้กระจายงบให้องค์กรลูกจ้างต่างๆ เพื่อให้การ พัฒนาแรงงานเป็นอย่างทั่วถึง
6. การใช้งบจัดทำแผนปฏิรูประบบประกันสังคมในปี 2557 โดยใช้เวลา 1 วัน 1 คืน มีผู้เข้าร่วม 2,700 คน และมีค่าใช้จ่าย คนละ 21,000 บาท
7. การใช้งบเหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลของผู้ประกันตนในแต่ละปีที่จ่ายให้แก่โรงพยาบาลคู่สัญญา เนื่องจากระบบการให้บริการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลประกันสังคมบางส่วนไม่ได้พัฒนาให้ดีขึ้น ทั้งที่มีจ่ายค่าผ่านการรับรองคุณภาพให้โรงพยาบาลระบบประกันสังคม
8. บอร์ดประกันสังคม มักเป็นกลุ่มคนเดิมๆ หรือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกันหมุนเวียนเข้ามาเป็นกรรมการ มีส่วนได้ส่วนเสียกับการบริหารหรือไม่
9. แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ สปส.ที่เป็นบุคคลภายนอก และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการบริหาร โดยให้มีตัวแทนทั้งฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้างและหน่วยงานรัฐ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องระบบประกันสังคม เพื่อตรวจสอบการดำเนินงานที่ผ่านมา มีความโปร่งใส ทุจริตหรือไม่ หากพบว่าไม่โปร่งใสก็ขอให้ดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
"รัฐมนตรีได้ตอบรับข้อเสนอทั้งหมด โดยการรับรองอนุสัญญา 2 ฉบับ จะหารือกับรัฐบาล ส่วนร่างแก้ไข กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ก็ให้ทบทวนเนื้อหาใหม่ และชะลอการเสนอต่อ สนช. โดยจะตั้งคณะทำงานของกระทรวงฯ ขึ้นมาหารือกับเครือข่ายแรงงาน ส่วนการตรวจสอบประกันสังคม ได้สั่งการให้ สปส. ไปตรวจสอบและสรุปข้อมูลมารายงาน ภายใน เม.ย.นี้ ซึ่งเครือข่ายแรงงานยังไม่เห็นด้วย เพราะผู้ตรวจสอบควรตั้งคณะกรรมการ 3 ฝ่ายที่เป็นบุคคลภายนอก และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียจะดีกว่าการให้ สปส. ตรวจสอบเอง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน ตรงไปตรงมาและน่าเชื่อถือ" น.ส.วิไลวรรณ กล่าว