เครือข่ายแรงงานจี้ “บิ๊กเต่า” ตรวจสอบ สปส.9 ข้อ การดูแลกองทุนในรอบ 7 ปีทั้งการใช้งบโครงการระบบสารสนเทศ ดูงานต่างประเทศ-ประชาสัมพันธ์-ลงทุน-รักษาพยาบาล ชี้บอร์ด สปส.เป็นคนกลุ่มเดิมหมุนเวียนนั่งตำแหน่งขาดความน่าเชื่อถือ วอนแต่งตั้งเป็นบุคคลภายนอกไม่มีส่วนได้ส่วนเสียมาเป็นคณะกรรมการ
น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะ กรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ตนและผู้แทนเครือข่ายแรงงานได้เข้าพบ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง) หารือเรื่องการขอให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ฉบับ ที่87 และ ฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองของผู้ใช้แรงงาน รวมถึงร่างแก้ ไขพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ซึ่งกระทรวงแรงงานเตรียมเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แต่ขณะนี้เนื้อหาร่างแก้ไขกฎหมายยังไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาทั้งสองฉบับและข้อเสนอของผู้ใช้แรงงาน เครือข่ายแรงงานจึงขอให้ทบทวนเนื้อหาร่างแก้ไขกฎหมายและชะลอการเสนอไว้ก่อน
ประธาน คสรท.กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ได้เสนอเกี่ยวกับระบบประกันสังคมโดยขอให้ รมว.รง.ตรวจสอบการใช้เงินกองทุนประกันสังคมย้อนหลัง 7 ปี ใน 9 ข้อ คือ 1. ระบบสัญญาเช่าในการจัดระบบสารสนเทศของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ซึ่งใช้งบเช่าประมาณ 500 ล้านบาทต่อปี 2. การใช้งบประชาสัมพันธ์ที่ใช้ปีละหลายร้อยล้านบาท แต่ผู้ประกันตนกลับยังคงขาดความรู้ความเข้าใจใน สิทธิประโยชน์กรณีต่างๆ และเข้าไม่ถึงสิทธิ 3. การใช้งบไปดูงานต่างประเทศปีละ 100 ล้านบาท ที่ผ่านมากรรมการประกันสังคมบางคนได้นำเครือญาติไปดูงานด้วย 4. ความโปร่งใส่การนำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุนต่างประเทศแต่ละปี
5. การตั้งงบประมาณให้แก่สภาองค์การ ลูกจ้างปีละ 50 ล้านในการจัดอบรม/สัมมนา รวมถึงวิธีการใช้งบในส่วนนี้ในแต่ละปีซึ่งการจัดสรรงบที่ผ่านมาเป็นไปอย่างกระจุกตัวอยู่แค่สภาองค์การลูกจ้างไม่กี่แห่ง บางองค์กรเสนอโครงการจำนวนมากและได้รับงบมาก ไม่ได้กระจายงบให้องค์กรลูกจ้างต่างๆ เพื่อให้การพัฒนาแรงงานเป็นอย่างทั่วถึง 6. การใช้งบของ สปส.ในการจัดทำแผนปฏิรูประบบประกันสังคมในปี 2557 โดยใช้เวลา 1 วัน 1 คืน มีผู้เข้าร่วม 2,700 คนและมีค่าใช้จ่ายคนละ 21,000 บาท 7. การใช้งบเหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลของผู้ประกันตนในแต่ละปีที่จ่ายให้แก่โรงพยาบาลคู่สัญญากับประกันสังคมเนื่องจากระบบการให้บริการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลประกันสังคมบางส่วนไม่ได้พัฒนาให้ดีขึ้นทั้งที่มีจ่ายค่าผ่านการรับรองคุณภาพ หรือเอชเอ ให้โรงพยาบาลระบบประกันสังคม
8. คณะกรรมการประกันสังคมซึ่งมักเป็นกลุ่มคนเดิมๆหรือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกันหมุนเวียนเข้ามาเป็นกรรมการ สปส.ว่ามีส่วนได้ส่วนเสียกับการบริหาร สปส.หรือไม่ และ 9. แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจ สอบ สปส.ที่เป็นบุคคลภายนอกและไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการบริหาร สปส.โดยให้มีตัวแทนทั้งฝ่าย นายจ้าง ลูกจ้าง และหน่วยงานรัฐซึ่งเป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องระบบประกันสังคม เพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินงานของ สปส.ที่ผ่านมามี ความโปร่งใส มีการทุจริตหรือไม่ หากพบว่าไม่โปร่งใสก็ขอให้ดำเนินการตาม กฎหมายต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
“รัฐมนตรีแรงงานได้ตอบรับข้อเสนอทั้งหมดของเครือข่ายแรงงานโดยจะนำเรื่องของการให้การรับรองอนุสัญญาทั้งสองฉบับไปหารือกับรัฐบาลส่วนร่างแก้ไขกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ก็ให้ทบทวนเนื้อหาใหม่และชะลอการเสนอต่อ สนช.ไว้ก่อนโดยจะตั้งคณะทำงานของกระทรวงขึ้นมาหารือกับเครือข่ายแรงงาน ส่วนข้อเสนอเกี่ยวกับประกันสังคมทั้ง 9 ข้อได้สั่งการให้ สปส.ไปตรวจสอบและสรุปข้อมูลมารายงานภายในเดือนเมษายนนี้ ส่วนประเด็นประกันสังคมนั้นเครือข่ายแรงงานไม่เห็นด้วยกับรัฐมนตรี จึงขอเรียกร้องให้ตั้งคณะกรรมการ 3 ฝ่ายที่เป็นบุคคลภายนอกและไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับ สปส.เข้ามาตรวจสอบจะดีกว่าการให้ สปส.ตรวจสอบเอง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน ตรงไปตรงมา และน่าเชื่อถือมากกว่า” น.ส.วิไลวรรณกล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะ กรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ตนและผู้แทนเครือข่ายแรงงานได้เข้าพบ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง) หารือเรื่องการขอให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ฉบับ ที่87 และ ฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองของผู้ใช้แรงงาน รวมถึงร่างแก้ ไขพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ซึ่งกระทรวงแรงงานเตรียมเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แต่ขณะนี้เนื้อหาร่างแก้ไขกฎหมายยังไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาทั้งสองฉบับและข้อเสนอของผู้ใช้แรงงาน เครือข่ายแรงงานจึงขอให้ทบทวนเนื้อหาร่างแก้ไขกฎหมายและชะลอการเสนอไว้ก่อน
ประธาน คสรท.กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ได้เสนอเกี่ยวกับระบบประกันสังคมโดยขอให้ รมว.รง.ตรวจสอบการใช้เงินกองทุนประกันสังคมย้อนหลัง 7 ปี ใน 9 ข้อ คือ 1. ระบบสัญญาเช่าในการจัดระบบสารสนเทศของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ซึ่งใช้งบเช่าประมาณ 500 ล้านบาทต่อปี 2. การใช้งบประชาสัมพันธ์ที่ใช้ปีละหลายร้อยล้านบาท แต่ผู้ประกันตนกลับยังคงขาดความรู้ความเข้าใจใน สิทธิประโยชน์กรณีต่างๆ และเข้าไม่ถึงสิทธิ 3. การใช้งบไปดูงานต่างประเทศปีละ 100 ล้านบาท ที่ผ่านมากรรมการประกันสังคมบางคนได้นำเครือญาติไปดูงานด้วย 4. ความโปร่งใส่การนำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุนต่างประเทศแต่ละปี
5. การตั้งงบประมาณให้แก่สภาองค์การ ลูกจ้างปีละ 50 ล้านในการจัดอบรม/สัมมนา รวมถึงวิธีการใช้งบในส่วนนี้ในแต่ละปีซึ่งการจัดสรรงบที่ผ่านมาเป็นไปอย่างกระจุกตัวอยู่แค่สภาองค์การลูกจ้างไม่กี่แห่ง บางองค์กรเสนอโครงการจำนวนมากและได้รับงบมาก ไม่ได้กระจายงบให้องค์กรลูกจ้างต่างๆ เพื่อให้การพัฒนาแรงงานเป็นอย่างทั่วถึง 6. การใช้งบของ สปส.ในการจัดทำแผนปฏิรูประบบประกันสังคมในปี 2557 โดยใช้เวลา 1 วัน 1 คืน มีผู้เข้าร่วม 2,700 คนและมีค่าใช้จ่ายคนละ 21,000 บาท 7. การใช้งบเหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลของผู้ประกันตนในแต่ละปีที่จ่ายให้แก่โรงพยาบาลคู่สัญญากับประกันสังคมเนื่องจากระบบการให้บริการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลประกันสังคมบางส่วนไม่ได้พัฒนาให้ดีขึ้นทั้งที่มีจ่ายค่าผ่านการรับรองคุณภาพ หรือเอชเอ ให้โรงพยาบาลระบบประกันสังคม
8. คณะกรรมการประกันสังคมซึ่งมักเป็นกลุ่มคนเดิมๆหรือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกันหมุนเวียนเข้ามาเป็นกรรมการ สปส.ว่ามีส่วนได้ส่วนเสียกับการบริหาร สปส.หรือไม่ และ 9. แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจ สอบ สปส.ที่เป็นบุคคลภายนอกและไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการบริหาร สปส.โดยให้มีตัวแทนทั้งฝ่าย นายจ้าง ลูกจ้าง และหน่วยงานรัฐซึ่งเป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องระบบประกันสังคม เพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินงานของ สปส.ที่ผ่านมามี ความโปร่งใส มีการทุจริตหรือไม่ หากพบว่าไม่โปร่งใสก็ขอให้ดำเนินการตาม กฎหมายต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
“รัฐมนตรีแรงงานได้ตอบรับข้อเสนอทั้งหมดของเครือข่ายแรงงานโดยจะนำเรื่องของการให้การรับรองอนุสัญญาทั้งสองฉบับไปหารือกับรัฐบาลส่วนร่างแก้ไขกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ก็ให้ทบทวนเนื้อหาใหม่และชะลอการเสนอต่อ สนช.ไว้ก่อนโดยจะตั้งคณะทำงานของกระทรวงขึ้นมาหารือกับเครือข่ายแรงงาน ส่วนข้อเสนอเกี่ยวกับประกันสังคมทั้ง 9 ข้อได้สั่งการให้ สปส.ไปตรวจสอบและสรุปข้อมูลมารายงานภายในเดือนเมษายนนี้ ส่วนประเด็นประกันสังคมนั้นเครือข่ายแรงงานไม่เห็นด้วยกับรัฐมนตรี จึงขอเรียกร้องให้ตั้งคณะกรรมการ 3 ฝ่ายที่เป็นบุคคลภายนอกและไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับ สปส.เข้ามาตรวจสอบจะดีกว่าการให้ สปส.ตรวจสอบเอง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน ตรงไปตรงมา และน่าเชื่อถือมากกว่า” น.ส.วิไลวรรณกล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่