กพร. เปิดโครงการสร้างความเสมอภาคหญิง - ชาย ดึงศักยภาพสองเพศพัฒนากำลังแรงงาน หนุนแรงงานหญิงร่วมทดสอบฝีมือแรงงานทุกสาขาอาชีพตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนให้ได้ร้อยละ 38
วันนี้ (25 มี.ค.) ที่ รร.โกดเด้นทิวลิป กรุงเทพฯ ม.ล.ปุณฑริก สมิติ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) เป็นประธาน เปิดโครงการเสริมสร้างเจตคติความเสมอภาคหญิงชายกับการพัฒนาฝีมือแรงงานในประชาคมอาเซียน พร้อมกล่าวว่า ความเสมอภาคระหว่างหญิงชายได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ และ กพร. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานให้บริการประชาชนจึงต้องมองเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญและร่วมส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย โดยวางแผนแม่บทการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายระหว่างปีงบประมาณ 2555 - 2559 อาทิ การเพิ่มสัดส่วนแรงงานฝีมือหญิงเข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติให้มากขึ้น ในปี 2558 นี้ ตั้งเป้าไว้ที่ร้อยละ 38.5 และปี 2559 ตั้งเป้าให้เพิ่มเป็นร้อยละ 39 เพิ่มความรู้เรื่องความเท่าเทียมของหญิงชายให้ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยปี 2558 ตั้งเป้าไว้ที่ ร้อยละ 80 และปี 2559 ให้เพิ่มเป็นร้อยละ 90 นอกจากนี้ ให้เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรให้บุคลากร กพร. เข้าใจ เรื่องความเสมอภาค โดยในปี 2558 ตั้งเป้าไว้ที่ร้อยละ 60 และในปี 2559 ตั้งเป้าไว้ที่ร้อยละ 65 เป็นต้น
ม.ล.ปุณฑริก กล่าวอีกว่า กพร. ได้กำหนดนโยบายความเท่าเทียมในโครงการต่างๆ เช่น การอบรมก่อนเข้าทำงานให้มีแรงงานหญิงเข้าอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ส่งเสริมให้แรงงานหญิงประกอบอาชีพอิสระไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของกลุ่มแรงงานอิสระทั้งหมด และการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน ให้มีแรงงานหญิงไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ทั้งนี้ มองว่า การพัฒนาแรงงานทั้งชายและหญิงในมิติที่เท่าเทียมกัน จะส่งผลให้มีประเทศพัฒนาไปในทิศทางที่ดี
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (25 มี.ค.) ที่ รร.โกดเด้นทิวลิป กรุงเทพฯ ม.ล.ปุณฑริก สมิติ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) เป็นประธาน เปิดโครงการเสริมสร้างเจตคติความเสมอภาคหญิงชายกับการพัฒนาฝีมือแรงงานในประชาคมอาเซียน พร้อมกล่าวว่า ความเสมอภาคระหว่างหญิงชายได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ และ กพร. ในฐานะที่เป็นหน่วยงานให้บริการประชาชนจึงต้องมองเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญและร่วมส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย โดยวางแผนแม่บทการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายระหว่างปีงบประมาณ 2555 - 2559 อาทิ การเพิ่มสัดส่วนแรงงานฝีมือหญิงเข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติให้มากขึ้น ในปี 2558 นี้ ตั้งเป้าไว้ที่ร้อยละ 38.5 และปี 2559 ตั้งเป้าให้เพิ่มเป็นร้อยละ 39 เพิ่มความรู้เรื่องความเท่าเทียมของหญิงชายให้ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยปี 2558 ตั้งเป้าไว้ที่ ร้อยละ 80 และปี 2559 ให้เพิ่มเป็นร้อยละ 90 นอกจากนี้ ให้เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรให้บุคลากร กพร. เข้าใจ เรื่องความเสมอภาค โดยในปี 2558 ตั้งเป้าไว้ที่ร้อยละ 60 และในปี 2559 ตั้งเป้าไว้ที่ร้อยละ 65 เป็นต้น
ม.ล.ปุณฑริก กล่าวอีกว่า กพร. ได้กำหนดนโยบายความเท่าเทียมในโครงการต่างๆ เช่น การอบรมก่อนเข้าทำงานให้มีแรงงานหญิงเข้าอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ส่งเสริมให้แรงงานหญิงประกอบอาชีพอิสระไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของกลุ่มแรงงานอิสระทั้งหมด และการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน ให้มีแรงงานหญิงไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ทั้งนี้ มองว่า การพัฒนาแรงงานทั้งชายและหญิงในมิติที่เท่าเทียมกัน จะส่งผลให้มีประเทศพัฒนาไปในทิศทางที่ดี
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่