ครูห่วงพ่อแม่ยัดเยียดลูก “กวดวิชา” ตั้งแต่อนุบาล หวังอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น สอบเข้า ร.ร. ประถมชื่อดัง ชี้พัฒนาการเกินวัยส่งผลร้าย ขาดพัฒนาทักษะด้านอื่น ทั้งพฤติกรรม อารมณ์ สังคม ส่งผลต่อความสำเร็จในอนาคต เสนอ 3 ข้อทางออก เน้นโรงเรียนเลิกสอนตามใจผู้ปกครอง เน้นสร้างกิจกรรมให้เด็กเรียนรู้ คิดแก้ปัญหา เล่น - ทำงานร่วมกัน จี้แก้ปัญหาสอบเข้าเรียน ป.1
วันนี้ (24 มี.ค.) ที่อาคารไอบีเอ็ม ผศ.ดร.ศศิลักษณ์ ขยันกิจ ประธานสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในงานแถลงข่าว “ปฐมวัย : ลงทุนอย่างไรให้คุ้มค่า” จัดโดย สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับเครือข่ายคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์และครูปฐมวัย ว่า จากการวิจัยและติดตามพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทยพบว่า เด็กวัยดังกล่าวกำลังถูกเร่งรัดให้มีพัฒนาการเกินวัย โดยเฉพาะการกวดวิชาตั้งแต่อนุบาล ทั้งวันหยุดและปิดเทอม เพื่อโอกาสเข้าเรียนต่อในดรงเรียนประถมชื่อดัง ซึ่งสุดท้ายจะส่งผลเสียต่อการพัฒนาทักษะด้านการเรียนรู้ในอนาคต เนื่องจากเด็กวัยนี้สมองจะเปิดรับการเรียนรู้ได้ดีที่สุด โดยเฉพาะทักษะด้านพฤติกรรม เช่น การคิดสร้างสรรค์ อารมณ์ การพูดและการเคลื่อนไหว แต่เมื่อถูกพัฒนาทักษะด้านเดียว ส่งผลให้เด็กขาดแรงจูงใจการเรียนรู้ ขาดทักษะการทำงานร่วมกับคนอื่น และขาดทักษะความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและผู้อื่น เป็นการเสียโอกาสที่มีอยู่อย่างจำกัดในการสร้างทักษะด้านพฤติกรรม ซึ่งจะส่งผลต่อความสำเร็จด้านการศึกษาและการทำงานในอนาคต
“เรื่องนี้เกิดจากความเข้าใจคลาดเคลื่อนของผู้ปกครองที่คาดหวังให้เด็กอนุบาลอ่านออกบวกลบเลขได้ และผู้บริหารสถานศึกษาที่ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย รวมถึงการวัดผลด้วยการทดสอบความรู้ด้านเนื้อหาสาระ ทำให้ระบบการเรียนการสอนเด็กในระดับอนุบาลและประถมศึกษาตอนต้นมุ่งเน้นการท่องจำความรู้ ซึ่งเป็นการสูญเสียโอกาสในการเรียนรู้จากหน้าต่างแห่งโอกาส” ผศ.ดร.ศศิลักษณ์ กล่าว
ผศ.ดร.ศศิลักษณ์ กล่าวว่า การแก้ปัญหานั้น เครือข่ายคณาจารย์ครุศาสตร์ฯมี 3 ข้อเสนอในการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย “เด็กพร้อม ครอบครัวพร้อม ระบบการศึกษาพร้อม” คือ 1. เด็กพร้อม ประกอบด้วย ขยายโอกาสทางการศึกษาปฐมวัยให้เด็กทุกคน การจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติตามวัย จัดสรรงบประมาณให้ครอบคลุมเด็กทุกวัย โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยด้อยโอกาส 2. ครอบครัวพร้อม ต้องให้ความรู้พ่อแม่และครอบครัว สนับสนุนสวัสดิการการดูแลบุตรตั้งแต่ในครรภ์ ขยายเวลาลาคลอดให้ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 6 เดือน เป็นต้น และ 3. ระบบการศึกษาพร้อม รัฐต้องกำหนดเป้าหมายพัฒนาคุณลักษณะของคนไทย โดยหลักสูตรต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องเหมาะสมกับช่วยวัย จัดสรรงบเพื่อยกระดับสถานศึกษาให้ทัดเทียมกันทั้งรัฐและเอกชน การปรับเปลี่ยนการวัดประเมินผลเด็กปฐมวัย ไม่ใช้การสอบ แก้ปัญหาการสอบเข้าเรียนต่อระดับ ป.1 และพัฒนารอยต่อทางการศึกษาในแต่ละช่วงวัย
ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. กล่าวว่า ยังมีเด็กปฐมวัยอีก 12% หรือ 365,506 คน ที่ไม่ได้รับโอกาสในการเข้าเรียนในศูนย์เด็กเล็ก หรือโรงเรียนอนุบาลเพื่อเตรียมความพร้อมในช่วงปฐมวัย ถือเป็นการสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมแก่ประเทศไทยในอนาคตอย่างมาก จากข้อมูลของ เจมส์ แฮคแมน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2543 ระบุว่า การลงทุนในเด็กปฐมวัยผ่านการพัฒนาทักษะด้านพฤติกรรม จะสร้างผลตอบแทนคืนกลับทั้งต่อเด็กเยาวชนและสังคมในอนาคตสูงมากถึง 7 เท่า เพราะหน้าต่างแห่งโอกาส ในการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ของมนุษย์ จะเกิดขึ้นอย่างเต็มที่ในช่วงปฐมวัยเท่านั้น
ดร.นฤมล เนียมหอม ครูปฐมวัยร.ร.ทุ่งมหาเมฆ โรงเรียนในสังกัด สพป.กทม. กล่าวว่า โรงเรียนต้องกล้าหาญในการจัดการเรียนการสอนตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย ไม่ตามใจผู้ปกครองที่ต้องการให้สอนอ่านเขียนเรียนเลขในวัยอนุบาล ต้องอาศัยทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดการยอมรับการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก ซึ่งวัยอนุบาล 3 - 5 ปี เป็นวัยที่เรียนรู้ผ่านการเล่นเป็นกิจกรรม การที่ครูจัดกิจกรรมประจำวันให้เด็กได้เล่นอย่างมีจุดมุ่งหมายจะทำให้เด็กได้สังเกต ได้ทดลอง ได้คิดแก้ปัญหา ได้ค้นพบ ได้เล่นและทำงานร่วมกัน จึงเป็นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็ก และทำให้เด็กมีความสุขกับการเรียนรู้ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ตลอดชีวิต นอกจากนี้ เด็กวัยนี้ยังมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ การที่เด็กได้เสนอความคิด ได้ทำตามที่ตนเองจินตนาการ เด็กจะมีพื้นฐานที่ดีในการเป็นผู้สร้าง เป็นนักคิดในอนาคต หากเด็กเรียนแบบเร่งรัดวิชาการย่อมทำลายพื้นฐานที่มีค่านี้ไป เพียงเพื่อตอบสนองต่อผู้ที่ไม่เข้าใจพัฒนาการเด็ก ให้เกิดความพอใจว่าเด็กอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็นตั้งแต่เล็ก
“เด็กที่โรงเรียนมาจากต้นทุนที่ไม่สูง เพราะเป็นโรงเรียนของรัฐ แต่เมื่อได้รับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสมตามวัยและความต่างของเด็กแต่ละคน เด็กทุกคนก็สามารถอ่านออกเขียนได้เมื่อเข้าสู่ชั้นประถม 1 แถมยังมีข้อได้เปรียบที่เด็กเหล่านี้จะเป็นคนรักเรียน ไม่ต้องถูกบังคับให้เรียน และเมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนก็สามารถเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมของรัฐได้” ดร.นฤมล กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (24 มี.ค.) ที่อาคารไอบีเอ็ม ผศ.ดร.ศศิลักษณ์ ขยันกิจ ประธานสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในงานแถลงข่าว “ปฐมวัย : ลงทุนอย่างไรให้คุ้มค่า” จัดโดย สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับเครือข่ายคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์และครูปฐมวัย ว่า จากการวิจัยและติดตามพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทยพบว่า เด็กวัยดังกล่าวกำลังถูกเร่งรัดให้มีพัฒนาการเกินวัย โดยเฉพาะการกวดวิชาตั้งแต่อนุบาล ทั้งวันหยุดและปิดเทอม เพื่อโอกาสเข้าเรียนต่อในดรงเรียนประถมชื่อดัง ซึ่งสุดท้ายจะส่งผลเสียต่อการพัฒนาทักษะด้านการเรียนรู้ในอนาคต เนื่องจากเด็กวัยนี้สมองจะเปิดรับการเรียนรู้ได้ดีที่สุด โดยเฉพาะทักษะด้านพฤติกรรม เช่น การคิดสร้างสรรค์ อารมณ์ การพูดและการเคลื่อนไหว แต่เมื่อถูกพัฒนาทักษะด้านเดียว ส่งผลให้เด็กขาดแรงจูงใจการเรียนรู้ ขาดทักษะการทำงานร่วมกับคนอื่น และขาดทักษะความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและผู้อื่น เป็นการเสียโอกาสที่มีอยู่อย่างจำกัดในการสร้างทักษะด้านพฤติกรรม ซึ่งจะส่งผลต่อความสำเร็จด้านการศึกษาและการทำงานในอนาคต
“เรื่องนี้เกิดจากความเข้าใจคลาดเคลื่อนของผู้ปกครองที่คาดหวังให้เด็กอนุบาลอ่านออกบวกลบเลขได้ และผู้บริหารสถานศึกษาที่ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย รวมถึงการวัดผลด้วยการทดสอบความรู้ด้านเนื้อหาสาระ ทำให้ระบบการเรียนการสอนเด็กในระดับอนุบาลและประถมศึกษาตอนต้นมุ่งเน้นการท่องจำความรู้ ซึ่งเป็นการสูญเสียโอกาสในการเรียนรู้จากหน้าต่างแห่งโอกาส” ผศ.ดร.ศศิลักษณ์ กล่าว
ผศ.ดร.ศศิลักษณ์ กล่าวว่า การแก้ปัญหานั้น เครือข่ายคณาจารย์ครุศาสตร์ฯมี 3 ข้อเสนอในการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย “เด็กพร้อม ครอบครัวพร้อม ระบบการศึกษาพร้อม” คือ 1. เด็กพร้อม ประกอบด้วย ขยายโอกาสทางการศึกษาปฐมวัยให้เด็กทุกคน การจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติตามวัย จัดสรรงบประมาณให้ครอบคลุมเด็กทุกวัย โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยด้อยโอกาส 2. ครอบครัวพร้อม ต้องให้ความรู้พ่อแม่และครอบครัว สนับสนุนสวัสดิการการดูแลบุตรตั้งแต่ในครรภ์ ขยายเวลาลาคลอดให้ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 6 เดือน เป็นต้น และ 3. ระบบการศึกษาพร้อม รัฐต้องกำหนดเป้าหมายพัฒนาคุณลักษณะของคนไทย โดยหลักสูตรต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องเหมาะสมกับช่วยวัย จัดสรรงบเพื่อยกระดับสถานศึกษาให้ทัดเทียมกันทั้งรัฐและเอกชน การปรับเปลี่ยนการวัดประเมินผลเด็กปฐมวัย ไม่ใช้การสอบ แก้ปัญหาการสอบเข้าเรียนต่อระดับ ป.1 และพัฒนารอยต่อทางการศึกษาในแต่ละช่วงวัย
ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. กล่าวว่า ยังมีเด็กปฐมวัยอีก 12% หรือ 365,506 คน ที่ไม่ได้รับโอกาสในการเข้าเรียนในศูนย์เด็กเล็ก หรือโรงเรียนอนุบาลเพื่อเตรียมความพร้อมในช่วงปฐมวัย ถือเป็นการสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมแก่ประเทศไทยในอนาคตอย่างมาก จากข้อมูลของ เจมส์ แฮคแมน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี 2543 ระบุว่า การลงทุนในเด็กปฐมวัยผ่านการพัฒนาทักษะด้านพฤติกรรม จะสร้างผลตอบแทนคืนกลับทั้งต่อเด็กเยาวชนและสังคมในอนาคตสูงมากถึง 7 เท่า เพราะหน้าต่างแห่งโอกาส ในการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ของมนุษย์ จะเกิดขึ้นอย่างเต็มที่ในช่วงปฐมวัยเท่านั้น
ดร.นฤมล เนียมหอม ครูปฐมวัยร.ร.ทุ่งมหาเมฆ โรงเรียนในสังกัด สพป.กทม. กล่าวว่า โรงเรียนต้องกล้าหาญในการจัดการเรียนการสอนตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย ไม่ตามใจผู้ปกครองที่ต้องการให้สอนอ่านเขียนเรียนเลขในวัยอนุบาล ต้องอาศัยทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดการยอมรับการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก ซึ่งวัยอนุบาล 3 - 5 ปี เป็นวัยที่เรียนรู้ผ่านการเล่นเป็นกิจกรรม การที่ครูจัดกิจกรรมประจำวันให้เด็กได้เล่นอย่างมีจุดมุ่งหมายจะทำให้เด็กได้สังเกต ได้ทดลอง ได้คิดแก้ปัญหา ได้ค้นพบ ได้เล่นและทำงานร่วมกัน จึงเป็นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็ก และทำให้เด็กมีความสุขกับการเรียนรู้ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ตลอดชีวิต นอกจากนี้ เด็กวัยนี้ยังมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ การที่เด็กได้เสนอความคิด ได้ทำตามที่ตนเองจินตนาการ เด็กจะมีพื้นฐานที่ดีในการเป็นผู้สร้าง เป็นนักคิดในอนาคต หากเด็กเรียนแบบเร่งรัดวิชาการย่อมทำลายพื้นฐานที่มีค่านี้ไป เพียงเพื่อตอบสนองต่อผู้ที่ไม่เข้าใจพัฒนาการเด็ก ให้เกิดความพอใจว่าเด็กอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็นตั้งแต่เล็ก
“เด็กที่โรงเรียนมาจากต้นทุนที่ไม่สูง เพราะเป็นโรงเรียนของรัฐ แต่เมื่อได้รับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสมตามวัยและความต่างของเด็กแต่ละคน เด็กทุกคนก็สามารถอ่านออกเขียนได้เมื่อเข้าสู่ชั้นประถม 1 แถมยังมีข้อได้เปรียบที่เด็กเหล่านี้จะเป็นคนรักเรียน ไม่ต้องถูกบังคับให้เรียน และเมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนก็สามารถเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมของรัฐได้” ดร.นฤมล กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่