“ณรงค์” เตรียมถกร่วมบอร์ด สทศ. เรื่องลดสอบ O-Net 25 ก.พ. นี้ ระบุในหลักการเห็นด้วยต้องประกาศล่วงหน้า ขณะที่ นักวิชาการ แนะใช้โอกาสปีแห่งการปฏิรูปเดินหน้าแก้ปัญหา เชื่อมโยงการปฏิรูปการเรียนรู้ แก้ปัญหาหลักสูตร การวัดผล ไว้ในคราวเดียวกัน
วันนี้ (23 ก.พ.) พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติยืนยันว่า ในปีการศึกษา 2558 จะใช้คะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มาเป็นองค์ประกอบการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือ แอดมิชชัน ในสัดส่วน 30% ตามเดิม เพื่อไม่ให้กระทบกับเด็กที่กำลังจะเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยกว่า 300,000 คนโดยจะทำหนังสือชี้แจงถึงเหตุผลมายัง รมว.ศึกษาธิการ ด้วย ว่า ตนยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว แต่พร้อมรับฟังเหตุผล ทั้งนี้ คงรอดูรายละเอียดจากทาง ทปอ. ว่ามีเหตุผลอะไร ที่ทำให้ยังจำเป็นต้องสอบ O-Net ทั้ง 8 กลุ่มสาระฯ ในการเข้าเรียนต่อ โดยในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ นี้ ตนจะไปหารือเรื่องการลดสอบกับคณะกรรมการบริหาร สทศ. อีกครั้ง ว่าจะดำเนินการอย่างไร ส่วนข้อเสนอที่ว่าจะต้องประกาศล่วงหน้าให้เด็กได้เตรียมพร้อมเป็นเวลา 3 ปีนั้น โดยหลักการตนเห็นด้วย แต่จะประกาศล่วงหน้ากี่ปีนั้น ก็คงต้องมาพูดคุยและรับฟังเหตุผลร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง
ด้าน ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ที่ผ่านมาคะแนน O-Net มีลักษณะคงที่หรือต่ำลงมาหลายปี โดยเฉพาะในช่วงที่มีนโยบายเพิ่มคะแนน O-Net ทำให้มีผลต่อตำแหน่งผู้บริหาร จึงทำให้เกิดกระแสการติวO-Net เพื่อไม่ให้คะแนนต่ำ แต่ที่สุดแล้ว เราก็ยังไม่เห็นความแตกต่างของคะแนนที่เพิ่มขึ้นมากนัก ดังนั้น ตนจึงอยากให้ใช้โอกาสในปีนี้ซึ่งเป็นปีแห่งการปฏิรูป แก้ปัญหาทั้งระบบโดยเน้นการเรียนรู้เชิงคิดวิเคราะห์ให้มากขึ้น โดยทั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกับวิเคราะห์ปัญหาวิเกิดอะไรขึ้น และหาเจ้าภาพหลักในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะเรื่องหลักสูตรที่เน้นเนื้อหา ซึ่งส่วนทางกับข้อสอบของ สทศ. ซึ่งเน้นการคิดวิเคราะห์ ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจในภาพรวม เพื่อให้การดำเนินการต่างๆ มีความสอดคล้องกันทั้งระบบ ทั้งนี้ การแก้ปัญหาควรเชื่อมโยงทั้งการปฏิรูปการเรียนรู้ หลักสูตรและการวัดผลไว้ในคราวเดียวกัน ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการ ถือเป็นผู้มีอำนาจสั่งการจึงต้องกำหนดเป็นนโยบายให้ชัดเจน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (23 ก.พ.) พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติยืนยันว่า ในปีการศึกษา 2558 จะใช้คะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มาเป็นองค์ประกอบการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือ แอดมิชชัน ในสัดส่วน 30% ตามเดิม เพื่อไม่ให้กระทบกับเด็กที่กำลังจะเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยกว่า 300,000 คนโดยจะทำหนังสือชี้แจงถึงเหตุผลมายัง รมว.ศึกษาธิการ ด้วย ว่า ตนยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว แต่พร้อมรับฟังเหตุผล ทั้งนี้ คงรอดูรายละเอียดจากทาง ทปอ. ว่ามีเหตุผลอะไร ที่ทำให้ยังจำเป็นต้องสอบ O-Net ทั้ง 8 กลุ่มสาระฯ ในการเข้าเรียนต่อ โดยในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ นี้ ตนจะไปหารือเรื่องการลดสอบกับคณะกรรมการบริหาร สทศ. อีกครั้ง ว่าจะดำเนินการอย่างไร ส่วนข้อเสนอที่ว่าจะต้องประกาศล่วงหน้าให้เด็กได้เตรียมพร้อมเป็นเวลา 3 ปีนั้น โดยหลักการตนเห็นด้วย แต่จะประกาศล่วงหน้ากี่ปีนั้น ก็คงต้องมาพูดคุยและรับฟังเหตุผลร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง
ด้าน ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ที่ผ่านมาคะแนน O-Net มีลักษณะคงที่หรือต่ำลงมาหลายปี โดยเฉพาะในช่วงที่มีนโยบายเพิ่มคะแนน O-Net ทำให้มีผลต่อตำแหน่งผู้บริหาร จึงทำให้เกิดกระแสการติวO-Net เพื่อไม่ให้คะแนนต่ำ แต่ที่สุดแล้ว เราก็ยังไม่เห็นความแตกต่างของคะแนนที่เพิ่มขึ้นมากนัก ดังนั้น ตนจึงอยากให้ใช้โอกาสในปีนี้ซึ่งเป็นปีแห่งการปฏิรูป แก้ปัญหาทั้งระบบโดยเน้นการเรียนรู้เชิงคิดวิเคราะห์ให้มากขึ้น โดยทั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกับวิเคราะห์ปัญหาวิเกิดอะไรขึ้น และหาเจ้าภาพหลักในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะเรื่องหลักสูตรที่เน้นเนื้อหา ซึ่งส่วนทางกับข้อสอบของ สทศ. ซึ่งเน้นการคิดวิเคราะห์ ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจในภาพรวม เพื่อให้การดำเนินการต่างๆ มีความสอดคล้องกันทั้งระบบ ทั้งนี้ การแก้ปัญหาควรเชื่อมโยงทั้งการปฏิรูปการเรียนรู้ หลักสูตรและการวัดผลไว้ในคราวเดียวกัน ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการ ถือเป็นผู้มีอำนาจสั่งการจึงต้องกำหนดเป็นนโยบายให้ชัดเจน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่