“เอ็นจีโอ” จี้รื้อ กม.ประมวลแพ่ง - พาณิชย์ ช่วยเหลือคู่รักร่วมเพศ - ผู้ที่รักสองเพศ - ผู้ที่รักข้ามเพศ หลังเผชิญปัญหาทั้งด้านสุขภาพ เข้าไม่ถึงสิทธิสวัสดิการ ขณะที่คู่รักเพศเดียวกันวอนแก้ไขให้เกิดความคุ้มครอง สร้างความเท่าเทียม
วันนี้ (11 มี.ค.) ที่เดอะคอนเนคชั่น กรุงเทพฯ ในเวทีเสวนา “เพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสไม่ได้ มีช่องทางกฎหมายใดบ้างที่ช่วยคุ้มครองชีวิตคู่และครอบครัวที่หลากหลาย” จัดโดย มูลนิธิอัญจารี ร่วมกับ มูลนิธิสร้างความเข้าใจสุขภาพผู้หญิง มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และสมาคมฟ้าสีรุ้ง
นางสาวอัญชนา สุวรรณานนท์ ผู้อำนวยการมูลนิธิอัญจารี กล่าวว่า ที่ผ่านมา มูลนิธิฯได้ให้คำปรึกษาและสนับสนุนสิทธิของคู่รัก กลุ่มหญิงรักหญิง ชายรักชาย ผู้ที่รักสองเพศ ผู้ที่รักข้ามเพศ (LGBT) แต่จากการพูดคุยเราพบปัญหาที่น่าห่วง เนื่องจากคู่ชีวิตเหล่านี้ที่ไม่ใช่คู่สามีภรรยาแบบหญิงชายทั่วไปเนื่องจากไทยยังไม่มีกฎหมายให้คู่รักเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรส ทำให้มีปัญหา ทั้งไม่สามารถเซ็นชื่อแทนเพื่อเข้ารับการรักษาในกรณีที่คู่รักหมดสติ ไม่สามารถรับสวัสดิการของรัฐหรือกองทุนประกันสังคมได้ ไม่สามารถทำธุรกรรมเพื่อเข้าถึงสิทธิได้ ทำการกู้ร่วมไม่ได้ รับบุตรบุญธรรมร่วมกันไม่ได้
“ตามกฎหมายถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินร้ายแรงขึ้นกับชีวิต ผู้กำกับดูแลทั้งการรักษา ทำศพ ทรัพย์สมบัติ หรือถ้าพิการช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้การดูแลของพ่อแม่ จากสภาพปัญหาเบื้องต้นแม้จะนำไปสู่การแก้ไข เช่น ทำพินัยกรรม เพื่อลดการท้วงติงฟ้องร้อง หรือทำข้อตกลงร่วมกัน แต่ช่องทางเหล่านี้ ช่วยแค่ทุเลาปัญหาได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้น การคุ้มครองสร้างความเท่าเทียมที่มั่นคงในชีวิต จะต้องแก้ไขกฎหมายประมวลแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเรื่องครอบครัว เพื่อเปิดรับครอบครัวทุกรูปแบบให้เข้าถึงสิทธิเหมือนอย่างที่คู่สมรสชายหญิงได้รับ”นางสาวอัญชนา กล่าว
นางสาวอัญชนา กล่าวด้วยว่า ยังมีคู่ชีวิตหลายคู่ที่ไม่ได้รับสิทธิทางกฎหมาย และยังขาดความรู้ความเข้าใจว่ามีข้อกฎหมายใดบ้างที่จะช่วยคุ้มครองได้ จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปิดกว้างเห็นถึงความสำคัญของคนกลุ่มนี้ เพราะหากดูจากสถิติ กลุ่มที่ได้รับความรุนแรงสูงสุดอันดับ 1 คือ สาวประเภทสอง รองลงมา ชายรักชาย หญิงรักหญิง ผู้ที่รักสองเพศ ส่วนความรุนแรงมีทุกรูปแบบ ทั้งด่าว่า เสียดสี ประชดประชัน ทำร้ายร่างกาย ทุบตี ไล่ออกจากบ้าน หรือถูกบังคับให้เข้ารับการบำบัดรักษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรสนิยมทางเพศ ถูกบังคับให้บวชหรือไม่อนุญาตให้บวช ถูกเพื่อน ญาติ และคนในครอบครัวคุกคาม ล่วงละเมิดทางเพศ
ด้าน นางสาวธนาภร คำศรี อายุ 51 ปี อาชีพพนักงาน ขสมก. ผู้มีรสนิยมรักเพศเดียวกัน กล่าวว่า ต้องเผชิญกับปัญหาในการรับการรักษา โดยเหตุการณ์ที่ต้องสูญเสียแฟนไป คือ เขาหมดสติ มีคนพาส่งโรงพยาบาล เมื่อตนไปถึงพยาบาลก็สั่งให้ตามญาติมาเพื่อเซ็นรับการรักษา ซึ่งเราทำอะไรไม่ได้ เพราะกฎหมายถือว่าเป็นคนนอก พยาบาลทำได้เพียงใส่เครื่องช่วยหายใจ จากนั้นต้องไปค้นหาเอกสารหาข้อมูลของญาติแฟน กว่าจะติดต่อและได้รับการรักษาก็ใช้เวลาถึงบ่ายของอีกวันเพราะต้องรอญาติ หลังจากนั้นผ่านมา 1 เดือน แฟนก็เสียชีวิต แพทย์ระบุว่าเส้นเลือดในสมองแตก
นายสุจินต์ อยู่ปรางค์ทอง อายุ 43 ปี พนักงานองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสุขภาพ กล่าวถึงอุปสรรคการใช้ชีวิตคู่แบบชายรักชายมากว่า 12 ปี ว่า ด้วยข้อบังคับเรื่องการรักษาพยาบาลเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น จึงต้องเตรียมให้แฟนหรือตนเซ็นเอกสารไว้ก่อนเข้ารับการรักษาเสมอ แต่ยังมีข้อจำกัดอื่นๆ อีกมาก เช่น แพทย์ไม่ให้เข้าไปฟังผลการรักษา แพทย์ไม่สามารถให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับคนไข้ นอกจากนี้ ชีวิตคู่ของตนยังพบปัญหาเรื่องการทำธุรกรรมทางการเงิน เพราะเปิดบัญชีร่วมกันไม่ได้ เนื่องจากหากใครเสียชีวิตต้องให้ญาติมายืนยันเพื่อรับผลประโยชน์ โดยเราทั้งคู่ไม่สามารถรับหรือใช้ใบมรณบัตรรับผลประโยชน์ได้ หรือแม้แต่เป็นการกู้ร่วม การซื้อบ้าน คอนโด รถยนต์ เหตุการณ์ลักษณะนี้เชื่อว่าคู่ชีวิตหญิงรักหญิง ชายรักชาย ต้องเจอ แม้แต่เงินกองทุนสวัสดิการเลี้ยงชีพ เรายังไม่สามารถระบุผู้รับผลประโยชน์เป็นชื่อแฟนได้ จึงอยากให้เร่งแก้ไขข้อบังคับนี้เพื่อให้คนทุกกลุ่มทุกเพศได้เข้าถึงสิทธิ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (11 มี.ค.) ที่เดอะคอนเนคชั่น กรุงเทพฯ ในเวทีเสวนา “เพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสไม่ได้ มีช่องทางกฎหมายใดบ้างที่ช่วยคุ้มครองชีวิตคู่และครอบครัวที่หลากหลาย” จัดโดย มูลนิธิอัญจารี ร่วมกับ มูลนิธิสร้างความเข้าใจสุขภาพผู้หญิง มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และสมาคมฟ้าสีรุ้ง
นางสาวอัญชนา สุวรรณานนท์ ผู้อำนวยการมูลนิธิอัญจารี กล่าวว่า ที่ผ่านมา มูลนิธิฯได้ให้คำปรึกษาและสนับสนุนสิทธิของคู่รัก กลุ่มหญิงรักหญิง ชายรักชาย ผู้ที่รักสองเพศ ผู้ที่รักข้ามเพศ (LGBT) แต่จากการพูดคุยเราพบปัญหาที่น่าห่วง เนื่องจากคู่ชีวิตเหล่านี้ที่ไม่ใช่คู่สามีภรรยาแบบหญิงชายทั่วไปเนื่องจากไทยยังไม่มีกฎหมายให้คู่รักเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรส ทำให้มีปัญหา ทั้งไม่สามารถเซ็นชื่อแทนเพื่อเข้ารับการรักษาในกรณีที่คู่รักหมดสติ ไม่สามารถรับสวัสดิการของรัฐหรือกองทุนประกันสังคมได้ ไม่สามารถทำธุรกรรมเพื่อเข้าถึงสิทธิได้ ทำการกู้ร่วมไม่ได้ รับบุตรบุญธรรมร่วมกันไม่ได้
“ตามกฎหมายถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินร้ายแรงขึ้นกับชีวิต ผู้กำกับดูแลทั้งการรักษา ทำศพ ทรัพย์สมบัติ หรือถ้าพิการช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้การดูแลของพ่อแม่ จากสภาพปัญหาเบื้องต้นแม้จะนำไปสู่การแก้ไข เช่น ทำพินัยกรรม เพื่อลดการท้วงติงฟ้องร้อง หรือทำข้อตกลงร่วมกัน แต่ช่องทางเหล่านี้ ช่วยแค่ทุเลาปัญหาได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้น การคุ้มครองสร้างความเท่าเทียมที่มั่นคงในชีวิต จะต้องแก้ไขกฎหมายประมวลแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเรื่องครอบครัว เพื่อเปิดรับครอบครัวทุกรูปแบบให้เข้าถึงสิทธิเหมือนอย่างที่คู่สมรสชายหญิงได้รับ”นางสาวอัญชนา กล่าว
นางสาวอัญชนา กล่าวด้วยว่า ยังมีคู่ชีวิตหลายคู่ที่ไม่ได้รับสิทธิทางกฎหมาย และยังขาดความรู้ความเข้าใจว่ามีข้อกฎหมายใดบ้างที่จะช่วยคุ้มครองได้ จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปิดกว้างเห็นถึงความสำคัญของคนกลุ่มนี้ เพราะหากดูจากสถิติ กลุ่มที่ได้รับความรุนแรงสูงสุดอันดับ 1 คือ สาวประเภทสอง รองลงมา ชายรักชาย หญิงรักหญิง ผู้ที่รักสองเพศ ส่วนความรุนแรงมีทุกรูปแบบ ทั้งด่าว่า เสียดสี ประชดประชัน ทำร้ายร่างกาย ทุบตี ไล่ออกจากบ้าน หรือถูกบังคับให้เข้ารับการบำบัดรักษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรสนิยมทางเพศ ถูกบังคับให้บวชหรือไม่อนุญาตให้บวช ถูกเพื่อน ญาติ และคนในครอบครัวคุกคาม ล่วงละเมิดทางเพศ
ด้าน นางสาวธนาภร คำศรี อายุ 51 ปี อาชีพพนักงาน ขสมก. ผู้มีรสนิยมรักเพศเดียวกัน กล่าวว่า ต้องเผชิญกับปัญหาในการรับการรักษา โดยเหตุการณ์ที่ต้องสูญเสียแฟนไป คือ เขาหมดสติ มีคนพาส่งโรงพยาบาล เมื่อตนไปถึงพยาบาลก็สั่งให้ตามญาติมาเพื่อเซ็นรับการรักษา ซึ่งเราทำอะไรไม่ได้ เพราะกฎหมายถือว่าเป็นคนนอก พยาบาลทำได้เพียงใส่เครื่องช่วยหายใจ จากนั้นต้องไปค้นหาเอกสารหาข้อมูลของญาติแฟน กว่าจะติดต่อและได้รับการรักษาก็ใช้เวลาถึงบ่ายของอีกวันเพราะต้องรอญาติ หลังจากนั้นผ่านมา 1 เดือน แฟนก็เสียชีวิต แพทย์ระบุว่าเส้นเลือดในสมองแตก
นายสุจินต์ อยู่ปรางค์ทอง อายุ 43 ปี พนักงานองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสุขภาพ กล่าวถึงอุปสรรคการใช้ชีวิตคู่แบบชายรักชายมากว่า 12 ปี ว่า ด้วยข้อบังคับเรื่องการรักษาพยาบาลเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น จึงต้องเตรียมให้แฟนหรือตนเซ็นเอกสารไว้ก่อนเข้ารับการรักษาเสมอ แต่ยังมีข้อจำกัดอื่นๆ อีกมาก เช่น แพทย์ไม่ให้เข้าไปฟังผลการรักษา แพทย์ไม่สามารถให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับคนไข้ นอกจากนี้ ชีวิตคู่ของตนยังพบปัญหาเรื่องการทำธุรกรรมทางการเงิน เพราะเปิดบัญชีร่วมกันไม่ได้ เนื่องจากหากใครเสียชีวิตต้องให้ญาติมายืนยันเพื่อรับผลประโยชน์ โดยเราทั้งคู่ไม่สามารถรับหรือใช้ใบมรณบัตรรับผลประโยชน์ได้ หรือแม้แต่เป็นการกู้ร่วม การซื้อบ้าน คอนโด รถยนต์ เหตุการณ์ลักษณะนี้เชื่อว่าคู่ชีวิตหญิงรักหญิง ชายรักชาย ต้องเจอ แม้แต่เงินกองทุนสวัสดิการเลี้ยงชีพ เรายังไม่สามารถระบุผู้รับผลประโยชน์เป็นชื่อแฟนได้ จึงอยากให้เร่งแก้ไขข้อบังคับนี้เพื่อให้คนทุกกลุ่มทุกเพศได้เข้าถึงสิทธิ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่