สพฐ. ร่วมมือกับ ม.กิฟุ ประเทศญี่ปุ่น ทำการวิจัย 5 โรงเรียนการศึกษาพิเศษของไทย ทำการวิจัยเปรียบเทียบการพัฒนาการเรียนการสอนเด็กพิเศษโดยการเกษตร
วันนี้ (10 มี.ค.) นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) ได้ลงนามความร่วมมือ มหาวิทยาลัยกิฟุ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมการทำวิจัยกับโรงเรียนการศึกษาพิเศษในประเทศไทย และเพื่อเป็นการเปรียบเทียบการจัดการเรียนการสอนผู้ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ในการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำในอาชีพด้านการเกษตรระหว่างการศึกษาพิเศษทั้ง 2 ประเทศ ทั้งนี้ สพฐ. มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษของประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการยกระดับความเป็นมืออาชีพของผู้บริหาร ครูผู้สอน และบุคลากรในสถานศึกษาที่เปิดสอนให้กับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ
สำหรับเป้าหมายในการดำเนินจะแบ่งเป็น 2 โครงการ คือ โครงการในประเทศญี่ปุ่น เป็นโครงการที่ดำเนินการเพื่อส่งเสริม พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาโดยการฝึกอบรมด้านการศึกษาพิเศษที่มหาวิทยาลัยกิฟุ (Gifu University) และมหาวิทยาลัยในเครือข่าย เช่น มหาวิทยาลัย Chubu Gakuin ศึกษาดูงานในสถานศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ศึกษาดูงานการให้บริการด้านสวัสดิการแก่คนพิการ และโครงการในประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษและการส่งเสริมสวัสดิการแก่คนพิการ โดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยกิฟุ และมหาวิทยาลัยในเครือข่าย รวมทั้งคณะกรรมการการศึกษาระดับจังหวัด สถานศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการของคนพิการ
“ความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นการพัฒนาการจัดการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ให้ได้ร่วมศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาโดยใช้การเกษตรกับ 5 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูล จังหวัดลพบุรี โรงเรียนฉะเชิงเทรานุกูล จังหวัดฉะเชิงเทรา โรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล จังหวัดพิษณุโลก โรงเรียนพิจิตรปัญญานุกูล จังหวัดพิจิตร โรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา จังหวัดสงขลา เพื่อเป็นการศึกษาเปรียบเทียบการจัดการศึกษาของโรงเรียนในประเทศญี่ปุ่นและโรงเรียนการศึกษาพิเศษในประเทศไทย และถือเป็นการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการศึกษา โดยเฉพาะด้านการศึกษาพิเศษ พร้อมทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกิฟุประเทศญี่ปุ่น และ สพฐ. ต่อไปอีกด้วย” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (10 มี.ค.) นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) ได้ลงนามความร่วมมือ มหาวิทยาลัยกิฟุ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมการทำวิจัยกับโรงเรียนการศึกษาพิเศษในประเทศไทย และเพื่อเป็นการเปรียบเทียบการจัดการเรียนการสอนผู้ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ในการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำในอาชีพด้านการเกษตรระหว่างการศึกษาพิเศษทั้ง 2 ประเทศ ทั้งนี้ สพฐ. มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษของประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการยกระดับความเป็นมืออาชีพของผู้บริหาร ครูผู้สอน และบุคลากรในสถานศึกษาที่เปิดสอนให้กับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ
สำหรับเป้าหมายในการดำเนินจะแบ่งเป็น 2 โครงการ คือ โครงการในประเทศญี่ปุ่น เป็นโครงการที่ดำเนินการเพื่อส่งเสริม พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาโดยการฝึกอบรมด้านการศึกษาพิเศษที่มหาวิทยาลัยกิฟุ (Gifu University) และมหาวิทยาลัยในเครือข่าย เช่น มหาวิทยาลัย Chubu Gakuin ศึกษาดูงานในสถานศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ศึกษาดูงานการให้บริการด้านสวัสดิการแก่คนพิการ และโครงการในประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการการศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษและการส่งเสริมสวัสดิการแก่คนพิการ โดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยกิฟุ และมหาวิทยาลัยในเครือข่าย รวมทั้งคณะกรรมการการศึกษาระดับจังหวัด สถานศึกษาสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการของคนพิการ
“ความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นการพัฒนาการจัดการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ให้ได้ร่วมศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาโดยใช้การเกษตรกับ 5 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูล จังหวัดลพบุรี โรงเรียนฉะเชิงเทรานุกูล จังหวัดฉะเชิงเทรา โรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล จังหวัดพิษณุโลก โรงเรียนพิจิตรปัญญานุกูล จังหวัดพิจิตร โรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา จังหวัดสงขลา เพื่อเป็นการศึกษาเปรียบเทียบการจัดการศึกษาของโรงเรียนในประเทศญี่ปุ่นและโรงเรียนการศึกษาพิเศษในประเทศไทย และถือเป็นการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการศึกษา โดยเฉพาะด้านการศึกษาพิเศษ พร้อมทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกิฟุประเทศญี่ปุ่น และ สพฐ. ต่อไปอีกด้วย” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่