บิ๊กเต่า” สั่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ สปส. ใช้เงินกองทุนประกันสังคม ดึงภาคประชาชน - ผู้เชี่ยวชาญเป็นกรรมการร่วม เผยตรวจสอบเฉพาะการใช้งบในปี 57 เรียก สปส. รายงานแผนงานใช้เงินกองทุนปี 58 พ้น 6 เดือนประเมินผลการใช้เงินบรรลุเป้าหมายหรือไม่
วันนี้ (9 มี.ค.) พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ยื่นข้อเรียกร้องให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบสำนักงานประกันสังคมในกรณีต่างๆ เช่น การให้เช่าระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ งบประชาสัมพันธ์ งบดูงานต่างประเทศ ว่า แม้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) จะตรวจสอบการใช้เงินของ สปส. ทุกปีซึ่งเป็นไปตามระเบียบทุกอย่าง แต่ภาคประชาชนยังไม่ความเชื่อถือเท่าที่ควร ก็ควรมีคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบการใช้เงินกองทุนประกันสังคมของ สปส. เพราะเป็นการบริหารเงินจำนวนมาก
รมว.แรงงาน กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้ ได้สั่งให้ สปส. ตั้งคณะกรรมการที่มาจากภาคประชาชน ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการคลัง โดยจะให้มีตัวแทนผู้ประกันตนซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ไม่ได้บริหารกองทุนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับ สปส. มาร่วมเป็นกรรมการตรวจสอบด้วย ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการจัดตั้ง โดยคณะกรรมการแต่ละชุดจะทำหน้าที่เพียงชั่วคราว เมื่อตรวจสอบเสร็จก็จะยุบไป และการตรวจสอบจะไม่ย้อนหลังไปถึง 7 ปี เพราะผู้บริหารและข้าราชการรุ่นเก่าเกษียณไปมากแล้ว จะเป็นการตรวจสอบเฉพาะการใช้เงินกองทุนปี 2557 โดยสปส. มีวงรอบการใช้เงินกองทุนตั้งแต่เดือนมกราคม - ธันวาคม ของทุกปี โดยจะเข้าไปตรวจสอบการใช้เงินกองทุนประกันสังคมในหมวดต่างๆ เช่น งบประจำปี งบบริหาร งบกิจกรรม โดยต้องดูว่ามีการใช้งบหมวดใดมากเกินไปหรือไม่
“หลังจากตั้งคณะกรรมการตรวจสอบแล้ว ผมจะให้ สปส. มาชี้แจงแผนงานงบประมาณประกันสังคมในปี 2558 โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบได้รับรู้ข้อมูลด้วย เมื่อ สปส. ใช้เงินกองทุนไปได้ 6 เดือน ก็จะต้องตรวจสอบว่าการใช้เงินกองทุนเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้หรือไม่ เชื่อว่าวิธีเช่นนี้จะทำให้การบริหารกองทุนประกันสังคมมีประสิทธิภาพมากขึ้น” รมว.แรงงาน กล่าว
พล.อ.สุรศักดิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคมฉบับแก้ไข ซึ่งผ่านสภานิติบัญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวาระที่ 3 ไปแล้วนั้น ในภาพรวมตนพอใจกับกฎหมายฉบับนี้ เพราะมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตนมากขึ้นและไม่มีการตัดสิทธิกรณีว่างงานหากผู้ประกันตนลาออกจากงานเอง
“เงินกองทุนประกันสังคมมีจำนวนมาก คงไม่มีใครบริหารได้ง่ายๆ ขณะที่กองทุนเงินเพิ่มขึ้นทุกวัน และมีผู้ประกันตนที่เกษียณจากการทำงานและรับเงินสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพมากขึ้นทุกปี จำเป็นต้องมีมืออาชีพด้านการเงินเข้ามาบริหารกองทุน เพื่อให้การลงทุนได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม แต่วันนี้กระทรวงแรงงานยังใช้วิธีหมุนเวียนข้าราชการระดับสูงมาบริหาร อาจจะไม่ตอบโจทย์การพัฒนากองทุนประกันสังคมให้ไปสู่ความเป็นสากล”รมว.แรงงาน กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (9 มี.ค.) พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ยื่นข้อเรียกร้องให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบสำนักงานประกันสังคมในกรณีต่างๆ เช่น การให้เช่าระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ งบประชาสัมพันธ์ งบดูงานต่างประเทศ ว่า แม้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) จะตรวจสอบการใช้เงินของ สปส. ทุกปีซึ่งเป็นไปตามระเบียบทุกอย่าง แต่ภาคประชาชนยังไม่ความเชื่อถือเท่าที่ควร ก็ควรมีคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบการใช้เงินกองทุนประกันสังคมของ สปส. เพราะเป็นการบริหารเงินจำนวนมาก
รมว.แรงงาน กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้ ได้สั่งให้ สปส. ตั้งคณะกรรมการที่มาจากภาคประชาชน ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการคลัง โดยจะให้มีตัวแทนผู้ประกันตนซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ไม่ได้บริหารกองทุนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับ สปส. มาร่วมเป็นกรรมการตรวจสอบด้วย ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการจัดตั้ง โดยคณะกรรมการแต่ละชุดจะทำหน้าที่เพียงชั่วคราว เมื่อตรวจสอบเสร็จก็จะยุบไป และการตรวจสอบจะไม่ย้อนหลังไปถึง 7 ปี เพราะผู้บริหารและข้าราชการรุ่นเก่าเกษียณไปมากแล้ว จะเป็นการตรวจสอบเฉพาะการใช้เงินกองทุนปี 2557 โดยสปส. มีวงรอบการใช้เงินกองทุนตั้งแต่เดือนมกราคม - ธันวาคม ของทุกปี โดยจะเข้าไปตรวจสอบการใช้เงินกองทุนประกันสังคมในหมวดต่างๆ เช่น งบประจำปี งบบริหาร งบกิจกรรม โดยต้องดูว่ามีการใช้งบหมวดใดมากเกินไปหรือไม่
“หลังจากตั้งคณะกรรมการตรวจสอบแล้ว ผมจะให้ สปส. มาชี้แจงแผนงานงบประมาณประกันสังคมในปี 2558 โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบได้รับรู้ข้อมูลด้วย เมื่อ สปส. ใช้เงินกองทุนไปได้ 6 เดือน ก็จะต้องตรวจสอบว่าการใช้เงินกองทุนเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้หรือไม่ เชื่อว่าวิธีเช่นนี้จะทำให้การบริหารกองทุนประกันสังคมมีประสิทธิภาพมากขึ้น” รมว.แรงงาน กล่าว
พล.อ.สุรศักดิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคมฉบับแก้ไข ซึ่งผ่านสภานิติบัญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวาระที่ 3 ไปแล้วนั้น ในภาพรวมตนพอใจกับกฎหมายฉบับนี้ เพราะมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตนมากขึ้นและไม่มีการตัดสิทธิกรณีว่างงานหากผู้ประกันตนลาออกจากงานเอง
“เงินกองทุนประกันสังคมมีจำนวนมาก คงไม่มีใครบริหารได้ง่ายๆ ขณะที่กองทุนเงินเพิ่มขึ้นทุกวัน และมีผู้ประกันตนที่เกษียณจากการทำงานและรับเงินสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพมากขึ้นทุกปี จำเป็นต้องมีมืออาชีพด้านการเงินเข้ามาบริหารกองทุน เพื่อให้การลงทุนได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม แต่วันนี้กระทรวงแรงงานยังใช้วิธีหมุนเวียนข้าราชการระดับสูงมาบริหาร อาจจะไม่ตอบโจทย์การพัฒนากองทุนประกันสังคมให้ไปสู่ความเป็นสากล”รมว.แรงงาน กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่