แพทย์แนะอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ตรวจตาต้อหินประจำ ชี้พบตั้งแต่ระยะแรก ช่วยรักษาให้และป้องกันตาบอดถาวรได้ ย้ำปล่อยทิ้งไว้นานจนตาบอด จะไม่สามารถทำให้กลับคืนมาได้
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า วันที่ 6 มี.ค. ของทุกปีเป็นวันต้อหินโลก ซึ่งโรคนี้เป็นสาเหตุปัญหาตาบอด หรือสายตาพิการถาวร หากเป็นแล้วจะรักษาให้เหมือนปกติไม่ได้ โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคต้อหินมักจะมีความดันลูกตาสูงกว่าปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการทำลายของประสาทตา ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาประสาทตาก็จะถูกทำลายลงเรื่อยๆ จนทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร แต่ถ้าสามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และรักษาอย่างทันท่วงที ก็จะสามารถรักษาการมองเห็นไว้ได้ โดยอาการของโรคต้อหินในระยะแรกจะไม่มีอาการใดๆ ต่อมาเมื่อประสาทตาถูกทำลายไปมากกว่า 40% ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการสูญเสียการมองเห็นโดยลานสายตาจะแคบลงเรื่อยๆ และถ้าไม่ได้รับการรักษา ประสาทตาก็จะสูญเสียไปอย่างช้าๆ จนกระทั่งมองไม่เห็นในที่สุด
นพ.สุพรรณ กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต้อหินคืออายุมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยชรา มีประวัติต้อหินในครอบครัว เคยมีอุบัติเหตุที่ตา หรือเคยได้รับการผ่าตัดตา มีโรคประจำตัวบางชนิดเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมทั้งผู้ที่มีกระจกตาบางกว่าปกติ ทั้งนี้ สามารถพบผู้ป่วยโรคนี้ได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงผู้สูงอายุ ซึ่งกลุ่มที่พบมากที่สุดคือผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป รวมทั้งผู้ที่มีญาติใกล้ชิด เช่น พี่น้องบิดามารดาเป็นต้อหิน จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต้อหินมากกว่าบุคคลอื่นๆ และผู้ที่มีระดับความดันตาค่อนข้างสูงโดยเฉพาะสูงมากกว่า 21 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ซึ่งในอนาคตจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคต้อหิน นอกจากนี้ ยังพบคนที่สายตาสั้น หรือยาวมากๆ ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคต้อหิน
“การรักษาโรคต้อหินทำเพื่อเป็นการป้องกันและยับยั้งการสูญเสียของชั้นประสาทตาจากโรคต้อหิน เนื่องจากประสาทตาส่วนที่เสียไปแล้วจะไม่สามารถกลับคืนมาได้ การรักษาในปัจจุบันทำโดยการลดความดันลูกตาเพื่อควบคุมโรคต้อหิน ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้ยาหยอดตา รับประทานยา ยิงแสงเลเซอร์ และการทำผ่าตัด แต่ละวิธีมีข้อจำกัดขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยและประเภทของต้อหินสำหรับการป้องกัน แนะนำให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป กลุ่มผู้สูงอายุผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหิน ผู้ที่มีสายตาสั้นหรือยาวมาก ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับเลือดและหลอดเลือดซึ่งเลือดไหลเวียนขึ้นไปประสาทตาไม่ดี และผู้ที่ใช้ยาหยอดตาจำพวกสเตียรอยด์โดยไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของจักษุแพทย์ ควรได้รับการตรวจคัดกรองความดันลูกตาและตรวจขั้วประสาทตา อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และอาจตรวจซ้ำตามคำแนะนำของแพทย์ หากเกิดความผิดปกติกับดวงตาจะได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็วและสามารถใช้งานดวงตาได้ยาวนานมากขึ้น” นพ.สุพรรณ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า วันที่ 6 มี.ค. ของทุกปีเป็นวันต้อหินโลก ซึ่งโรคนี้เป็นสาเหตุปัญหาตาบอด หรือสายตาพิการถาวร หากเป็นแล้วจะรักษาให้เหมือนปกติไม่ได้ โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคต้อหินมักจะมีความดันลูกตาสูงกว่าปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการทำลายของประสาทตา ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาประสาทตาก็จะถูกทำลายลงเรื่อยๆ จนทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร แต่ถ้าสามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และรักษาอย่างทันท่วงที ก็จะสามารถรักษาการมองเห็นไว้ได้ โดยอาการของโรคต้อหินในระยะแรกจะไม่มีอาการใดๆ ต่อมาเมื่อประสาทตาถูกทำลายไปมากกว่า 40% ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการสูญเสียการมองเห็นโดยลานสายตาจะแคบลงเรื่อยๆ และถ้าไม่ได้รับการรักษา ประสาทตาก็จะสูญเสียไปอย่างช้าๆ จนกระทั่งมองไม่เห็นในที่สุด
นพ.สุพรรณ กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต้อหินคืออายุมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยชรา มีประวัติต้อหินในครอบครัว เคยมีอุบัติเหตุที่ตา หรือเคยได้รับการผ่าตัดตา มีโรคประจำตัวบางชนิดเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมทั้งผู้ที่มีกระจกตาบางกว่าปกติ ทั้งนี้ สามารถพบผู้ป่วยโรคนี้ได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงผู้สูงอายุ ซึ่งกลุ่มที่พบมากที่สุดคือผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป รวมทั้งผู้ที่มีญาติใกล้ชิด เช่น พี่น้องบิดามารดาเป็นต้อหิน จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต้อหินมากกว่าบุคคลอื่นๆ และผู้ที่มีระดับความดันตาค่อนข้างสูงโดยเฉพาะสูงมากกว่า 21 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ซึ่งในอนาคตจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคต้อหิน นอกจากนี้ ยังพบคนที่สายตาสั้น หรือยาวมากๆ ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคต้อหิน
“การรักษาโรคต้อหินทำเพื่อเป็นการป้องกันและยับยั้งการสูญเสียของชั้นประสาทตาจากโรคต้อหิน เนื่องจากประสาทตาส่วนที่เสียไปแล้วจะไม่สามารถกลับคืนมาได้ การรักษาในปัจจุบันทำโดยการลดความดันลูกตาเพื่อควบคุมโรคต้อหิน ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้ยาหยอดตา รับประทานยา ยิงแสงเลเซอร์ และการทำผ่าตัด แต่ละวิธีมีข้อจำกัดขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยและประเภทของต้อหินสำหรับการป้องกัน แนะนำให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป กลุ่มผู้สูงอายุผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหิน ผู้ที่มีสายตาสั้นหรือยาวมาก ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับเลือดและหลอดเลือดซึ่งเลือดไหลเวียนขึ้นไปประสาทตาไม่ดี และผู้ที่ใช้ยาหยอดตาจำพวกสเตียรอยด์โดยไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของจักษุแพทย์ ควรได้รับการตรวจคัดกรองความดันลูกตาและตรวจขั้วประสาทตา อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และอาจตรวจซ้ำตามคำแนะนำของแพทย์ หากเกิดความผิดปกติกับดวงตาจะได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็วและสามารถใช้งานดวงตาได้ยาวนานมากขึ้น” นพ.สุพรรณ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่