ผุดสำนักงานเบทาโกรแอทซียู ในจุฬาฯ หวังเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างนวัตกรรมและงานวิจัย ระหว่างนักวิจัยภาคเอกชนแลกเปลี่ยนความรู้กับอาจารย์และนิสิต จุฬาฯ
ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า คณะวิทย์ฯ จุฬาฯ ได้ร่วมกับเครือเบทาโกร จัดตั้งสำนักงานเบทาโกรแอทซียู(BetagroConnect@CU) บนพื้นที่ 300 ตารางเมตร ที่ชั้น 11 อาคารมหาวชิรุณหิต คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อให้นักวิจัยของภาคเอกชนเข้ามาพูดคุยกับอาจารย์ นักวิจัย และนิสิต ซึ่งเป้าหมายสำคัญต้องการให้ศูนย์ฯ แห่งนี้ เป็นศูนย์กลางในการหาโจทย์วิจัยและทำงานวิจัยร่วมกันและได้มีการส่งมอบสำนักงานเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม การดำเนินการครั้งนี้ถือเป็นต้นแบบของการก้าวข้ามช่องว่างระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เป็นการเปิดศักราชใหม่ของวงการวิจัยที่จะผลิตทั้งงานวิจัยขึ้นหิ้งและงานวิจัยขึ้นห้าง ด้วยความเชื่อมั่นของทั้ง 2 ฝ่ายว่า ยิ่งใส่ความเป็นวิทยาสตร์และความเป็นนวันตกรรมลงไปมากเท่าไหร่ มูลค่าเพิ่มจะยิ่งมีค่าสูง
ทั้งนี้ คณะวิทย์ จุฬาฯ มีบุคลากรระดับปริญญาเอกกว่า 90% จากอาจารย์ทั้งหมดกว่า 420 คน มีนิสิตระดับปริญญาโท - เอก ที่พร้อมจะทำงานหนักในการทำงานวิจัยอยู่กว่า 500 คน และมีเครื่องมือที่ทันสมัย เพราะฉะนั้น หากได้ความแข็งแกร่งจากภาคเอกชนมาเสริม โดยเฉพาะเครือเบทาโกร นั้นดำเนินธุรกิจด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังรู้ความต้องการของตลาดและมีความคล่องตัวในการทำงาน และในโอกาสที่คณะฯ จะก้าวเข้าสู้ศตวรรษที่ 2 ในปี 2560 ได้กำหนดยุทธศาสตร์หลักด้านการวิจัยของคณะฯ และหวังว่าการทำงานวิจัยร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการ นิสิตและอาจารย์ จะช่วยจุดประกายให้นิสิต และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปกครอง ได้เปลี่ยนทัศนคติและหันมาสนใจพร้อมทั้งเห็นความสำคัญของการเรียนวิทยาศาสตร์และงานวิจัยวิทยาศาสตร์ สุดท้ายอยากเห็นคนที่สำเร็จการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ ผันตัวจากนักวิทยาศาสตร์หรือนักนวัตกรรมและเจ้าของธุรกิจนวัตกรรมอีกด้วย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า คณะวิทย์ฯ จุฬาฯ ได้ร่วมกับเครือเบทาโกร จัดตั้งสำนักงานเบทาโกรแอทซียู(BetagroConnect@CU) บนพื้นที่ 300 ตารางเมตร ที่ชั้น 11 อาคารมหาวชิรุณหิต คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อให้นักวิจัยของภาคเอกชนเข้ามาพูดคุยกับอาจารย์ นักวิจัย และนิสิต ซึ่งเป้าหมายสำคัญต้องการให้ศูนย์ฯ แห่งนี้ เป็นศูนย์กลางในการหาโจทย์วิจัยและทำงานวิจัยร่วมกันและได้มีการส่งมอบสำนักงานเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม การดำเนินการครั้งนี้ถือเป็นต้นแบบของการก้าวข้ามช่องว่างระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เป็นการเปิดศักราชใหม่ของวงการวิจัยที่จะผลิตทั้งงานวิจัยขึ้นหิ้งและงานวิจัยขึ้นห้าง ด้วยความเชื่อมั่นของทั้ง 2 ฝ่ายว่า ยิ่งใส่ความเป็นวิทยาสตร์และความเป็นนวันตกรรมลงไปมากเท่าไหร่ มูลค่าเพิ่มจะยิ่งมีค่าสูง
ทั้งนี้ คณะวิทย์ จุฬาฯ มีบุคลากรระดับปริญญาเอกกว่า 90% จากอาจารย์ทั้งหมดกว่า 420 คน มีนิสิตระดับปริญญาโท - เอก ที่พร้อมจะทำงานหนักในการทำงานวิจัยอยู่กว่า 500 คน และมีเครื่องมือที่ทันสมัย เพราะฉะนั้น หากได้ความแข็งแกร่งจากภาคเอกชนมาเสริม โดยเฉพาะเครือเบทาโกร นั้นดำเนินธุรกิจด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังรู้ความต้องการของตลาดและมีความคล่องตัวในการทำงาน และในโอกาสที่คณะฯ จะก้าวเข้าสู้ศตวรรษที่ 2 ในปี 2560 ได้กำหนดยุทธศาสตร์หลักด้านการวิจัยของคณะฯ และหวังว่าการทำงานวิจัยร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการ นิสิตและอาจารย์ จะช่วยจุดประกายให้นิสิต และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปกครอง ได้เปลี่ยนทัศนคติและหันมาสนใจพร้อมทั้งเห็นความสำคัญของการเรียนวิทยาศาสตร์และงานวิจัยวิทยาศาสตร์ สุดท้ายอยากเห็นคนที่สำเร็จการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ ผันตัวจากนักวิทยาศาสตร์หรือนักนวัตกรรมและเจ้าของธุรกิจนวัตกรรมอีกด้วย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่