สสอท.เล็งหาช่องปรับเกณฑ์ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยไทยกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ชี้บางแห่งมีศักยภาพจัดตั้งมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ แต่ประกาศ ศธ.ที่กำหนดไว้ยังไม่ครอบคลุม
นายพรชัย มงคลวนิช อธิการบดีมหาวิทยาลัยสยาม ในฐานะนายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม สสอท.เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการหารือถึงเกณฑ์ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างอุดมศึกษาไทยกับอุดมศึกษาต่างประเทศ เนื่องจากในขณะนี้ความร่วมมือดังกล่าวมีหลากหลายรูปแบบ อาทิ บางมหาวิทยาลัยได้รับเชิญไปจัดตั้งมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ หรือการเทียบโอนหน่วยกิตในบางสาขาวิชาที่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ที่นอกเหนือจากกรอบตามประกาศ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่องแนวทางความร่วมมือทางวิชาการระหว่างอุดมศึกษาไทยกับอุดมศึกษาต่างประเทศ พ.ศ. 2550 ที่กำหนดไว้ ดังนั้น ทาง สสอท.จึงเล็งเห็นว่าควรจะมีการหารือแนวทางหรือปรับเปลี่ยนเกณฑ์กลางดังกล่าวให้มีความเหมาะสม เอื้อต่อความร่วมมือระหว่างอุดมศึกษาไทยและอุดมศึกษาต่างประเทศ เพื่อให้ครอบคลุมมาตรฐานและคุณภาพ นำไปสู่ศักยภาพและความร่วมมือทางวิชาการที่เข้มแข็ง
“สสอท.ได้จัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อทำหน้าที่ศึกษาหาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการระหว่างอุดมศึกษาไทยและอุดมศึกษาต่างประเทศให้สอดคล้องกับลักษณะความร่วมมือที่เปลี่ยนแปลงไป และประสานงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เพราะตอนนี้ไม่เพียงความร่วมมือแลกเปลี่ยนคณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอน การเทียบโอนหลักสูตร หรือการทำงานวิจัยร่วมกันเท่านั้น แต่บางแห่งยังมีศักยภาพมีความสามารถที่จะไปเปิด จัดการเรียนการสอนในต่างประเทศอีกด้วย” นายพรชัยกล่าว
ประธาน สสอท.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ เกณฑ์ดังกล่าวก็ต้องมีการกำหนดกรอบ ขอบเขตที่ชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องของคุณภาพ มาตรฐาน ขณะเดียวกันก็ให้สอดคล้องกับตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องมาตรฐานการอุดมศึกษาด้วย อย่างไรก็ตาม ในการประชุม สสอท. 27 ก.พ.นี้ น่าจะได้แนวทางเบื้องต้น ก่อนเสนอ สกอ.ต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายพรชัย มงคลวนิช อธิการบดีมหาวิทยาลัยสยาม ในฐานะนายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม สสอท.เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการหารือถึงเกณฑ์ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างอุดมศึกษาไทยกับอุดมศึกษาต่างประเทศ เนื่องจากในขณะนี้ความร่วมมือดังกล่าวมีหลากหลายรูปแบบ อาทิ บางมหาวิทยาลัยได้รับเชิญไปจัดตั้งมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ หรือการเทียบโอนหน่วยกิตในบางสาขาวิชาที่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ที่นอกเหนือจากกรอบตามประกาศ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่องแนวทางความร่วมมือทางวิชาการระหว่างอุดมศึกษาไทยกับอุดมศึกษาต่างประเทศ พ.ศ. 2550 ที่กำหนดไว้ ดังนั้น ทาง สสอท.จึงเล็งเห็นว่าควรจะมีการหารือแนวทางหรือปรับเปลี่ยนเกณฑ์กลางดังกล่าวให้มีความเหมาะสม เอื้อต่อความร่วมมือระหว่างอุดมศึกษาไทยและอุดมศึกษาต่างประเทศ เพื่อให้ครอบคลุมมาตรฐานและคุณภาพ นำไปสู่ศักยภาพและความร่วมมือทางวิชาการที่เข้มแข็ง
“สสอท.ได้จัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อทำหน้าที่ศึกษาหาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการระหว่างอุดมศึกษาไทยและอุดมศึกษาต่างประเทศให้สอดคล้องกับลักษณะความร่วมมือที่เปลี่ยนแปลงไป และประสานงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เพราะตอนนี้ไม่เพียงความร่วมมือแลกเปลี่ยนคณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอน การเทียบโอนหลักสูตร หรือการทำงานวิจัยร่วมกันเท่านั้น แต่บางแห่งยังมีศักยภาพมีความสามารถที่จะไปเปิด จัดการเรียนการสอนในต่างประเทศอีกด้วย” นายพรชัยกล่าว
ประธาน สสอท.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ เกณฑ์ดังกล่าวก็ต้องมีการกำหนดกรอบ ขอบเขตที่ชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องของคุณภาพ มาตรฐาน ขณะเดียวกันก็ให้สอดคล้องกับตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องมาตรฐานการอุดมศึกษาด้วย อย่างไรก็ตาม ในการประชุม สสอท. 27 ก.พ.นี้ น่าจะได้แนวทางเบื้องต้น ก่อนเสนอ สกอ.ต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
กำลังโหลดเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น