อ.สง่า ชี้ นับแคลอรีลดอ้วนเรื่องยาก ย้ำต้องรับพลังงานจากโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ในสัดส่วน 10-30-60 รับจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งมากเกินไปทำให้อ้วน แนะสูตรกิน 2:1:1 ช่วยคุมน้ำหนักง่ายกว่า
นายสง่า ดามาพงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การนับจำนวนกิโลแคลอรี กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก แต่วิธีดังกล่าวจำเป็นต้องมีความเข้าใจด้วย โดยกิโลแคลอรี หมายถึง หน่วยในการวัดพลังงาน ซึ่งมาจากอาหารที่กิน โดยทั่วไปผู้ชายต้องการพลังงานวันละประมาณ 2,000 กิโลแคลอรี ผู้หญิงต้องการ 1,600 กิโลแคลอรี ถ้าเป็นเด็กและผู้สูงอายุจะต้องการน้อยลง หากเป็นผู้ใช้แรงงาน หรือนักกีฬา จะต้องการพลังงานมากขึ้น ซึ่งวิธีการนับพลังงานสำหรับคนต้องการควบคุมน้ำหนักนั้น อาจจะดี แต่จำเป็นต้องทราบด้วยว่า แต่ละวันร่างกายไม่ได้ต้องการพลังงานเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการสารอาหารอื่นด้วย ฉะนั้น หากรับพลังงานจากไขมันอย่างเดียว แม้ปริมาณพลังงานรวมจะไม่เกินก็ส่งผลให้อ้วนได้
นายสง่า กล่าวว่า แต่ละวันร่างกายจะต้องการพลังงานจาก 3 ส่วน คือ โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต โดยการกระจายตัวของพลังงานจะคิดเป็น โปรตีน ร้อยละ 10 ไขมัน ร้อยละ 30 คาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 60 การรับประทานอาหารจึงต้องแบ่งสัดส่วนในลักษณะดังกล่าว จึงจะสามารถควบคุมน้ำหนักได้ และยังได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ทั้งวิตามิน แร่ธาตุต่างๆ เพื่อสร้างภูมิต้านทาน แต่หากร่างกายได้รับสารอาหารกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากเกินไป ส่วนที่เหลือที่ไม่ถูกใช้ก็จะกลายเป็นไขมันสะสม เป็นบ่อเหตุของโรคอ้วน อย่างไรก็ตาม บางครั้งการคำนวณพลังงานอาจไม่สามารถใช้ได้ง่ายนัก ในการรับประทานประจำวันจึงนำวิธีการดังกล่าวมาใช้ได้ยากในบางครั้ง
“สำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก อาจใช้วิธีง่ายๆ สูตร 2:1:1 คือ อาหาร 1 จาน แบ่งส่วนเป็น 4 ส่วน คือ ผัก 2 ส่วน ข้าว 1 ส่วน และโปรตีนหรือเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน 1 ส่วน ก็จะได้รับพลังงานที่เหมาะสมที่ร่างกายต้องการ และหลีกเลี่ยงอาหารประเภท ผัด มัน ทอด หวานจัด เค็มจัด ก็จะสามารถควบคุมน้ำหนักได้ นอกจากนี้ ในแต่ละวันการรับประทานอาหารจานด่วน หรือ จานเดียว ยังอาจทำให้ได้รับพลังงานส่วนเกิน จึงควรออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที หรือ มีกิจกรรมทางกายในทุกวัน เช่น การเดิน ขึ้นบันได ก็จะช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานส่วนเกินลงได้ด้วย” นายสง่า กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายสง่า ดามาพงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การนับจำนวนกิโลแคลอรี กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก แต่วิธีดังกล่าวจำเป็นต้องมีความเข้าใจด้วย โดยกิโลแคลอรี หมายถึง หน่วยในการวัดพลังงาน ซึ่งมาจากอาหารที่กิน โดยทั่วไปผู้ชายต้องการพลังงานวันละประมาณ 2,000 กิโลแคลอรี ผู้หญิงต้องการ 1,600 กิโลแคลอรี ถ้าเป็นเด็กและผู้สูงอายุจะต้องการน้อยลง หากเป็นผู้ใช้แรงงาน หรือนักกีฬา จะต้องการพลังงานมากขึ้น ซึ่งวิธีการนับพลังงานสำหรับคนต้องการควบคุมน้ำหนักนั้น อาจจะดี แต่จำเป็นต้องทราบด้วยว่า แต่ละวันร่างกายไม่ได้ต้องการพลังงานเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการสารอาหารอื่นด้วย ฉะนั้น หากรับพลังงานจากไขมันอย่างเดียว แม้ปริมาณพลังงานรวมจะไม่เกินก็ส่งผลให้อ้วนได้
นายสง่า กล่าวว่า แต่ละวันร่างกายจะต้องการพลังงานจาก 3 ส่วน คือ โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต โดยการกระจายตัวของพลังงานจะคิดเป็น โปรตีน ร้อยละ 10 ไขมัน ร้อยละ 30 คาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 60 การรับประทานอาหารจึงต้องแบ่งสัดส่วนในลักษณะดังกล่าว จึงจะสามารถควบคุมน้ำหนักได้ และยังได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ทั้งวิตามิน แร่ธาตุต่างๆ เพื่อสร้างภูมิต้านทาน แต่หากร่างกายได้รับสารอาหารกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากเกินไป ส่วนที่เหลือที่ไม่ถูกใช้ก็จะกลายเป็นไขมันสะสม เป็นบ่อเหตุของโรคอ้วน อย่างไรก็ตาม บางครั้งการคำนวณพลังงานอาจไม่สามารถใช้ได้ง่ายนัก ในการรับประทานประจำวันจึงนำวิธีการดังกล่าวมาใช้ได้ยากในบางครั้ง
“สำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก อาจใช้วิธีง่ายๆ สูตร 2:1:1 คือ อาหาร 1 จาน แบ่งส่วนเป็น 4 ส่วน คือ ผัก 2 ส่วน ข้าว 1 ส่วน และโปรตีนหรือเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน 1 ส่วน ก็จะได้รับพลังงานที่เหมาะสมที่ร่างกายต้องการ และหลีกเลี่ยงอาหารประเภท ผัด มัน ทอด หวานจัด เค็มจัด ก็จะสามารถควบคุมน้ำหนักได้ นอกจากนี้ ในแต่ละวันการรับประทานอาหารจานด่วน หรือ จานเดียว ยังอาจทำให้ได้รับพลังงานส่วนเกิน จึงควรออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที หรือ มีกิจกรรมทางกายในทุกวัน เช่น การเดิน ขึ้นบันได ก็จะช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานส่วนเกินลงได้ด้วย” นายสง่า กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่