กรมควบคุมโรค สธ. แนะนำผู้บริโภคเนื้อสัตว์ปีกช่วงตรุษจีน เน้นอาหารปรุงสุกสะอาด แยกเขียงสำหรับหั่นอาหารดิบและอาหารที่ปรุงสุกแล้ว เพื่อความปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนก ย้ำเนื้อไก่/เป็ดที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดถือว่ามีความปลอดภัย สามารถบริโภคได้ตามปกติ ในประเทศไทยพบผู้ป่วยไข้หวัดนกรายสุดท้ายในปี 2549 หลังจากนั้นยังไม่พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกเพิ่มอีก
วันนี้ (15 ก.พ.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เทศกาลวันตรุษจีนปีนี้ ตรงกับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 เป็นช่วงเทศกาลสำคัญของชาวจีนที่จะประกอบพิธีไหว้เจ้าบรรพบุรุษโดยใช้เนื้อสัตว์ปีกประเภท ไก่ เป็ด เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้มีการจำหน่ายเนื้อสัตว์ปีกเป็นจำนวนมาก แม้ว่าในขณะนี้ประเทศไทยจะยังไม่มีการติดเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีกก็ตาม แต่ไทยมีความเสี่ยง 2 ประการ คือ 1. จากนกตามธรรมชาติอพยพย้ายถิ่นข้ามประเทศ และ 2. ขณะนี้สภาพอากาศของประเทศไทยหนาวเย็นซึ่งจะเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสทุกชนิด ดังนั้นจึงต้องมีการป้องกันเฝ้าระวังโรคอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะผู้บริโภคเนื้อสัตว์ปีกในช่วงตรุษจีนปีนี้
ในประเทศไทยพบผู้ป่วยด้วยโรคไข้หวัดนกรายแรก เมื่อปี 2547 และผู้ป่วยรายสุดท้ายในปี 2549 และจากนั้นยังไม่พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกเพิ่มอีก โดยส่วนมากผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดนก จะมีประวัติการสัมผัสกับไก่ป่วย/ไก่ ที่ตายผิดปกติ ส่วนการแพร่จากคนสู่คนพบได้น้อย อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลทุกแห่งยังคงเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีอาการโรคทางเดินหายใจ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม ปอดอักเสบ โดยจะมีการซักประวัติการสัมผัสสัตว์ปีก หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติทุกราย
นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า ขอแนะนำประชาชนผู้บริโภคเนื้อสัตว์ปีก เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยจากโรคต่างๆ รวมทั้งโรคไข้หวัดนก ดังนี้ 1. เนื้อไก่/เป็ด ที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดถือว่ามีความปลอดภัย สามารถบริโภคได้ตามปกติ แต่ต้องปรุงให้สุกก่อนรับประทาน 2. ผู้บริโภคไก่/เป็ดและผลิตภัณฑ์จากไก่/เป็ด ควรรับประทานเนื้อที่ปรุงสุกเท่านั้น งดการรับประทานเนื้อไก่/เป็ดที่กึ่งสุกกึ่งดิบ เนื่องจากเชื้อโรคต่างๆ ที่อาจปนเปื้อนมา ไม่ว่าจะเป็นไวรัส แบคทีเรีย หรือพยาธิ แต่เชื้อเหล่านี้จะถูกทำลายได้ด้วยความร้อน 3. ไข่ไก่และไข่เป็ด ควรเลือกฟองที่ดูสดใหม่ ไม่มีมูลติดเปื้อนที่เปลือกไข่ ก่อนปรุงควรนำมาล้างให้สะอาด และปรุงให้สุกก่อนรับประทาน
ส่วนการเลือกซื้อไก่/เป็ด ต้องเลือกที่ดูสดใหม่ เนื้อไม่มีสีคล้ำ ผิวหนังหรือเครื่องในไม่มีจ้ำเลือด ขณะประกอบอาหารไม่ควรใช้มือที่เปื้อนมาจับต้องจมูก ตา และปาก และหมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจับต้องเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ และเปลือกไข่ที่มีมูลสัตว์เปื้อน ควรแยกเขียงสำหรับหั่นอาหารดิบ อาหารที่ปรุงสุกแล้ว หรือผักผลไม้ โดยเฉพาะ ไม่ใช้เขียงเดียวกัน สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ปีก ไม่ควรสัมผัสสัตว์ปีกด้วยมือเปล่า หากจำเป็นต้องอุ้มสัตว์ปีกให้ระวังไม่ให้สัตว์ปีกสัมผัสกับหน้า จมูก หรือปาก ไม่สัมผัสสารคัดหลั่งจากสัตว์ปีก เช่น น้ำมูก หรือน้ำลาย และต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่หลังจับสัตว์ปีกทันที ที่สำคัญไก่/เป็ดที่ขายในท้องตลาดเพื่อใช้ในพิธีเซ่นไหว้ในช่วงตรุษจีน มักนิยมต้มแบบไม่ให้สุกมากนัก ดังนั้น ก่อนจะนำมารับประทาน ควรนำมาปรุงให้สุกอีกครั้ง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและมั่นใจในการนำไปบริโภค
“นอกจากนี้ ผู้บริโภคที่จะซื้อสัตว์ปีกมาชำแหละเองต้องระมัดระวังให้มาก ห้ามนำสัตว์ปีกที่ป่วยหรือป่วยตายมาชำแหละเป็นอาหารเด็ดขาด ส่วนการเลือกสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ที่สะอาดและปลอดภัย ไม่มีสิ่งปนเปื้อนและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ประชาชนควรเลือกสถานที่ที่มีการติดป้าย “ตลาดสด น่าซื้อ” หรือ “ป้ายรับรองสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์สะอาด (เขียงสะอาด)” ที่ติดไว้หน้าร้านจำหน่าย เพื่อความมั่นใจแก่ประชาชนที่เลือกซื้ออาหารสำหรับนำไปประกอบพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ และความปลอดภัยในเรื่องการบริโภคสัตว์ปีก และหากประชาชนมีอาการ ไข้ ปวดหัว หนาวสั่น เจ็บคอ ไอ มีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตายผิดปกติ ต้องรีบไปพบแพทย์ในสถานพยาบาลใกล้บ้านโดยเร็ว เพื่อรับการตรวจคัดกรองและรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422” นพ.โสภณ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (15 ก.พ.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เทศกาลวันตรุษจีนปีนี้ ตรงกับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 เป็นช่วงเทศกาลสำคัญของชาวจีนที่จะประกอบพิธีไหว้เจ้าบรรพบุรุษโดยใช้เนื้อสัตว์ปีกประเภท ไก่ เป็ด เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้มีการจำหน่ายเนื้อสัตว์ปีกเป็นจำนวนมาก แม้ว่าในขณะนี้ประเทศไทยจะยังไม่มีการติดเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีกก็ตาม แต่ไทยมีความเสี่ยง 2 ประการ คือ 1. จากนกตามธรรมชาติอพยพย้ายถิ่นข้ามประเทศ และ 2. ขณะนี้สภาพอากาศของประเทศไทยหนาวเย็นซึ่งจะเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสทุกชนิด ดังนั้นจึงต้องมีการป้องกันเฝ้าระวังโรคอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะผู้บริโภคเนื้อสัตว์ปีกในช่วงตรุษจีนปีนี้
ในประเทศไทยพบผู้ป่วยด้วยโรคไข้หวัดนกรายแรก เมื่อปี 2547 และผู้ป่วยรายสุดท้ายในปี 2549 และจากนั้นยังไม่พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกเพิ่มอีก โดยส่วนมากผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดนก จะมีประวัติการสัมผัสกับไก่ป่วย/ไก่ ที่ตายผิดปกติ ส่วนการแพร่จากคนสู่คนพบได้น้อย อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลทุกแห่งยังคงเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีอาการโรคทางเดินหายใจ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม ปอดอักเสบ โดยจะมีการซักประวัติการสัมผัสสัตว์ปีก หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติทุกราย
นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า ขอแนะนำประชาชนผู้บริโภคเนื้อสัตว์ปีก เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยจากโรคต่างๆ รวมทั้งโรคไข้หวัดนก ดังนี้ 1. เนื้อไก่/เป็ด ที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดถือว่ามีความปลอดภัย สามารถบริโภคได้ตามปกติ แต่ต้องปรุงให้สุกก่อนรับประทาน 2. ผู้บริโภคไก่/เป็ดและผลิตภัณฑ์จากไก่/เป็ด ควรรับประทานเนื้อที่ปรุงสุกเท่านั้น งดการรับประทานเนื้อไก่/เป็ดที่กึ่งสุกกึ่งดิบ เนื่องจากเชื้อโรคต่างๆ ที่อาจปนเปื้อนมา ไม่ว่าจะเป็นไวรัส แบคทีเรีย หรือพยาธิ แต่เชื้อเหล่านี้จะถูกทำลายได้ด้วยความร้อน 3. ไข่ไก่และไข่เป็ด ควรเลือกฟองที่ดูสดใหม่ ไม่มีมูลติดเปื้อนที่เปลือกไข่ ก่อนปรุงควรนำมาล้างให้สะอาด และปรุงให้สุกก่อนรับประทาน
ส่วนการเลือกซื้อไก่/เป็ด ต้องเลือกที่ดูสดใหม่ เนื้อไม่มีสีคล้ำ ผิวหนังหรือเครื่องในไม่มีจ้ำเลือด ขณะประกอบอาหารไม่ควรใช้มือที่เปื้อนมาจับต้องจมูก ตา และปาก และหมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจับต้องเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ และเปลือกไข่ที่มีมูลสัตว์เปื้อน ควรแยกเขียงสำหรับหั่นอาหารดิบ อาหารที่ปรุงสุกแล้ว หรือผักผลไม้ โดยเฉพาะ ไม่ใช้เขียงเดียวกัน สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ปีก ไม่ควรสัมผัสสัตว์ปีกด้วยมือเปล่า หากจำเป็นต้องอุ้มสัตว์ปีกให้ระวังไม่ให้สัตว์ปีกสัมผัสกับหน้า จมูก หรือปาก ไม่สัมผัสสารคัดหลั่งจากสัตว์ปีก เช่น น้ำมูก หรือน้ำลาย และต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่หลังจับสัตว์ปีกทันที ที่สำคัญไก่/เป็ดที่ขายในท้องตลาดเพื่อใช้ในพิธีเซ่นไหว้ในช่วงตรุษจีน มักนิยมต้มแบบไม่ให้สุกมากนัก ดังนั้น ก่อนจะนำมารับประทาน ควรนำมาปรุงให้สุกอีกครั้ง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและมั่นใจในการนำไปบริโภค
“นอกจากนี้ ผู้บริโภคที่จะซื้อสัตว์ปีกมาชำแหละเองต้องระมัดระวังให้มาก ห้ามนำสัตว์ปีกที่ป่วยหรือป่วยตายมาชำแหละเป็นอาหารเด็ดขาด ส่วนการเลือกสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ที่สะอาดและปลอดภัย ไม่มีสิ่งปนเปื้อนและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ประชาชนควรเลือกสถานที่ที่มีการติดป้าย “ตลาดสด น่าซื้อ” หรือ “ป้ายรับรองสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์สะอาด (เขียงสะอาด)” ที่ติดไว้หน้าร้านจำหน่าย เพื่อความมั่นใจแก่ประชาชนที่เลือกซื้ออาหารสำหรับนำไปประกอบพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ และความปลอดภัยในเรื่องการบริโภคสัตว์ปีก และหากประชาชนมีอาการ ไข้ ปวดหัว หนาวสั่น เจ็บคอ ไอ มีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตายผิดปกติ ต้องรีบไปพบแพทย์ในสถานพยาบาลใกล้บ้านโดยเร็ว เพื่อรับการตรวจคัดกรองและรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422” นพ.โสภณ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่