สธ. คลอดกฎหมายคุ้มครองตำรับยาไทย - ตำราการพทย์แผนไทย สกัดต่างชาติฮุบมรดกภูมิปัญญาไทยไปโกยรายได้ สร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ เผยส่วนการผลิตยาแผนไทยและขึ้นทะเบียนในประเทศ ต้องจ่ายขั้นต่ำ 2 หมื่นบาท และจ่ายอีกร้อยละ 3 ของมูลค่าการจำหน่าย
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวเรื่อง “การออกกฎหมายคุ้มครองตำรับยาแผนไทยและตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ” ว่า ที่ผ่านมา เกิดกรณีต่างชาตินำภูมิปัญญาด้านการแพทย์ของไทยไปใช้ประโยชน์ ทั้งในทางการค้าและการสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ เพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 มาตรา 17 มาตรา 18 และมาตรา 19 เรื่อง การคุ้มครองตำรับตำรายาแผนไทยและตำราการแพทย์แผนไทย สธ. จึงออกกฎหมายลูก 3 ฉบับ โดยตนได้ลงนามแล้วเมื่อวันที่ 13 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งจะมีบังคับใช้ในวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า กฎหมายทั้ง 3 ฉบับ ประกอบด้วย 1. ประกาศกำหนดตำรับยาแผนไทยทั่วไปหรือตำราการแพทย์แผนไทยทั่วไป พ.ศ. 2558 โดยเป็นตำรับยาแผนไทย หรือตำราการแพทย์แผนไทยที่มีการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย หรือที่พ้นการคุ้มครองสิทธิตามมาตรา 33 เช่น ยาแผนโบราณที่เป็นยาสามัญประจำบ้าน 2. ประกาศกำหนดตำรับยาแผนไทยของชาติ หรือตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ ซึ่งเป็นตำรับยาที่ทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐรวบรวม พัฒนา หรือปรับปรุงขึ้นมีเอกสารหรือหลักฐานอ้างอิงแหล่งที่มาของตำรับยาแผนไทย หรือมีคุณค่าต่อการศึกษาวิจัยมีผลต่อเศรษฐกิจ อาจนำมาพัฒนาเป็นยาตัวใหม่ได้ และ 3. การขอรับอนุญาต ข้อจำกัดสิทธิ และค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์จากตำรับยาแผนไทยของชาติหรือตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ พ.ศ. 2558
ด้าน นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า หากผู้ใดจะนำตำรับยา หรือตำราการแพทย์แผนไทยที่อยู่ในกฎหมายฉบับนี้ ไปใช้เพื่อการขึ้นทะเบียนตำรับยาและขออนุญาตผลิตยาตามกฎหมาย นำไปศึกษาวิจัยเพื่อปรับปรุง พัฒนาเป็นตำรับยาใหม่เพื่อประโยชน์ทางการค้า หรือนำไปศึกษาวิจัยตำราการแพทย์แผนไทยของชาติเพื่อปรับปรุงหรือพัฒนาภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยขึ้นใหม่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในทางการค้า จะต้องยื่นคำขออนุญาตก่อน โดยกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตั้งแต่ 2 หมื่นบาท และหากนำไปใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าต้องจ่ายค่าตอบแทนจากผลประโยชน์ทางการค้าไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของมูลค่าการจำหน่ายยาที่ผลิตได้ตามราคาที่ออกจากโรงงาน โดยค่าตอบแทนจะส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน
นพ.ธวัชชัย กล่าวว่า ทั้งนี้ หากพบว่าไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษสูงสุด คือ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับบุคคลที่จะขอจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยส่วนบุคคล เพื่อขอรับการคุ้มครองและส่งเสริมตามประกาศ จะต้องมีสัญชาติไทย โดยกฎหมายฉบับนี้มีภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ได้รับการคุ้มครอง 3 ประเภท ได้แก่ ตำรับยาแผนไทยของชาติฯ อาทิ คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ (ฉบับใบลาน) สมุดภาพโคลงฤาษีดัดตน เป็นต้น ซึ่งเตรียมประกาศเป็นของชาติรวมแล้วกว่า 4,387 รายการ หนึ่งในนั้นคือยาเบญจอำมฤตย์ที่ใช้รักษามะเร็งตับ เป็นต้น 2. ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป และ 3. ตำรับยาแผนไทยส่วนบุคคลหรือตำราการแพทย์แผนไทยส่วนบุคคล
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวเรื่อง “การออกกฎหมายคุ้มครองตำรับยาแผนไทยและตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ” ว่า ที่ผ่านมา เกิดกรณีต่างชาตินำภูมิปัญญาด้านการแพทย์ของไทยไปใช้ประโยชน์ ทั้งในทางการค้าและการสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ เพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 มาตรา 17 มาตรา 18 และมาตรา 19 เรื่อง การคุ้มครองตำรับตำรายาแผนไทยและตำราการแพทย์แผนไทย สธ. จึงออกกฎหมายลูก 3 ฉบับ โดยตนได้ลงนามแล้วเมื่อวันที่ 13 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งจะมีบังคับใช้ในวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า กฎหมายทั้ง 3 ฉบับ ประกอบด้วย 1. ประกาศกำหนดตำรับยาแผนไทยทั่วไปหรือตำราการแพทย์แผนไทยทั่วไป พ.ศ. 2558 โดยเป็นตำรับยาแผนไทย หรือตำราการแพทย์แผนไทยที่มีการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย หรือที่พ้นการคุ้มครองสิทธิตามมาตรา 33 เช่น ยาแผนโบราณที่เป็นยาสามัญประจำบ้าน 2. ประกาศกำหนดตำรับยาแผนไทยของชาติ หรือตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ ซึ่งเป็นตำรับยาที่ทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐรวบรวม พัฒนา หรือปรับปรุงขึ้นมีเอกสารหรือหลักฐานอ้างอิงแหล่งที่มาของตำรับยาแผนไทย หรือมีคุณค่าต่อการศึกษาวิจัยมีผลต่อเศรษฐกิจ อาจนำมาพัฒนาเป็นยาตัวใหม่ได้ และ 3. การขอรับอนุญาต ข้อจำกัดสิทธิ และค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์จากตำรับยาแผนไทยของชาติหรือตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ พ.ศ. 2558
ด้าน นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า หากผู้ใดจะนำตำรับยา หรือตำราการแพทย์แผนไทยที่อยู่ในกฎหมายฉบับนี้ ไปใช้เพื่อการขึ้นทะเบียนตำรับยาและขออนุญาตผลิตยาตามกฎหมาย นำไปศึกษาวิจัยเพื่อปรับปรุง พัฒนาเป็นตำรับยาใหม่เพื่อประโยชน์ทางการค้า หรือนำไปศึกษาวิจัยตำราการแพทย์แผนไทยของชาติเพื่อปรับปรุงหรือพัฒนาภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยขึ้นใหม่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในทางการค้า จะต้องยื่นคำขออนุญาตก่อน โดยกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตั้งแต่ 2 หมื่นบาท และหากนำไปใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าต้องจ่ายค่าตอบแทนจากผลประโยชน์ทางการค้าไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของมูลค่าการจำหน่ายยาที่ผลิตได้ตามราคาที่ออกจากโรงงาน โดยค่าตอบแทนจะส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน
นพ.ธวัชชัย กล่าวว่า ทั้งนี้ หากพบว่าไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษสูงสุด คือ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับบุคคลที่จะขอจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยส่วนบุคคล เพื่อขอรับการคุ้มครองและส่งเสริมตามประกาศ จะต้องมีสัญชาติไทย โดยกฎหมายฉบับนี้มีภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ได้รับการคุ้มครอง 3 ประเภท ได้แก่ ตำรับยาแผนไทยของชาติฯ อาทิ คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ (ฉบับใบลาน) สมุดภาพโคลงฤาษีดัดตน เป็นต้น ซึ่งเตรียมประกาศเป็นของชาติรวมแล้วกว่า 4,387 รายการ หนึ่งในนั้นคือยาเบญจอำมฤตย์ที่ใช้รักษามะเร็งตับ เป็นต้น 2. ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป และ 3. ตำรับยาแผนไทยส่วนบุคคลหรือตำราการแพทย์แผนไทยส่วนบุคคล
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่