ใกล้วันแห่งความรักขอถือโอกาสพูดถึงเรื่องความรักของบรรดาวัยรุ่นซะหน่อย
สืบเนื่องจากที่ได้มีโอกาสไปบรรยาย เรื่องปัญหาท้องไม่พร้อมของกลุ่มวัยรุ่น ในโครงการ “One Woman One Value” ซึ่งทางสโมสรซอนต้ากรุงเทพ 10 จัดขึ้นที่โรงเรียนเบญจมินทร์ มีนักเรียนระดับชั้น ม.1 - ม.3 จำนวนราว 300 คน แบ่งเป็นหญิงชายประมาณอย่างละครึ่งได้
การพูดคุยในวันนั้นเป็นการชี้ให้เด็กเห็นถึงสถานการณ์และปัญหาเรื่องท้องไม่พร้อมในบ้านเรา ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ ติดทั้งอันดับเอเชียและอันดับโลก
ก่อนหน้านี้ เว็บไซต์องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์การตั้งครรภ์ของผู้หญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี ทั่วโลกในปี 2556 โดยประเทศไทยมีจำนวนสูงถึง 74 คน ต่อ 1,000 คน เท่ากับประเทศมาเลเซีย และอยู่อันดับที่ 2 รองจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างประเทศกัมพูชา และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ซึ่งมีสถิติอยู่ที่ 65 คน ต่อ 1,000 คน หรือประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากรมากที่สุดในภูมิภาค แต่มีสถิติเพียง 69 คน ต่อ 1,000 คนเท่านั้น ขณะที่เกณฑ์มาตรฐานจากทั่วโลกอยู่ที่ 65 คน ต่อ 1,000 คน
เมื่อลองโยนคำถามไปที่ตัวเด็กนักเรียน ถามถึงสาเหตุว่าทำไมวัยรุ่นถึงมีปัญหาท้องไม่พร้อม ปรากฏว่า เด็กนักเรียนที่ถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มจำนวน 12 กลุ่ม ก็แจกแจงถึงสาเหตุ ซึ่งพอจะสรุปออกมาได้ 20 ข้อ ซึ่งในแต่ละกลุ่มก็มีหลายข้อที่ซ้ำกันอยู่
ลองไปดูสาเหตุของพวกเขากันค่ะ
หนึ่ง ขาดความยับยั้งชั่งใจ
สอง ครอบครัวแตกแยก
สาม เกิดอารมณ์ทางเพศ หรืออารมณ์ชั่ววูบ ประมาณอารมณ์พาไป
สี่ ดูสื่อลามก
ห้า ไม่รู้จักป้องกัน
หก เพื่อนชักจูง หรืออิทธิพลจากเพื่อน
เจ็ด อยากรู้อยากลอง
แปด ดื่มแอลกอฮอล์
เก้า ขาดความรู้เรื่องเพศ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์
สิบ โดนล่อลวง หรือถูกข่มขืน
สิบเอ็ด ไม่คิดก่อนทำ
สิบสอง ชอบเที่ยวกลางคืน
สิบสาม ใช้สารเสพติด
สิบสี่ ไม่เห็นคุณค่าในตนเอง
สิบห้า แต่งตัวล่อแหลม
สิบหก ค่านิยมและทัศนคติผิดๆ เรื่องเพศ
สิบเจ็ด ความใจอ่อนของผู้หญิง เพราะรักเขาจนยอม
สิบแปด วุฒิภาวะไม่เพียงพอ
สิบเก้า ประมาท คิดว่าจะไม่เกิดอะไรขึ้น
ยี่สิบ ไม่กล้าซื้อถุงยาง
นี่เป็นข้อสรุปที่เด็กๆ ช่วยกันคิดว่าอะไรเป็นสาเหตุ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าทั้งหมดทุกข้อล้วนแล้วมีส่วนทั้งนั้น นั่นหมายความว่าพวกเขารู้ถึงสาเหตุ แต่ประเด็นก็คือแล้วถ้าเกิดกับตัวเองจริงๆ เด็กๆ จะมีทักษะชีวิตในการให้รอดต่อสถานการณ์นั้นๆ แค่ไหน อย่างไร
เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นปัญหาของเด็กเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของทุกภาคส่วนในสังคม
ที่สำคัญ ต้องเริ่มจากสถาบันครอบครัวที่ต้องเติมความรักและให้ความรู้ลูกอย่างถูกวิธีซะก่อน ถ้าพ่อแม่ผู้ปกครองใกล้ชิดผูกพันกับลูกมาตั้งแต่เล็ก พูดคุยกันทุกเรื่อง ก็จะทำให้สร้างภูมิต้านชีวิตให้กับลูกได้ในระดับสำคัญ
เมื่อเข้าสู่รั้วโรงเรียน เขาและเธอมีทั้งครูและเพื่อน ส่วนใหญ่เด็กจะสนิทกับเพื่อน พ่อแม่จำเป็นต้องเข้าถึงและให้ความสำคัญกับเพื่อนของลูก เพราะเมื่อเด็กเข้าสู่วัยรุ่น เพื่อนจะมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของลูกอย่างมาก คบเพื่อนดีมีชัยไปกว่าครึ่งเป็นเรื่องจริงที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องตระหนัก
ในขณะที่ภาครัฐเองก็ต้องจริงใจในการหาทางแก้ไขและหาวิธีป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนของเรามีความเสี่ยงต่อเรื่องนี้ ควรจะต้องมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดพื้นที่ดี เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อช่วยให้เด็กไม่ไปหมกมุ่นกับเรื่องเพศหรือเรื่องอื่นๆที่ไม่เหมาะสม รวมไปถึงการให้ความรู้อย่างถูกวิธีกับคนในชาติอย่างทั่วถึง
แม้แต่ภาคสื่อสารมวลชนเองก็ต้องคำนึงถึงเด็กและเยาวชนด้วย ในการนำเสนอข่าวก็ต้องระมัดระวังเนื้อหา ไม่ใช่ไปปลุกเร้าให้เด็กและเยาวชนยิ่งเตลิดหรืออยากรู้อยากลองหนักเข้าไปอีก
ทั้งหมดนี้เป็นการตอกย้ำอีกครั้งว่าปัญหาเรื่องท้องไม่พร้อมไม่ใช่ปัญหาของเด็กเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของสังคม
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
สืบเนื่องจากที่ได้มีโอกาสไปบรรยาย เรื่องปัญหาท้องไม่พร้อมของกลุ่มวัยรุ่น ในโครงการ “One Woman One Value” ซึ่งทางสโมสรซอนต้ากรุงเทพ 10 จัดขึ้นที่โรงเรียนเบญจมินทร์ มีนักเรียนระดับชั้น ม.1 - ม.3 จำนวนราว 300 คน แบ่งเป็นหญิงชายประมาณอย่างละครึ่งได้
การพูดคุยในวันนั้นเป็นการชี้ให้เด็กเห็นถึงสถานการณ์และปัญหาเรื่องท้องไม่พร้อมในบ้านเรา ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ ติดทั้งอันดับเอเชียและอันดับโลก
ก่อนหน้านี้ เว็บไซต์องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์การตั้งครรภ์ของผู้หญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี ทั่วโลกในปี 2556 โดยประเทศไทยมีจำนวนสูงถึง 74 คน ต่อ 1,000 คน เท่ากับประเทศมาเลเซีย และอยู่อันดับที่ 2 รองจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างประเทศกัมพูชา และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ซึ่งมีสถิติอยู่ที่ 65 คน ต่อ 1,000 คน หรือประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากรมากที่สุดในภูมิภาค แต่มีสถิติเพียง 69 คน ต่อ 1,000 คนเท่านั้น ขณะที่เกณฑ์มาตรฐานจากทั่วโลกอยู่ที่ 65 คน ต่อ 1,000 คน
เมื่อลองโยนคำถามไปที่ตัวเด็กนักเรียน ถามถึงสาเหตุว่าทำไมวัยรุ่นถึงมีปัญหาท้องไม่พร้อม ปรากฏว่า เด็กนักเรียนที่ถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มจำนวน 12 กลุ่ม ก็แจกแจงถึงสาเหตุ ซึ่งพอจะสรุปออกมาได้ 20 ข้อ ซึ่งในแต่ละกลุ่มก็มีหลายข้อที่ซ้ำกันอยู่
ลองไปดูสาเหตุของพวกเขากันค่ะ
หนึ่ง ขาดความยับยั้งชั่งใจ
สอง ครอบครัวแตกแยก
สาม เกิดอารมณ์ทางเพศ หรืออารมณ์ชั่ววูบ ประมาณอารมณ์พาไป
สี่ ดูสื่อลามก
ห้า ไม่รู้จักป้องกัน
หก เพื่อนชักจูง หรืออิทธิพลจากเพื่อน
เจ็ด อยากรู้อยากลอง
แปด ดื่มแอลกอฮอล์
เก้า ขาดความรู้เรื่องเพศ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์
สิบ โดนล่อลวง หรือถูกข่มขืน
สิบเอ็ด ไม่คิดก่อนทำ
สิบสอง ชอบเที่ยวกลางคืน
สิบสาม ใช้สารเสพติด
สิบสี่ ไม่เห็นคุณค่าในตนเอง
สิบห้า แต่งตัวล่อแหลม
สิบหก ค่านิยมและทัศนคติผิดๆ เรื่องเพศ
สิบเจ็ด ความใจอ่อนของผู้หญิง เพราะรักเขาจนยอม
สิบแปด วุฒิภาวะไม่เพียงพอ
สิบเก้า ประมาท คิดว่าจะไม่เกิดอะไรขึ้น
ยี่สิบ ไม่กล้าซื้อถุงยาง
นี่เป็นข้อสรุปที่เด็กๆ ช่วยกันคิดว่าอะไรเป็นสาเหตุ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าทั้งหมดทุกข้อล้วนแล้วมีส่วนทั้งนั้น นั่นหมายความว่าพวกเขารู้ถึงสาเหตุ แต่ประเด็นก็คือแล้วถ้าเกิดกับตัวเองจริงๆ เด็กๆ จะมีทักษะชีวิตในการให้รอดต่อสถานการณ์นั้นๆ แค่ไหน อย่างไร
เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นปัญหาของเด็กเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของทุกภาคส่วนในสังคม
ที่สำคัญ ต้องเริ่มจากสถาบันครอบครัวที่ต้องเติมความรักและให้ความรู้ลูกอย่างถูกวิธีซะก่อน ถ้าพ่อแม่ผู้ปกครองใกล้ชิดผูกพันกับลูกมาตั้งแต่เล็ก พูดคุยกันทุกเรื่อง ก็จะทำให้สร้างภูมิต้านชีวิตให้กับลูกได้ในระดับสำคัญ
เมื่อเข้าสู่รั้วโรงเรียน เขาและเธอมีทั้งครูและเพื่อน ส่วนใหญ่เด็กจะสนิทกับเพื่อน พ่อแม่จำเป็นต้องเข้าถึงและให้ความสำคัญกับเพื่อนของลูก เพราะเมื่อเด็กเข้าสู่วัยรุ่น เพื่อนจะมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของลูกอย่างมาก คบเพื่อนดีมีชัยไปกว่าครึ่งเป็นเรื่องจริงที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องตระหนัก
ในขณะที่ภาครัฐเองก็ต้องจริงใจในการหาทางแก้ไขและหาวิธีป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนของเรามีความเสี่ยงต่อเรื่องนี้ ควรจะต้องมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดพื้นที่ดี เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อช่วยให้เด็กไม่ไปหมกมุ่นกับเรื่องเพศหรือเรื่องอื่นๆที่ไม่เหมาะสม รวมไปถึงการให้ความรู้อย่างถูกวิธีกับคนในชาติอย่างทั่วถึง
แม้แต่ภาคสื่อสารมวลชนเองก็ต้องคำนึงถึงเด็กและเยาวชนด้วย ในการนำเสนอข่าวก็ต้องระมัดระวังเนื้อหา ไม่ใช่ไปปลุกเร้าให้เด็กและเยาวชนยิ่งเตลิดหรืออยากรู้อยากลองหนักเข้าไปอีก
ทั้งหมดนี้เป็นการตอกย้ำอีกครั้งว่าปัญหาเรื่องท้องไม่พร้อมไม่ใช่ปัญหาของเด็กเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของสังคม
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่