เตือนตรุษจีนเลี่ยงควันธูปมหาศาล เหตุเผาไหม้พ่นสารก่อมะเร็งเพียบ กรมควบคุมโรคชี้แม้ไม่มีรายงานป่วยมะเร็งจากควันธูป แต่อาจเป็นสาเหตุหนึ่ง ใช้เวลาสะสมกว่า 10 ปี เช่นบุหรี่ก่อนก่อโรค ย้ำควรจุดธูปในที่อากาศถ่ายเท ใช้ธูปชนิดสั้น
วันนี้ (10 ก.พ.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า เทศกาลตรุษจีนตามประเพณีจะมีการจุดธูปจำนวนมากในการไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ ทำให้มีความเสี่ยงได้รับความธูปในปริมาณมาก ซึ่งการจุดธูปจะเกิดการเผาไหม้ของขี้เลื่อย กาว และน้ำหอมในธูป สารต่างๆ หลายตัวจะถูกปล่อยออกมาคล้ายกับที่พบในควันบุหรี่ และควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ เช่น ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และสารก่อมะเร็งหลายชนิด ทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย
นพ.โสภณ กล่าวว่า สารก่อมะเร็งที่สำคัญในควันธูปมี 3 ชนิด ได้แก่ 1. สารเบนโซเอไพรีน มีศักยภาพก่อมะเร็งสูงที่สุด มีความสัมพันธ์กับมะเร็งปอด ผิวหนัง และกระเพาะปัสสาวะ 2. สารเบนซีน มีความสัมพันธ์กับมะเร็งเม็ดเลือดขาว และ 3. สารบิวทาไดอีน มีความสัมพันธ์กับมะเร็งระบบเลือด นอกจากนี้ ยังพบว่าสถานที่ที่มีการจุดธูปต่อเนื่องมีสารเบนโซเอไพรีนสูงกว่าสถานที่ไม่จุดธูปถึง 63 เท่า ส่วนคนทำงานในวัดมีสารก่อมะเร็งในเลือดและปัสสาวะสูงกว่าคนไม่ได้ทำงานในวัดถึง 4 เท่า แต่ยังไม่พบหลักฐานชี้ชัดว่ามีผู้ป่วยมะเร็ง เนื่องจากควันธูป เพียงแต่พบหลักฐานว่าควันธูปมีสารชักนำให้เกิดมะเร็ง
“จากสถิติการรักษาหญิงไทยที่ป่วยเป็นมะเร็งปอด พบว่า กว่าร้อยละ 50 ไม่สูบบุหรี่ หรือไม่อยู่ใกล้ชิดผู้สูบบุหรี่ ไม่มีการได้รับสารก่อมะเร็งจากการทำงาน แพทย์คาดว่าน่าจะมีสาเหตุก่อมะเร็งอื่นๆ ที่ไม่ใช่บุหรี่ และควันธูปอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่ง แต่ระยะเวลาที่จะส่งผลให้เป็นมะเร็งนั้นต้องสะสมเป็น 10 ปีเช่นเดียวกับการสูบบุหรี่” อธิบดี คร. กล่าวและว่า สารพิษในควันธูปยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดอาการระคายเคืองตาและระบบทางเดินหายใจ ทำให้ปวดศีรษะ เหนื่อยล้า ง่วงนอน และหมดสติได้หากสูดดมระยะเวลายาวนาน โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว จะได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มอื่น จึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือสูดดมควันธูป หากไม่สามารถเลี่ยงได้ให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือหน้ากากป้องกันโรคปิดปากและจมูก รวมทั้งหลีกเลี่ยงการพักผ่อนหรือนอนหลับบริเวณที่มีการจุดธูป และทำความสะอาดบ้าน เพื่อลดการสะสมของฝุ่นละอองจากควันธูปที่อาจตกค้าง
“การป้องกันอันตรายจากควันธูป คือ 1. เลี่ยงการจุดธูปในบ้าน สถานที่ทำงาน หรือศาสนสถาน ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก 2. ควรใช้ธูปสั้น เพื่อลดระยะเวลาและปริมาณของควันธูป 3. เมื่อเสร็จพิธีสักการะ ควรดับหรือเก็บธูปให้เร็วขึ้น และ 4. ผู้ที่ปฏิบัติงานในศาสนสถาน ควรเลี่ยงการสูดดมควันธูปเป็นระยะเวลายาวนานและต่อเนื่อง หรือใช้หน้ากากป้องกันโรคปิดปากและจมูก ใช้ถุงมือในการจับธูป และหลังจากจับควรล้างมือ ล้างหน้า ล้างตา ให้บ่อยขึ้น และควรไปตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีอย่างต่อเนื่อง” อธิบดี คร. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (10 ก.พ.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า เทศกาลตรุษจีนตามประเพณีจะมีการจุดธูปจำนวนมากในการไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ ทำให้มีความเสี่ยงได้รับความธูปในปริมาณมาก ซึ่งการจุดธูปจะเกิดการเผาไหม้ของขี้เลื่อย กาว และน้ำหอมในธูป สารต่างๆ หลายตัวจะถูกปล่อยออกมาคล้ายกับที่พบในควันบุหรี่ และควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ เช่น ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และสารก่อมะเร็งหลายชนิด ทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย
นพ.โสภณ กล่าวว่า สารก่อมะเร็งที่สำคัญในควันธูปมี 3 ชนิด ได้แก่ 1. สารเบนโซเอไพรีน มีศักยภาพก่อมะเร็งสูงที่สุด มีความสัมพันธ์กับมะเร็งปอด ผิวหนัง และกระเพาะปัสสาวะ 2. สารเบนซีน มีความสัมพันธ์กับมะเร็งเม็ดเลือดขาว และ 3. สารบิวทาไดอีน มีความสัมพันธ์กับมะเร็งระบบเลือด นอกจากนี้ ยังพบว่าสถานที่ที่มีการจุดธูปต่อเนื่องมีสารเบนโซเอไพรีนสูงกว่าสถานที่ไม่จุดธูปถึง 63 เท่า ส่วนคนทำงานในวัดมีสารก่อมะเร็งในเลือดและปัสสาวะสูงกว่าคนไม่ได้ทำงานในวัดถึง 4 เท่า แต่ยังไม่พบหลักฐานชี้ชัดว่ามีผู้ป่วยมะเร็ง เนื่องจากควันธูป เพียงแต่พบหลักฐานว่าควันธูปมีสารชักนำให้เกิดมะเร็ง
“จากสถิติการรักษาหญิงไทยที่ป่วยเป็นมะเร็งปอด พบว่า กว่าร้อยละ 50 ไม่สูบบุหรี่ หรือไม่อยู่ใกล้ชิดผู้สูบบุหรี่ ไม่มีการได้รับสารก่อมะเร็งจากการทำงาน แพทย์คาดว่าน่าจะมีสาเหตุก่อมะเร็งอื่นๆ ที่ไม่ใช่บุหรี่ และควันธูปอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่ง แต่ระยะเวลาที่จะส่งผลให้เป็นมะเร็งนั้นต้องสะสมเป็น 10 ปีเช่นเดียวกับการสูบบุหรี่” อธิบดี คร. กล่าวและว่า สารพิษในควันธูปยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดอาการระคายเคืองตาและระบบทางเดินหายใจ ทำให้ปวดศีรษะ เหนื่อยล้า ง่วงนอน และหมดสติได้หากสูดดมระยะเวลายาวนาน โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว จะได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มอื่น จึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือสูดดมควันธูป หากไม่สามารถเลี่ยงได้ให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือหน้ากากป้องกันโรคปิดปากและจมูก รวมทั้งหลีกเลี่ยงการพักผ่อนหรือนอนหลับบริเวณที่มีการจุดธูป และทำความสะอาดบ้าน เพื่อลดการสะสมของฝุ่นละอองจากควันธูปที่อาจตกค้าง
“การป้องกันอันตรายจากควันธูป คือ 1. เลี่ยงการจุดธูปในบ้าน สถานที่ทำงาน หรือศาสนสถาน ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก 2. ควรใช้ธูปสั้น เพื่อลดระยะเวลาและปริมาณของควันธูป 3. เมื่อเสร็จพิธีสักการะ ควรดับหรือเก็บธูปให้เร็วขึ้น และ 4. ผู้ที่ปฏิบัติงานในศาสนสถาน ควรเลี่ยงการสูดดมควันธูปเป็นระยะเวลายาวนานและต่อเนื่อง หรือใช้หน้ากากป้องกันโรคปิดปากและจมูก ใช้ถุงมือในการจับธูป และหลังจากจับควรล้างมือ ล้างหน้า ล้างตา ให้บ่อยขึ้น และควรไปตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีอย่างต่อเนื่อง” อธิบดี คร. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่