โดย นพ.พิเชฐ ผนึกทอง สูติ-นรีแพทย์ โรงพยาบาลปิยะเวท
การวางแผนที่จะมีลูกน้อยเพื่อเป็นโซ่ทองคล้องใจเติมเต็มชีวิตครอบครัวให้สมบูรณ์นั้น นอกเหนือจากความรักที่ก่อเกิดขึ้นมาจากคนสองคนแล้ว ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่สงผลต่อการสร้างชีวิตคู่ สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเลยหากต้องการจะมีลูก คือ การตรวจสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมและเช็กความสมบูรณ์ของร่างกาย เนื่องจากโรคร้ายบางโรคอาจแอบแฝงอยู่ในร่างกายเราโดยที่ไม่แสดงอาการให้เห็น
เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่จะตามมาภายหลัง เราจึงควรตรวจสุขภาพก่อนการมีลูกเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจ!!
ของขวัญอันมีค่าสำหรับคนเป็นพ่อแม่ คือการที่ลูกเกิดมาแล้วมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่เป็นโรค การเริ่มต้นก่อนการมีลูกเราจึงควรที่จะวางแผนให้ดี และควรเข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน เพื่อนำผลเลือดที่ได้มาวิเคราะห์ หากเจอปัญหาจะได้หาทางแก้ไขได้อย่างทันท่วงที
รายการตรวจที่เราควรให้ความสำคัญ ได้แก่
การตรวจร่างกายโดยสูตินรีแพทย์อย่างละเอียด (Physical Examination by OB-GYN)
ตรวจหมู่เลือดและความเข้ากันได้ของเลือด ( ABO and Rh Grouping) เพื่อให้ทราบหมู่เลือด ABO และ หมู่เลือด Rh+ ซึ่งพบได้บ่อยในคนไทย แต่บางคนอาจมีหมู่เลือด Rh- ซึ่งหาได้ยาก ต้องมีการสำรองเลือดเพื่อความปลอดภัย และหมู่เลือด Rh - จะส่งผลต่อการตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 ทำให้เสี่ยงต่อการแท้งบุตรสูง
ตรวจหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เป็นการหาความเข้มของเลือดซึ่งในผู้หญิงไทยพบว่าการทานอาหารแบบเร่งด่วนในปัจจุบันส่งผลให้ภาวะซีดสูงขึ้น ซึ่งควรเพิ่มความเข้มของเลือดโดยการทานธาตุเหล็กบำรุงก่อนตั้งครรภ์เพื่อพัฒนาการที่ดีของบุตรในครรภ์ และทราบถึงปริมาณเกล็ดเลือด ซึ่งส่งผลต่อการห้ามเลือดตอนคลอดบุตร
ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี และภูมิคุ้มกัน (HBs Ag and anti-HBs) เป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกันและเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือสายเลือด จึงอาจส่งผลต่อการมีลูกในครรภ์
ตรวจหาความเสี่ยงโรคธาลัสซิเมีย (Hemoglobin Typing) เป็นการตรวจความผิดปกติทางพันธุกรรม เพื่อให้ทราบว่าคู่สมรสนั้น มีความเสี่ยงที่จะมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียหรือไม่ และจะมีทางเลือกอย่างไรบ้างในการมีบุตร และหาแนวทางในการป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ
ตรวจหาเชื้อเอดส์ (Anti HIV) การตรวจหาเชื้อเพื่อจะได้มีการป้องกันการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และวางแผนลดการติดเชื้อไปสู่บุตรได้
ตรวจหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน (Rubella for immune status) เป็นการตรวจเพื่อค้นหาโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสหัดเยอรมันในสตรี ซึ่งผลการตรวจพบว่าไม่มีภูมิคุ้มกัน ควรฉีดวัคซีนและคุมกำเนิดอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนตั้งครรภ์ เนื่องจากหากติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์อาจมีโอกาสที่ทารกจะพิการหรือแท้งสูง
อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ที่ปรารถนาจะมีลูกแต่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคประจำตัวหรือและคิดว่าความเสี่ยงของโรคจะมากขึ้นหากตั้งครรภ์ จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อแน่ใจว่าสภาวะร่างกายจะเหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
การวางแผนที่จะมีลูกน้อยเพื่อเป็นโซ่ทองคล้องใจเติมเต็มชีวิตครอบครัวให้สมบูรณ์นั้น นอกเหนือจากความรักที่ก่อเกิดขึ้นมาจากคนสองคนแล้ว ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่สงผลต่อการสร้างชีวิตคู่ สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเลยหากต้องการจะมีลูก คือ การตรวจสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมและเช็กความสมบูรณ์ของร่างกาย เนื่องจากโรคร้ายบางโรคอาจแอบแฝงอยู่ในร่างกายเราโดยที่ไม่แสดงอาการให้เห็น
เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่จะตามมาภายหลัง เราจึงควรตรวจสุขภาพก่อนการมีลูกเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจ!!
ของขวัญอันมีค่าสำหรับคนเป็นพ่อแม่ คือการที่ลูกเกิดมาแล้วมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่เป็นโรค การเริ่มต้นก่อนการมีลูกเราจึงควรที่จะวางแผนให้ดี และควรเข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน เพื่อนำผลเลือดที่ได้มาวิเคราะห์ หากเจอปัญหาจะได้หาทางแก้ไขได้อย่างทันท่วงที
รายการตรวจที่เราควรให้ความสำคัญ ได้แก่
การตรวจร่างกายโดยสูตินรีแพทย์อย่างละเอียด (Physical Examination by OB-GYN)
ตรวจหมู่เลือดและความเข้ากันได้ของเลือด ( ABO and Rh Grouping) เพื่อให้ทราบหมู่เลือด ABO และ หมู่เลือด Rh+ ซึ่งพบได้บ่อยในคนไทย แต่บางคนอาจมีหมู่เลือด Rh- ซึ่งหาได้ยาก ต้องมีการสำรองเลือดเพื่อความปลอดภัย และหมู่เลือด Rh - จะส่งผลต่อการตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 ทำให้เสี่ยงต่อการแท้งบุตรสูง
ตรวจหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เป็นการหาความเข้มของเลือดซึ่งในผู้หญิงไทยพบว่าการทานอาหารแบบเร่งด่วนในปัจจุบันส่งผลให้ภาวะซีดสูงขึ้น ซึ่งควรเพิ่มความเข้มของเลือดโดยการทานธาตุเหล็กบำรุงก่อนตั้งครรภ์เพื่อพัฒนาการที่ดีของบุตรในครรภ์ และทราบถึงปริมาณเกล็ดเลือด ซึ่งส่งผลต่อการห้ามเลือดตอนคลอดบุตร
ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี และภูมิคุ้มกัน (HBs Ag and anti-HBs) เป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกันและเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือสายเลือด จึงอาจส่งผลต่อการมีลูกในครรภ์
ตรวจหาความเสี่ยงโรคธาลัสซิเมีย (Hemoglobin Typing) เป็นการตรวจความผิดปกติทางพันธุกรรม เพื่อให้ทราบว่าคู่สมรสนั้น มีความเสี่ยงที่จะมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียหรือไม่ และจะมีทางเลือกอย่างไรบ้างในการมีบุตร และหาแนวทางในการป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ
ตรวจหาเชื้อเอดส์ (Anti HIV) การตรวจหาเชื้อเพื่อจะได้มีการป้องกันการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และวางแผนลดการติดเชื้อไปสู่บุตรได้
ตรวจหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน (Rubella for immune status) เป็นการตรวจเพื่อค้นหาโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสหัดเยอรมันในสตรี ซึ่งผลการตรวจพบว่าไม่มีภูมิคุ้มกัน ควรฉีดวัคซีนและคุมกำเนิดอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนตั้งครรภ์ เนื่องจากหากติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์อาจมีโอกาสที่ทารกจะพิการหรือแท้งสูง
อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ที่ปรารถนาจะมีลูกแต่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคประจำตัวหรือและคิดว่าความเสี่ยงของโรคจะมากขึ้นหากตั้งครรภ์ จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อแน่ใจว่าสภาวะร่างกายจะเหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่