สมศ. เคืองใจผลวิจัย สสค. ระบุครูใช้เวลากับการประเมินของ สมศ. มากถึง 9 วัน เป็นงานวิจัยคลาดเคลื่อน ใช้ฐานคิดผิดแค่ 1 ปี ทั้งที่ สมศ. ประเมินรอบ 5 ปี เพียง 1 ครั้ง ใช้เวลาแค่ 3 วันเท่านั้น ระบุถ้าครูจัดการสอนตามแผนการศึกษา จะไม่มีปัญหาทั้งประเมินภายในและภายนอก ด้าน สสค. สวนกลับให้ลงพื้นที่ฟังเสียงสะท้อนของครู ยันทำวิจัยบนฐานวิชาการ และสุ่มจากครูสอนดีทั่วประเทศ ย้ำไม่ชี้ชัดไปองค์กรใดองค์กรหนึ่งแต่สะท้อนความทุกข์ครูด้วยข้อเท็จจริง
วันนี้ (20 ม.ค.) ที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผอ.สมศ. เปิดเผยว่า ตามที่งานวิจัยเรื่อง กิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่กระทบต่อการจัดการเรียนการสอนของครู จัดทำโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพชีวิตเยาวชน (สสค.) ระบุว่า กิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่ครูต้องใช้เวลามากที่สุดเป็นอันดับแรก คือ การประเมินจากหน่วยงานภายนอก 43 วัน โดยใช้เวลากับการประเมิน สมศ. มากที่สุด 9 วันนั้น ตนขอชี้แจงว่า ผลวิจัยดังกล่าวน่าจะมีความคลาดเคลื่อน และเป็นงานวิจัยที่นำไปประยุกต์ใช้ไม่ได้ เพราะดูจากฐานคิดก็ผิดแล้ว ซึ่งในแผนภูมิอธิบายผลโดยใช้ฐาน 1 ปี แต่การประเมินของ สมศ. เมื่อครบรอบ 5 ปี จะประเมิน 1 ครั้ง ใช้เวลาประเมิน 3 วัน เฉลี่ยประมาณ 5 ชั่วโมงต่อปีเท่านั้น จึงไม่สามารถนำมาคิดรวมอยู่ในฐาน 1 ปีไม่ได้
“เมื่อผลวิจัยดังกล่าวถูกเผยแพร่สู่สังคม ทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนเป็นการชี้นำสังคมไปในทางที่ไม่ถูก และเมื่อชี้นำผิด สมศ. ก็ตกเป็นจำเลยสังคมแล้วใครจะรับผิดชอบ ซึ่งงานวิจัยของไทยจำนวนไม่น้อยที่เป็นแบบนี้ ไม่สามารถนำไปใช้ได้ และยังทำให้เกิดผลกระทบในทางลบ ดังนั้น คุณภาพงานวิจัยจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก” ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าว
ผอ.สมศ. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ตนเชื่อว่า ถ้าวิถีชีวิตครูดำเนินไปตามข้อปฏิบัติที่ต้นสังกัดกำหนด ใครสอนอะไรให้เตรียมการสอนวิชานั้น ทั้งกำหนด วัตถุประสงค์ และประเมินเด็ก มีการวางแผนการสอน ประเมินการสอน และนำผลการประเมินนั้นมาพัฒนา ซึ่งเอกสารต่างๆ ที่ครูทำก็จะถูกนำมาใช้ในการประเมินภายในและประเมินภายนอกของ สมศ. ได้ แต่ชีวิตจริงไม่ใช่ ครูไม่ได้ทำ ครูสอนโดยไม่บันทึก ไม่มีแผนการสอน เมื่อ สมศ. ไปประเมิน ครูต้องมาทำเอกสารต่างๆ เพื่อการประเมิน แสดงว่าวิถีชีวิตครูไม่ใช่วิถีชีวิตคุณภาพ สมศ. จึงอยากให้ครูพัฒนาการเรียนการสอน
ด้าน ดร.ไกรยศ ภัทรวาท ผู้เชี่ยวชาญนโยบายด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. กล่าวว่า ผลการวิจัยชิ้นนี้ดำเนินการตามหลักวิชาการ โดยสุ่มตัวอย่างจากครูสอนดีทุกตำบลทั่วประเทศ ซึ่งผลการวิจัยที่ระบุว่าใช้เวลากับการประเมิน สมศ. มากที่สุด 9 วันนั้น มาจากคำถามเกี่ยวกับกิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่ครูต้องมีการเตรียมการ เช่น การจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง การเดินทาง และการพบปะกับเจ้าหน้าที่ว่าต้องใช้เวลากี่วัน ดังนั้น ผลการวิจัยนี้จึงรวมถึงเวลาในการเตรียมการด้วย ไม่ใช่เวลาที่เข้ามาประเมินเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามคำถามนี้มีครูที่ตอบว่าใช้เวลามากกว่า 9 วัน เป็นจำนวนมาก แต่เราก็นำมาหาค่าเฉลี่ยจนได้ผลวิจัยที่ 9 วัน
“ผลการวิจัยมาจากเสียงสะท้อนของครูทั่วประเทศ เราจำเป็นต้องฟัง และมาร่วมกันหาคำตอบ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นความทุกข์ของครูที่ไม่เคยส่งเสียงมาให้สังคมได้รับทราบเลย ซึ่ง สสค. ไม่สามารถจะมาแก้ตัวเลขที่ครูบอกได้ เรามีแต่ข้อเท็จจริง มีเอกสารเป็นตั้งๆ และไม่ได้มุ่งชี้ผลการวิจัยไปที่องค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ดังนั้น อยากให้ลองลงพื้นที่ไปสอบถามครูดู และความจริงก็จะปรากฏ”ดร.ไกรยศ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (20 ม.ค.) ที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผอ.สมศ. เปิดเผยว่า ตามที่งานวิจัยเรื่อง กิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่กระทบต่อการจัดการเรียนการสอนของครู จัดทำโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพชีวิตเยาวชน (สสค.) ระบุว่า กิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่ครูต้องใช้เวลามากที่สุดเป็นอันดับแรก คือ การประเมินจากหน่วยงานภายนอก 43 วัน โดยใช้เวลากับการประเมิน สมศ. มากที่สุด 9 วันนั้น ตนขอชี้แจงว่า ผลวิจัยดังกล่าวน่าจะมีความคลาดเคลื่อน และเป็นงานวิจัยที่นำไปประยุกต์ใช้ไม่ได้ เพราะดูจากฐานคิดก็ผิดแล้ว ซึ่งในแผนภูมิอธิบายผลโดยใช้ฐาน 1 ปี แต่การประเมินของ สมศ. เมื่อครบรอบ 5 ปี จะประเมิน 1 ครั้ง ใช้เวลาประเมิน 3 วัน เฉลี่ยประมาณ 5 ชั่วโมงต่อปีเท่านั้น จึงไม่สามารถนำมาคิดรวมอยู่ในฐาน 1 ปีไม่ได้
“เมื่อผลวิจัยดังกล่าวถูกเผยแพร่สู่สังคม ทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนเป็นการชี้นำสังคมไปในทางที่ไม่ถูก และเมื่อชี้นำผิด สมศ. ก็ตกเป็นจำเลยสังคมแล้วใครจะรับผิดชอบ ซึ่งงานวิจัยของไทยจำนวนไม่น้อยที่เป็นแบบนี้ ไม่สามารถนำไปใช้ได้ และยังทำให้เกิดผลกระทบในทางลบ ดังนั้น คุณภาพงานวิจัยจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก” ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าว
ผอ.สมศ. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ตนเชื่อว่า ถ้าวิถีชีวิตครูดำเนินไปตามข้อปฏิบัติที่ต้นสังกัดกำหนด ใครสอนอะไรให้เตรียมการสอนวิชานั้น ทั้งกำหนด วัตถุประสงค์ และประเมินเด็ก มีการวางแผนการสอน ประเมินการสอน และนำผลการประเมินนั้นมาพัฒนา ซึ่งเอกสารต่างๆ ที่ครูทำก็จะถูกนำมาใช้ในการประเมินภายในและประเมินภายนอกของ สมศ. ได้ แต่ชีวิตจริงไม่ใช่ ครูไม่ได้ทำ ครูสอนโดยไม่บันทึก ไม่มีแผนการสอน เมื่อ สมศ. ไปประเมิน ครูต้องมาทำเอกสารต่างๆ เพื่อการประเมิน แสดงว่าวิถีชีวิตครูไม่ใช่วิถีชีวิตคุณภาพ สมศ. จึงอยากให้ครูพัฒนาการเรียนการสอน
ด้าน ดร.ไกรยศ ภัทรวาท ผู้เชี่ยวชาญนโยบายด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. กล่าวว่า ผลการวิจัยชิ้นนี้ดำเนินการตามหลักวิชาการ โดยสุ่มตัวอย่างจากครูสอนดีทุกตำบลทั่วประเทศ ซึ่งผลการวิจัยที่ระบุว่าใช้เวลากับการประเมิน สมศ. มากที่สุด 9 วันนั้น มาจากคำถามเกี่ยวกับกิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่ครูต้องมีการเตรียมการ เช่น การจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง การเดินทาง และการพบปะกับเจ้าหน้าที่ว่าต้องใช้เวลากี่วัน ดังนั้น ผลการวิจัยนี้จึงรวมถึงเวลาในการเตรียมการด้วย ไม่ใช่เวลาที่เข้ามาประเมินเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามคำถามนี้มีครูที่ตอบว่าใช้เวลามากกว่า 9 วัน เป็นจำนวนมาก แต่เราก็นำมาหาค่าเฉลี่ยจนได้ผลวิจัยที่ 9 วัน
“ผลการวิจัยมาจากเสียงสะท้อนของครูทั่วประเทศ เราจำเป็นต้องฟัง และมาร่วมกันหาคำตอบ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นความทุกข์ของครูที่ไม่เคยส่งเสียงมาให้สังคมได้รับทราบเลย ซึ่ง สสค. ไม่สามารถจะมาแก้ตัวเลขที่ครูบอกได้ เรามีแต่ข้อเท็จจริง มีเอกสารเป็นตั้งๆ และไม่ได้มุ่งชี้ผลการวิจัยไปที่องค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ดังนั้น อยากให้ลองลงพื้นที่ไปสอบถามครูดู และความจริงก็จะปรากฏ”ดร.ไกรยศ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่