ชะลอโครงการจบ ม.6 ใน 8 เดือน องค์กรหลัก ศธ. เห็นพ้องตามข้อเสนอ ค.ต.ป. ชี้คนจบน้อยที่ผ่านมาจบเพียง 15% มีปัญหาหลายด้าน ระบุเรียนข้ามขั้นเกินไป แนะใช้ระบบเทียบโอนตามปกติ สั่ง ก.ศ.น. ดูแลผู้เรียนที่ค้างท่อ 5 หมื่นคน
นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมมีมติให้ชะลอโครงการยกระดับการศึกษาประชาชน จบ ม.6 ใน 8 เดือนอย่างมีคุณภาพ ตามข้อเสนอของที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.) ที่มีการประเมินผลงานของโครงการต่างๆ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา พบว่า โครงการดังกล่าวยังมีปัญหาในการปฏิบัติ โดยผู้สมัครเสียเงินเข้าโครงการ แต่ก็ยังเรียนไม่จบ อีกทั้งการบริหารจัดการก็ไม่มีประสิทธิภาพ มีผู้สำเร็จการศึกษาน้อยมาก การกำหนดเป้าหมายผู้เรียนไม่สอดคล้องกับพื้นที่ สถานที่สอบห่างไกลเกินไป ข้อสอบมีเนื้อหาค่อนข้างยาก หน่วยปฏิบัติงานขาดความเข้าใจที่ตรงกัน ทั้งยังเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่ากับงบประมาณโดยที่ประชุมเห็นว่าเป็นการเรียนที่ข้ามขั้นจนเกินไป
“ในปีที่ผ่านมามีผู้ร่วมโครงการผ่านการประเมินและสำเร็จการศึกษาเพียง 15% เท่านั้น ทำให้ผู้เรียนเสียเงินฟรีหลายครั้งก็ยังไม่จบการศึกษา ดังนั้น ที่ประชุมจึงเสนอให้กลับไปใช้ระบบเทียบโอนแบบเดิม คือ จบการศึกษาไปทีละขั้นตอนตามระบบการศึกษา ส่วนผู้เรียนที่ยังเรียนค้างอยู่ในโครงการฯนี้ ประมาณ 50,000 คน ก็ให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ดูแลไปจนจบการศึกษา” ปลัด ศธ. กล่าวและว่า ที่ประชุมได้ย้ำว่าหาก กศน. จะจัดโครงการอื่นๆ ขึ้น เพื่อดูแลการศึกษาของประชาชนตลอดชีวิต ก็อยากให้เน้นการเพิ่มโอกาสให้กับผู้เรียนอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะการคำนึงถึงคุณภาพมาตรฐานของผู้เรียนด้วย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมมีมติให้ชะลอโครงการยกระดับการศึกษาประชาชน จบ ม.6 ใน 8 เดือนอย่างมีคุณภาพ ตามข้อเสนอของที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.) ที่มีการประเมินผลงานของโครงการต่างๆ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา พบว่า โครงการดังกล่าวยังมีปัญหาในการปฏิบัติ โดยผู้สมัครเสียเงินเข้าโครงการ แต่ก็ยังเรียนไม่จบ อีกทั้งการบริหารจัดการก็ไม่มีประสิทธิภาพ มีผู้สำเร็จการศึกษาน้อยมาก การกำหนดเป้าหมายผู้เรียนไม่สอดคล้องกับพื้นที่ สถานที่สอบห่างไกลเกินไป ข้อสอบมีเนื้อหาค่อนข้างยาก หน่วยปฏิบัติงานขาดความเข้าใจที่ตรงกัน ทั้งยังเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่ากับงบประมาณโดยที่ประชุมเห็นว่าเป็นการเรียนที่ข้ามขั้นจนเกินไป
“ในปีที่ผ่านมามีผู้ร่วมโครงการผ่านการประเมินและสำเร็จการศึกษาเพียง 15% เท่านั้น ทำให้ผู้เรียนเสียเงินฟรีหลายครั้งก็ยังไม่จบการศึกษา ดังนั้น ที่ประชุมจึงเสนอให้กลับไปใช้ระบบเทียบโอนแบบเดิม คือ จบการศึกษาไปทีละขั้นตอนตามระบบการศึกษา ส่วนผู้เรียนที่ยังเรียนค้างอยู่ในโครงการฯนี้ ประมาณ 50,000 คน ก็ให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ดูแลไปจนจบการศึกษา” ปลัด ศธ. กล่าวและว่า ที่ประชุมได้ย้ำว่าหาก กศน. จะจัดโครงการอื่นๆ ขึ้น เพื่อดูแลการศึกษาของประชาชนตลอดชีวิต ก็อยากให้เน้นการเพิ่มโอกาสให้กับผู้เรียนอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะการคำนึงถึงคุณภาพมาตรฐานของผู้เรียนด้วย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่