ส่อเค้าพับโปรเจกต์ จบ ม.6 ใน 8 เดือน หลังพิจารณาคุ้มทุนโครงการพบคนสมัครลดลงโดยเฉพาะรุ่น 3 เหลือแค่กว่า 1 หมื่นคน อีกทั้งคนจบยังน้อยแต่ข้อดีคนจบมีคุณภาพจริง จ่อฟื้นเทียบระดับแบบไต่ระดับรับรอบรอยต่อรุ่น 4
นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เปิดเผยว่า นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้มอบให้สำนักงาน กศน. ทบทวนโครงการยกระดับการศึกษาประชาชน จบ ม.6 ใน 8 เดือนอย่างมีคุณภาพ หรือ เทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามข้อเสนอของที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.) นั้น ตนได้ประชุมกับผู้เชี่ยวชาญ ของ กศน. และตัวแทนผู้อำนวยการ กศน. จังหวัด 5 ภูมิภาค ในเรื่องความคุ้มทุนของโครงการดังกล่าวแล้วเห็นตรงกันว่าไม่คุ้มทุน
ทั้งนี้ โครงการนี้เริ่มรับรุ่นแรก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 มีผู้สมัคร 74,119 คน มีผู้เข้าสอบ 50,526 คน ผ่านการประเมินเพียง 7,969 คน รุ่น 2 ภาคเรียนที่ 2/2556 สมัคร 38,312 คน เข้าสอบ 13,330 คน ผ่าน 6,252 คน รุ่น 3 ภาคเรียนที่ 1/2557 สมัคร 10,127 คน ซึ่งผู้สมัครจะต้องเสียค่าลงทะเบียนเรียนคนละ 1,500 บาท และรัฐอุดหนุนค่าสื่อคนละ 3,000 บาท ยังอยู่ระหว่างผลการคัดเลือก แต่ที่ผ่านมามีผู้ผ่านได้เทียบระดับน้อยมากและจำนวนผู้สมัครก็ลดลงเรื่อยๆ แต่เมื่อดูด้านคุณภาพแล้วจะพบว่าผู้ที่ผ่านและได้เทียบระดับคือคนที่เก่งจริงๆ ดังนั้น โครงการนี้จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีวุฒิภาวะ มีประสบการณ์สูง เช่น เจ้าของกิจการ หรือ เกษตรกรที่เก่งๆ
เลขาธิการ กศน. กล่าวต่อว่า ส่วนรุ่นที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 กำลังอยู่ระหว่างการรับสมัครจนถึงวันที่ 15 ม.ค. นี้ เบื้องต้นทราบว่ามีผู้สมัครประมาณ 20,000 คน โดยเป็นผู้ที่ลงทะเบียนเรียนเดิมกว่า 10,000 คน ซึ่ง กศน.กำลังทบทวนว่าจะนำการเทียบระดับแบบไต่ระดับ คือ ได้รับวุฒิ ป.6 ม.3 และ ม.6 ตามลำดับที่ได้ยกเลิกไปกลับมาใช้และดูแลผู้ที่ลงทะเบียนเรียนกลุ่มนี้ให้จบ ม.6 ทุกคน โดยปรับปรุงการเทียบระดับแบบไต่ระดับให้มีคุณภาพมากขึ้น
“ ขณะนี้ยังไม่พูดว่ายุบเลิกโครงการจบ ม.6 ใน 8 เดือนอย่างมีคุณภาพ กำลังอยู่ระหว่างศึกษาอย่างละเอียด โดยให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำการศึกษาโครงการให้ ขณะเดียวกัน ผมก็ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาเรื่องเทียบระดับแบบไต่ระดับให้เหมาะสมก่อนประกาศใช้รอบรับรอยต่อของผู้ที่ค้างท่ออยู่ได้ และเอื้อต่อโอกาสในการเรียนของประชาชน ตามหลักการของ กศน. คือ เพิ่มโอกาสอย่างมีคุณภาพ"เลขาธิการ กศน. กล่าว
ด้าน พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ยังไม่ได้มีการรายงานเรื่องนี้มาที่ตนเองโดยตรง แต่ก็คงต้องเข้าไปดูในรายละเอียด ว่าปัญหาทั้งหมดเกิดจากอะไร เพื่อจะได้ทำการแก้ให้ตรงจุด
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เปิดเผยว่า นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้มอบให้สำนักงาน กศน. ทบทวนโครงการยกระดับการศึกษาประชาชน จบ ม.6 ใน 8 เดือนอย่างมีคุณภาพ หรือ เทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามข้อเสนอของที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.) นั้น ตนได้ประชุมกับผู้เชี่ยวชาญ ของ กศน. และตัวแทนผู้อำนวยการ กศน. จังหวัด 5 ภูมิภาค ในเรื่องความคุ้มทุนของโครงการดังกล่าวแล้วเห็นตรงกันว่าไม่คุ้มทุน
ทั้งนี้ โครงการนี้เริ่มรับรุ่นแรก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 มีผู้สมัคร 74,119 คน มีผู้เข้าสอบ 50,526 คน ผ่านการประเมินเพียง 7,969 คน รุ่น 2 ภาคเรียนที่ 2/2556 สมัคร 38,312 คน เข้าสอบ 13,330 คน ผ่าน 6,252 คน รุ่น 3 ภาคเรียนที่ 1/2557 สมัคร 10,127 คน ซึ่งผู้สมัครจะต้องเสียค่าลงทะเบียนเรียนคนละ 1,500 บาท และรัฐอุดหนุนค่าสื่อคนละ 3,000 บาท ยังอยู่ระหว่างผลการคัดเลือก แต่ที่ผ่านมามีผู้ผ่านได้เทียบระดับน้อยมากและจำนวนผู้สมัครก็ลดลงเรื่อยๆ แต่เมื่อดูด้านคุณภาพแล้วจะพบว่าผู้ที่ผ่านและได้เทียบระดับคือคนที่เก่งจริงๆ ดังนั้น โครงการนี้จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีวุฒิภาวะ มีประสบการณ์สูง เช่น เจ้าของกิจการ หรือ เกษตรกรที่เก่งๆ
เลขาธิการ กศน. กล่าวต่อว่า ส่วนรุ่นที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 กำลังอยู่ระหว่างการรับสมัครจนถึงวันที่ 15 ม.ค. นี้ เบื้องต้นทราบว่ามีผู้สมัครประมาณ 20,000 คน โดยเป็นผู้ที่ลงทะเบียนเรียนเดิมกว่า 10,000 คน ซึ่ง กศน.กำลังทบทวนว่าจะนำการเทียบระดับแบบไต่ระดับ คือ ได้รับวุฒิ ป.6 ม.3 และ ม.6 ตามลำดับที่ได้ยกเลิกไปกลับมาใช้และดูแลผู้ที่ลงทะเบียนเรียนกลุ่มนี้ให้จบ ม.6 ทุกคน โดยปรับปรุงการเทียบระดับแบบไต่ระดับให้มีคุณภาพมากขึ้น
“ ขณะนี้ยังไม่พูดว่ายุบเลิกโครงการจบ ม.6 ใน 8 เดือนอย่างมีคุณภาพ กำลังอยู่ระหว่างศึกษาอย่างละเอียด โดยให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำการศึกษาโครงการให้ ขณะเดียวกัน ผมก็ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาเรื่องเทียบระดับแบบไต่ระดับให้เหมาะสมก่อนประกาศใช้รอบรับรอยต่อของผู้ที่ค้างท่ออยู่ได้ และเอื้อต่อโอกาสในการเรียนของประชาชน ตามหลักการของ กศน. คือ เพิ่มโอกาสอย่างมีคุณภาพ"เลขาธิการ กศน. กล่าว
ด้าน พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ยังไม่ได้มีการรายงานเรื่องนี้มาที่ตนเองโดยตรง แต่ก็คงต้องเข้าไปดูในรายละเอียด ว่าปัญหาทั้งหมดเกิดจากอะไร เพื่อจะได้ทำการแก้ให้ตรงจุด
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่