อธิบดี คร. เผย ส้มตำปูดองพบเชื่ออหิวาต์เทียมน้อย ส่วนใหญ่เป็นเชื้อกลุ่มซาโมไนลา - พยาธิใบไม้ในปอด ชี้พบมากสุดในสัตว์ทะเล
วันนี้ (18 ม.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึงกรณีที่มีการเตือนเรื่องเชื้ออหิวาต์เทียมในส้มตำปูดอง ว่า เชื้อดังกล่าวอาจจะพบได้ แต่น้อยมากเนื่องจากส่วนใหญ่จะพบในสัตว์ทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา หรือการบริโภคส้มตำปูม้าอาจจะเจอเชื้อนี้ได้ แต่กรณีของส้มตำปูดองนั้นปูที่ใช้เป็นปูนาอัตราการเจอเชื้อต่ำ แต่จะมีปัญหาจากเชื้อที่ทำให้เกิดท้องเสียตัวอื่นเช่น กลุ่มซาโมไนลา รวมถึงพยาธิใบไม้ในปอด จึงย้ำเตือนว่าการบริโภคอาหารประเภทใดก็ตามขอให้เน้นที่การปรุงสุกใหม่ๆ สะอาด ก่อนรับประทานอาหารต้องล้างมือให้สะอาด ยึดหลัก กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ
ทั้งนี้ สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานการเกิดอาหารเป็นพิษทั้งหมด 128,082 ราย คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 199 ต่อ ประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ในจำนวนนี้ร้อยละ 0.5 ที่ส่งเชื้อตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถระบุเชื้อก่อโรคได้ พบว่าเกิดจากเชื้ออหิวาต์เทียม (Vibrio parahaemolyticus) ร้อยละ 0.2 เชื้อซาโมไนลา (Salmonella spp.) ร้อยละ 0.1 และเชื้อสเตฟี่โลคอคคัส (Staphylococcus spp.) ร้อยละ 0.1 เมื่อวิเคราะห์จากสถานการณ์การระบาด ซึ่งมีทั้งหมด 173 เหตุการณ์ มี 43 เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานข้าวมันไก่ ซึ่งผลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการด้วยการเพาะเชื้อในอุจจาระของผู้ป่วยพบเป็นเชื้ออหิวาต์เทียม 27 เหตุการณ์ คิดเป็นร้อยละ 62.8 ร้องลงมาคือ เชื้อซาโมไนลาร้อยละ 14
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (18 ม.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึงกรณีที่มีการเตือนเรื่องเชื้ออหิวาต์เทียมในส้มตำปูดอง ว่า เชื้อดังกล่าวอาจจะพบได้ แต่น้อยมากเนื่องจากส่วนใหญ่จะพบในสัตว์ทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา หรือการบริโภคส้มตำปูม้าอาจจะเจอเชื้อนี้ได้ แต่กรณีของส้มตำปูดองนั้นปูที่ใช้เป็นปูนาอัตราการเจอเชื้อต่ำ แต่จะมีปัญหาจากเชื้อที่ทำให้เกิดท้องเสียตัวอื่นเช่น กลุ่มซาโมไนลา รวมถึงพยาธิใบไม้ในปอด จึงย้ำเตือนว่าการบริโภคอาหารประเภทใดก็ตามขอให้เน้นที่การปรุงสุกใหม่ๆ สะอาด ก่อนรับประทานอาหารต้องล้างมือให้สะอาด ยึดหลัก กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ
ทั้งนี้ สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานการเกิดอาหารเป็นพิษทั้งหมด 128,082 ราย คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 199 ต่อ ประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ในจำนวนนี้ร้อยละ 0.5 ที่ส่งเชื้อตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถระบุเชื้อก่อโรคได้ พบว่าเกิดจากเชื้ออหิวาต์เทียม (Vibrio parahaemolyticus) ร้อยละ 0.2 เชื้อซาโมไนลา (Salmonella spp.) ร้อยละ 0.1 และเชื้อสเตฟี่โลคอคคัส (Staphylococcus spp.) ร้อยละ 0.1 เมื่อวิเคราะห์จากสถานการณ์การระบาด ซึ่งมีทั้งหมด 173 เหตุการณ์ มี 43 เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานข้าวมันไก่ ซึ่งผลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการด้วยการเพาะเชื้อในอุจจาระของผู้ป่วยพบเป็นเชื้ออหิวาต์เทียม 27 เหตุการณ์ คิดเป็นร้อยละ 62.8 ร้องลงมาคือ เชื้อซาโมไนลาร้อยละ 14
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่