10 สภาวิชาชีพด้านสาธารณสุข หนุนการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการรักษาพยาบาล ชี้มีมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันฯ ดูแลอยู่แล้ว สามารถนำมาปรับใช้กับคนทั้งประเทศ ย้ำหากออกกฎหมายใหม่ต้องทำประชาพิจารณ์ วิเคราะห์ผลกระทบผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
วันนี้ (8 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสมาพันธ์สภาวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ตัวแทนสภาการพยาบาล ทันตแพทยสภา สภาเทคนิคการแพทย์ สภากายภาพบำบัด สภาเภสัชกรรม สัตวแพทยสภา แพทยสภา สภาทนายความในพระบรมราชูถัมถ์ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย และสมาคมแพทย์แผนไทย กรณีการผลักดันร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการทางสาธารณสุข หรือในชื่ออื่นๆ ที่มีหลักการใกล้เคียงกัน เข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เนื่องจากร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบกับสภาวิชาชีพทางด้านสาธารณสุขหลายสภาวิชาชีพด้วยกัน
ทั้งนี้ ในที่ประชุมได้ข้อสรุป ว่า 1. เห็นด้วยกับการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการรักษาพยาบาลอย่างรวดเร็ว ทั่วถึง และเป็นธรรม 2. ปัจจุบันมีกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่แล้ว เช่น พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 41 เรื่องการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ สามารถนำมาปรับใช้ให้ครอบคลุมประชาชนทุกคนในประเทศ และสามารถดำเนินการได้เลย 3. กรณีที่ต้องพิจารณาถึงความจำเป็นที่จะต้องออกกฎหมายใหม่หรือไม่ ควรทำการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงระบบการเงินการคลังของประเทศ และต้องผ่านการทำประชาพิจารณ์อย่างกว้างขวาง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (8 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสมาพันธ์สภาวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ตัวแทนสภาการพยาบาล ทันตแพทยสภา สภาเทคนิคการแพทย์ สภากายภาพบำบัด สภาเภสัชกรรม สัตวแพทยสภา แพทยสภา สภาทนายความในพระบรมราชูถัมถ์ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย และสมาคมแพทย์แผนไทย กรณีการผลักดันร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการทางสาธารณสุข หรือในชื่ออื่นๆ ที่มีหลักการใกล้เคียงกัน เข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เนื่องจากร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบกับสภาวิชาชีพทางด้านสาธารณสุขหลายสภาวิชาชีพด้วยกัน
ทั้งนี้ ในที่ประชุมได้ข้อสรุป ว่า 1. เห็นด้วยกับการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการรักษาพยาบาลอย่างรวดเร็ว ทั่วถึง และเป็นธรรม 2. ปัจจุบันมีกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่แล้ว เช่น พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 41 เรื่องการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ สามารถนำมาปรับใช้ให้ครอบคลุมประชาชนทุกคนในประเทศ และสามารถดำเนินการได้เลย 3. กรณีที่ต้องพิจารณาถึงความจำเป็นที่จะต้องออกกฎหมายใหม่หรือไม่ ควรทำการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงระบบการเงินการคลังของประเทศ และต้องผ่านการทำประชาพิจารณ์อย่างกว้างขวาง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่