เครือข่ายทันตแพทย์ ยื่นหนังสือ กมธ.สาธารณสุข ค้านร่าง พ.ร.บ.ทันตแพทย์ ที่ให้ต่อใบวิชาชีพทุก 5 ปี และต้องผ่านเกณฑ์อบรม โวยลิดรอนสิทธิ
วันนี้ (24 ก.พ.) ที่รัฐสภา เครือข่ายทันตแพทย์ภาครัฐและเอกชน นำโดย ทพ.พิทักษ์ ไชยเจริญ ที่ปรึกษาประธานบริหารโรงพยาบาลวิชัยยุทธ นำทันตแพทย์จากภาคส่วนต่างๆ ยื่นหนังสือถึง นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อคัดค้านร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. ... ที่ให้ต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรมทุก 5 ปี โดยทพ.พิทักษ์กล่าวว่า ขณะนี้มีทันตแพทย์ 2,000 กว่าคนเข้าชื่อคัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าวแล้วจะทยอยเข้าชื่อกันมากขึ้นเรื่อยๆ เหตุผลที่คัดค้านเนื่องจากร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้กำหนดให้ทันตแพทย์ต้องต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทุก 5 ปี จากเดิมที่ได้ใบประกอบวิชาชีพตลอดชีวิต ซึ่งทุก 5 ปี ทันตแพทย์จะต้องเข้าอบรมหลักสูตรตามที่ทันตแพทยสภากำหนด เพื่อนำมาคิดเป็นคะแนน หากใครไม่ผ่านเกณฑ์การอบรมตามที่กำหนด จะไม่ได้ต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ถือเป็นการลิดรอนสิทธิการประกอบวิชาชีพทันตแพทย์ที่มีอยู่ก่อนที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ อีกทั้งทันตแพทย์จำนวนมากไม่ได้รับทราบการทำร่างกฎหมายฉบับนี้ซึ่งอ้างว่าได้ผ่านการทำประชาพิจารณ์จากทันตแพทยสภามาตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมทำประชาพิจารณ์จำนวนน้อยมาก ไม่ควรนำมาเป็นมติของทันตแพทยสภา
วันนี้ (24 ก.พ.) ที่รัฐสภา เครือข่ายทันตแพทย์ภาครัฐและเอกชน นำโดย ทพ.พิทักษ์ ไชยเจริญ ที่ปรึกษาประธานบริหารโรงพยาบาลวิชัยยุทธ นำทันตแพทย์จากภาคส่วนต่างๆ ยื่นหนังสือถึง นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อคัดค้านร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. ... ที่ให้ต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรมทุก 5 ปี โดยทพ.พิทักษ์กล่าวว่า ขณะนี้มีทันตแพทย์ 2,000 กว่าคนเข้าชื่อคัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าวแล้วจะทยอยเข้าชื่อกันมากขึ้นเรื่อยๆ เหตุผลที่คัดค้านเนื่องจากร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้กำหนดให้ทันตแพทย์ต้องต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทุก 5 ปี จากเดิมที่ได้ใบประกอบวิชาชีพตลอดชีวิต ซึ่งทุก 5 ปี ทันตแพทย์จะต้องเข้าอบรมหลักสูตรตามที่ทันตแพทยสภากำหนด เพื่อนำมาคิดเป็นคะแนน หากใครไม่ผ่านเกณฑ์การอบรมตามที่กำหนด จะไม่ได้ต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ถือเป็นการลิดรอนสิทธิการประกอบวิชาชีพทันตแพทย์ที่มีอยู่ก่อนที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ อีกทั้งทันตแพทย์จำนวนมากไม่ได้รับทราบการทำร่างกฎหมายฉบับนี้ซึ่งอ้างว่าได้ผ่านการทำประชาพิจารณ์จากทันตแพทยสภามาตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมทำประชาพิจารณ์จำนวนน้อยมาก ไม่ควรนำมาเป็นมติของทันตแพทยสภา