สปสช.ชี้ข้อเสนอปรับเกณฑ์จัดสรรงบบัตรทองของ สธ. มีข้อจำกัดมาก อาจทำ รพ.ขาดทุนหนักกว่าเดิม ระบุต้องมีกลไกกลางศึกษารายละเอียดปัญหา เผย คกก.ชุด “หมอยุทธ” เป็นกลางที่สุดแล้ว ย้ำการจัดสรรงบประมาณไม่ตามใจ 3 ฝ่าย ส่วนแก้ รพ.ขาดทุน รมช.สธ.เสนอตั้งงบเฉพาะเป็นทางออกระยะยาว
วันนี้ (5 ม.ค.) ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงปัญหาโรงพยาบาลขาดสภาพคล่องว่า เรื่องนี้ต้องมีการตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อแก้ไขปัญหา โดยช่วงเวลา 16.00 น. ของวันที่ 5 ม.ค. ได้มีการหารือร่วมกันของ สปสช. และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยเบื้องต้นจากการหารือกับ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข ทราบว่า จะแบ่งการแก้ปัญหาออกเป็นระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ส่วน นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.สาธารณสุข เสนอให้มีการแยกกองทุนสำหรับโรงพยาบาลขาดสภาพคล่อง เพราะต้องยอมรับว่า เมื่อรัฐบาลตัดสินใจสร้างหน่วยบริการในพื้นที่คนน้อย พื้นที่เสี่ยงภัย ก็ต้องมีต้นทุนสูงเป็นเรื่องธรรมดา การสนับสนุนงบเฉพาะน่าจะเป็นทางออกระยะยาว แต่ก็ต้องดูสถานการณ์ปัจจุบันของโรงพยาบาลแต่ละแห่งว่ามีปัจจัยอะไรบ้าง
“จากการวิเคราะห์ข้อเสนอการปรับเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวของ สธ. พบว่า การจัดสรรเงินรายเขต เทียบกับวิธีเดิมของ สปสช. ยังมีข้อจำกัดในการทำงาน ซึ่งอาจจะไม่ใช่แนวทางที่ดีที่สุด อาจจะส่งผลกระทบให้โรงพยาบาลที่ขาดสภาพคล่องมีปัญหามากกว่าเดิม ดังนั้น จึงต้องศึกษารายละเอียดว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร และต้องช่วยคิดว่าวิธีไหนจะช่วยให้บริการดีขึ้นได้” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ปัญหาโรงพยาบาลขาดสภาพคล่องมีหลายสาเหตุ เมื่อวิเคราะห์แล้วพบว่ามาจาก 1.การลดงบเหมาจ่ายรายหัวเมื่อปี 2555 ลง 10% หลังเกิดเหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่ และปี 2556-2557 รัฐบาลก็จัดสรรงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวในอัตราเดิม ทั้งที่โดยเฉลี่ยแล้วงบเหมาจ่ายรายหัวควรเพิ่มขึ้นประมาณ 6% ทุกปี 2.นโยบายของรัฐบาลมีการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่ง สธ.มีลูกจ้างในระบบเป็นแสนคน 3.สธ.ยังมีการออกระเบียบเรื่องค่าตอบแทนฉบับ 7 8 และ 9 4.การจัดสรรงบของ สปสช.ในพื้นที่ห่างไกลประสบปัญหา และหาวิธีช่วยมาตลอด เช่น การให้งบเพิ่มเติมในพื้นที่ชายแดนฯ และ 5.การบริหารจัดการโรงพยาบาลในพื้นที่เดียวกัน บางแห่งมีปัญหา บางแห่งไม่มีปัญหา เพราะผู้บริหารไม่ใส่ใจ เชื่อว่าหากผู้บริหารอยู่ในพื้นที่ และเอาใจใส่โรงพยาบาลจะไม่ติดลบ
นพ.ประทีป กล่าวว่า ทางออกที่สำคัญคือ ต้องมีกลไกกลางลงไปดูสภาพจริงของแต่ละพื้นที่ และ สธ.กับ สปสช.ต้องร่วมมือกันในการผลักดันให้มีการเพิ่มงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมา ถูกแช่แข็งไว้ รวมถึงการบริหารจัดการของโรงพยาบาล ผู้บริหารต้องเป็นมืออาชีพ และสร้างการให้บริหารคล่องตัวให้พอแข่งขันต่อเอกชนได้ ทั้งนี้ หน่วยงานที่เป็นกลางในการแก้ปัญหาคือ คณะกรรมการที่มี นพ.ยุทธ โพธารามิก เป็นประธาน ซึ่งแต่งตั้งโดย รมว.สาธารณสุข โดยมีการวางทั้งฝั่ง สธ. สปสช. และหน่วยงานภายนอก เช่น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กรมบัญชีกลาง เป็นต้น ซึ่ง นพ.ยุทธ ก็เป็นที่เคารพของคนทั้งใน และนอกกระทรวง แต่สุดท้ายแล้วก็ยื่นใบลาออก จึงอยากวอนขอให้ดำรงตำแหน่ง และร่วมแก้ปัญหานี้ต่อไป
“ทางออกการพัฒนาต้องทำที่ตัวระบบ ซึ่งจริงๆ แล้วงาน Servive Plan ของ สธ.ก็เป็นโมเดลที่ สธ. และ สปสช.ทำร่วมกันมาตั้งแต่แรก ซึ่ง สปสช.ก็เห็นด้วย เช่นเดียวกับบริหารงานในระดับเขตสุขภาพ แต่เรื่องการการจัดสรรงบประมาณ คือหน้าที่ของ สปสช. โดยบริหารจัดการต้องยึดหลักให้ 3 ฝ่ายคือ รัฐบาล โรงพยาบาล และประชาชนเดินไปด้วยกันได้ หลักการคือ ไม่ตามใจทั้ง 3 ฝ่าย แต่ต้องสร้างกลไกการทำงานร่วมกัน ซึ่งปัจจุบันทำอยู่ในรูปแบบของคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขต (อปสข.) ที่มีสัดส่วนของภาคประชาชน สปสช. และ สธ.” รองเลขาธิการ สปสช. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (5 ม.ค.) ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงปัญหาโรงพยาบาลขาดสภาพคล่องว่า เรื่องนี้ต้องมีการตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อแก้ไขปัญหา โดยช่วงเวลา 16.00 น. ของวันที่ 5 ม.ค. ได้มีการหารือร่วมกันของ สปสช. และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยเบื้องต้นจากการหารือกับ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข ทราบว่า จะแบ่งการแก้ปัญหาออกเป็นระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ส่วน นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.สาธารณสุข เสนอให้มีการแยกกองทุนสำหรับโรงพยาบาลขาดสภาพคล่อง เพราะต้องยอมรับว่า เมื่อรัฐบาลตัดสินใจสร้างหน่วยบริการในพื้นที่คนน้อย พื้นที่เสี่ยงภัย ก็ต้องมีต้นทุนสูงเป็นเรื่องธรรมดา การสนับสนุนงบเฉพาะน่าจะเป็นทางออกระยะยาว แต่ก็ต้องดูสถานการณ์ปัจจุบันของโรงพยาบาลแต่ละแห่งว่ามีปัจจัยอะไรบ้าง
“จากการวิเคราะห์ข้อเสนอการปรับเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวของ สธ. พบว่า การจัดสรรเงินรายเขต เทียบกับวิธีเดิมของ สปสช. ยังมีข้อจำกัดในการทำงาน ซึ่งอาจจะไม่ใช่แนวทางที่ดีที่สุด อาจจะส่งผลกระทบให้โรงพยาบาลที่ขาดสภาพคล่องมีปัญหามากกว่าเดิม ดังนั้น จึงต้องศึกษารายละเอียดว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร และต้องช่วยคิดว่าวิธีไหนจะช่วยให้บริการดีขึ้นได้” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ปัญหาโรงพยาบาลขาดสภาพคล่องมีหลายสาเหตุ เมื่อวิเคราะห์แล้วพบว่ามาจาก 1.การลดงบเหมาจ่ายรายหัวเมื่อปี 2555 ลง 10% หลังเกิดเหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่ และปี 2556-2557 รัฐบาลก็จัดสรรงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวในอัตราเดิม ทั้งที่โดยเฉลี่ยแล้วงบเหมาจ่ายรายหัวควรเพิ่มขึ้นประมาณ 6% ทุกปี 2.นโยบายของรัฐบาลมีการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่ง สธ.มีลูกจ้างในระบบเป็นแสนคน 3.สธ.ยังมีการออกระเบียบเรื่องค่าตอบแทนฉบับ 7 8 และ 9 4.การจัดสรรงบของ สปสช.ในพื้นที่ห่างไกลประสบปัญหา และหาวิธีช่วยมาตลอด เช่น การให้งบเพิ่มเติมในพื้นที่ชายแดนฯ และ 5.การบริหารจัดการโรงพยาบาลในพื้นที่เดียวกัน บางแห่งมีปัญหา บางแห่งไม่มีปัญหา เพราะผู้บริหารไม่ใส่ใจ เชื่อว่าหากผู้บริหารอยู่ในพื้นที่ และเอาใจใส่โรงพยาบาลจะไม่ติดลบ
นพ.ประทีป กล่าวว่า ทางออกที่สำคัญคือ ต้องมีกลไกกลางลงไปดูสภาพจริงของแต่ละพื้นที่ และ สธ.กับ สปสช.ต้องร่วมมือกันในการผลักดันให้มีการเพิ่มงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมา ถูกแช่แข็งไว้ รวมถึงการบริหารจัดการของโรงพยาบาล ผู้บริหารต้องเป็นมืออาชีพ และสร้างการให้บริหารคล่องตัวให้พอแข่งขันต่อเอกชนได้ ทั้งนี้ หน่วยงานที่เป็นกลางในการแก้ปัญหาคือ คณะกรรมการที่มี นพ.ยุทธ โพธารามิก เป็นประธาน ซึ่งแต่งตั้งโดย รมว.สาธารณสุข โดยมีการวางทั้งฝั่ง สธ. สปสช. และหน่วยงานภายนอก เช่น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กรมบัญชีกลาง เป็นต้น ซึ่ง นพ.ยุทธ ก็เป็นที่เคารพของคนทั้งใน และนอกกระทรวง แต่สุดท้ายแล้วก็ยื่นใบลาออก จึงอยากวอนขอให้ดำรงตำแหน่ง และร่วมแก้ปัญหานี้ต่อไป
“ทางออกการพัฒนาต้องทำที่ตัวระบบ ซึ่งจริงๆ แล้วงาน Servive Plan ของ สธ.ก็เป็นโมเดลที่ สธ. และ สปสช.ทำร่วมกันมาตั้งแต่แรก ซึ่ง สปสช.ก็เห็นด้วย เช่นเดียวกับบริหารงานในระดับเขตสุขภาพ แต่เรื่องการการจัดสรรงบประมาณ คือหน้าที่ของ สปสช. โดยบริหารจัดการต้องยึดหลักให้ 3 ฝ่ายคือ รัฐบาล โรงพยาบาล และประชาชนเดินไปด้วยกันได้ หลักการคือ ไม่ตามใจทั้ง 3 ฝ่าย แต่ต้องสร้างกลไกการทำงานร่วมกัน ซึ่งปัจจุบันทำอยู่ในรูปแบบของคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขต (อปสข.) ที่มีสัดส่วนของภาคประชาชน สปสช. และ สธ.” รองเลขาธิการ สปสช. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่